RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 56 results for Tag :
อาหารท้องถิ่น
ข้าวยาคู ขนมสะท้อนวัฒนธรรมและศาสนาที่หากินยาก
เสน่ห์หนึ่งของขนมพื้นบ้านไทย คือความหลากหลายต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ ที่จะหยิบจับวัตถุดิบท้องถิ่นมาทำกิน ขนมจึงสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ผ่านสีสัน รสชาติ หน้าตา กระทั่งกระบวนการทำ บ้างเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนาเช่น ‘ขนมข้าวยาคู’ ข้าวยาคู เป็นขนมพื้นบ้านทำกินกันหลายพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าว แต่เดิมทำกินกันปีละครั้งในช่วงที่ต้นข้าวออกรวงหรือเรียกว่าระยะตั้งท้อง เต็มไปด้วยเมล็ดข้าวอ่อนหรือเรียกว่าข้าวระยะให้น้ำนม โดยเกี่ยวข้าวมาตำนวดทั้งรวง แล้วคั้นเอาน้ำนมข้าวมาเคี่ยวในกระทะ ใส่น้ำตาล จนได้เนื้อข้นเหนียวสีเขียวอ่อนถึงเข้ม...
18.01.2022
Food Story
กล้วยลอยตาล ขนมท้องถิ่น (แต่) หากินยากที่สุดในสมุทรสงคราม
พูดถึงของขึ้นชื่อจากจังหวัดสมุทรสงคราม ผมเชื่อว่าหลายๆ คนตอบได้โดยไม่ต้องคิดเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นปลาทูแม่กลอง ส้มโอ ลิ้นจี่ นาเกลือ น้ำตาลมะพร้าว อีกมากมายจนคำตอบแทบไม่ซ้ำกัน แต่วันนี้กลับกัน ผมจะพูดถึงขนมหวานประจำท้องถิ่นที่น้อยคนจะรู้จัก พอเล่าไปเรื่อยๆ เชื่อว่าทุกคนจะร้อง “อ๋อ” จนคอแห้งเลยครับ...
12.01.2022
Cooking
พาย SUP เบิร์นให้สุด แล้วหยุดที่กุ้งแม่น้ำเผา – Road Trip ชุมพร EP. 3 | ววแอดไวซ์เด้อ
มาชุมพรทั้งที เราควรไปทะเลสิ วันนี้เราจะเที่ยวทะเลให้หนำใจ ด้วยการไปพาย SUP จากหาดทรายรีไปเกาะมะพร้าว ผู้พาเราเปิดประสบการณ์พาย SUP คือน้องแม็คแห่งเพจ SUP Borad Chumpon ขอบอกว่าสวยมาก สนุกมาก เบิร์นไปหายแคลทีเดียว...
07.12.2021
Video
ปฏิทินกินตามกาล ของอร่อยห้ามพลาดประจำฤดู
พืชผัก ผลไม้ สัตว์ตามธรรมชาติล้วนมีฤดูกาลเกิด เติบโต และออกดอกให้ผล หรือแม้พืชผลบางชนิดที่อาจหากินได้ตลอดทั้งปี แต่หากจะกินให้อร่อยสุดก็ต้องกินให้ถูกฤดูกาล คนสมัยก่อนจึงรู้ว่าเมื่อเข้าฤดูหนาวจะได้กินข้าวใหม่ ปลาในฤดูนี้จะมีรสมันเป็นพิเศษ เข้าฤดูร้อนจะได้กินมะม่วงสุกหอมหวาน แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาตอบสนองความต้องการ พืชผลหลายอย่างจึงมีให้กินทุกฤดู จนเราไม่รู้แล้วว่า ฤดูกาลไหนควรกินอะไร กินอาหารตามฤดูกาลนอกจากจะได้ความอร่อย เรายังปลอดภัยจากสารเคมีต่างๆ...
07.12.2021
Food Story
เกาหยุก อาหารในงานที่ทำกินเองก็ได้
ตั้งแต่เด็กแม่มักจะทำเมนูหนึ่งขึ้นโต๊ะบ่อยๆ ภาพจำของฉันสำหรับเมนูนี้คือ หมูสามชั้นที่ทอดให้สุกเหลืองกำลังดี แล้วนำไปเคี่ยวกับเผือก และเห็ดหูหนูจนเปื่อยนุ่ม กลิ่นหอมของรากผักชี กระเทียม พริกไทย และเต้าหู้ยี้ หอมโชยไปทั่วทั้งบ้าน เวลาแม่ทำเมนูนี้ทีไรทุกคนเป็นต้องดีใจกันทุกครั้ง เมนูที่ฉันกำลังพูดถึงอยู่ก็คือ เกาหยุก แบบฉบับของบ้านฉันเอง ที่บอกว่าแบบฉบับบ้านฉัน...
29.11.2021
Food Story
เกาหยุก
1. ตั้งกระทะน้ำมันพืชบนไฟกลาง พอร้อนใส่เห็ดหูหนู เผือก และหมูสามชั้นลงทอดในกระทะตามลำดับ ทอดให้สีเหลืองสวย ตักขึ้น พักให้สะเด็ดน้ำมัน 2. โขลกรากผักชี กระเทียม และพริกไทยให้เข้ากัน จนละเอียดดี จากนั้นใส่เต้าหู้ยี้ โขลกให้เข้ากันอีกครั้ง ตักใส่ถ้วย พักไว้...
27.11.2021
Recipe
หมูย่างเมืองตรัง
1. โขลกกระเทียมให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย ผสมพริกไทยขาวป่น น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายไม่ฟอก ผงหอม เกลือสมุทร ซีอิ๊วขาว และน้ำผึ้ง ลงในถ้วยอีกใบ คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน เตรียมไว้ 2. เตรียมหมูสามชั้นโดยล้างเนื้อหมูให้สะอาด ซับให้แห้งสนิท คว่ำเอาด้านหนังลงบนเขียงแล้วบั้งเนื้อหมูเป็นลูกเต๋า...
26.11.2021
Recipe
คิดถึง ‘หมูย่างเมืองตรัง’ ก็ทำเองไปเลย!
“เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา” ขึ้นมาขนาดนี้แล้วก็คงจะเดากันได้ว่าบ้านเกิดของผู้เขียนคือจังหวัดอะไร เรียกว่าเป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องของกินจนได้สมญานามว่า ‘เมืองชูชก’ จังหวัดที่กินได้ตลอดเวลาไม่มีวันหลับใหล ‘ตรัง’ นั่นเอง ที่นี่มีสารพัดสิ่งให้เลือกกิน อยากกินอะไรขอให้บอก โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งกินกันแบบอลังการงานสร้างมาก สมัยก่อนเวลากลับบ้านแล้วไปกินอาหารเช้าข้างนอกนั้น ต้องไปตั้งแต่เช้าตรู่เรียกว่าไปในชุดนอนกันเลย (ไม่ต้องบอกนะว่าต้องตื่นตั้งแต่กี่โมง) พอนั่งลงที่โต๊ะ...
26.11.2021
Cooking
เต้าหู้ดำ รสชาติเครื่องเทศแห่งโพธาราม
พูดถึงจังหวัดราชบุรี สิ่งแรกที่แวบเข้ามาในหัวก็คือ คำขวัญประจำจังหวัดอันแสนติดหู ‘คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่’ วลีที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์และของขึ้นชื่อภายในจังหวัดไว้ได้เป็นอย่างดี ในฐานะที่ผู้เขียนเองเป็นคนราชบุรีคนหนึ่ง เราว่าราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีเสน่ห์และความคลาสสิกอยู่ในตัว ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ธรรมชาติ ผู้คน รวมไปถึงอาหารการกินที่แขกไปใครมาก็ต้องถามถึงร้านอาหารหรือของฝากเด็ดๆ อันเลื่องชื่อ...
26.11.2021
Cooking
ลาบหมาน้อย เมนูวุ้นเขียวสุดแซบแห่งอีสาน
ได้ยินชื่อ ‘ลาบหมาน้อย’ คงต้องมีสะดุ้งกันบ้าง แต่ก่อนจะคิดไปไกล บอกกันตรงนี้ค่ะว่าลาบหมาน้อยไม่ใช่ลาบที่ทำมาจากเนื้อน้องหมาตัวน้อยแต่อย่างใด เป็นลาบที่ทำจากพืชท้องถิ่นชื่อ ‘เครือหมาน้อย’ หรือบ้างก็เรียก กรุงเขมา หมอน้อย ก้นปิด ขงเขมา เปล้าเลือด สีฟัน แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น...
18.11.2021
Food Story
4 พันธุ์ส้มโอในคำขวัญ 4 จังหวัด
นอกจากจะเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ประเทศไทยยังรุ่มรวยด้วยผลไม้ เรียกว่าเป็นแหล่งปลูกผลไม้หลากหลายชนิด คนไทยจึงมีผลไม้สลับสับเปลี่ยนให้ได้กินกันตลอดทั้งปี ความเป็นเมืองแห่งผลไม้นี่เองทำให้ในคำขวัญประจำจังหวัดมักปรากฏชื่อผลไม้เป็นของดีท้องถิ่นร่วมอยู่ด้วยเสมอ ตั้งแต่ เงาะ ทุเรียน กล้วย แต่ส่วนมากก็มักจะแยกกันไป 1 ชนิดต่อ 1 จังหวัด ยกเว้นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ปรากฏตัวในคำขวัญถึง...
12.11.2021
Food Story
ถั่วเน่าซา-ถั่วเน่าเมอะ-ถั่วเน่าบอง ถั่วเน่าหมักสดรสนัวคู่ครัวไทใหญ่
“ถั่วเน่า คือรสชาติของชีวิต” น้ำเสียงหนักแน่นของป้าคำ ชาวไทใหญ่ เป็นคำตอบสั้นๆ ที่อธิบายความสำคัญของถั่วเน่าในฐานะเครื่องปรุงรสและวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้ในอาหารการครัวของชาวไทใหญ่จนถึงครัวล้านนา แม้ชีวิตจะต้องจากบ้าน ไปอยู่ต่างเมืองหรือที่ไหนๆ ‘ถั่วเน่า’ ยังคงเป็นเครื่องปรุงที่ชาวไทใหญ่นำติดตัวไปด้วยเสมอ เกลือ พริก และถั่วเน่า คือสามสิ่งสำคัญในการปรุงอาหารของชาวไทใหญ่ เมื่อเกลือหาได้ทุกที่ พริกหาได้ทุกแห่ง แต่กับถั่วเน่าที่ช่วยชูรส เพิ่มความกลมกล่อมให้อาหารไม่ต่างจากปลาร้าของครัวอีสาน...
11.11.2021
Food Story
‘ค่อมเจือง’ น้ำจิ้มคู่โต๊ะคู่ใจคนตรัง
ใครเคยไปเที่ยวตรังแล้วสงสัยมั้ยว่า ทำไมในร้านติ่มซำหาน้ำจิ้มจิ๊กโฉ่ ซอสเปรี้ยวไม่เจอ เจอแต่ซอสสีแดงๆ ส้มๆ ที่ใส่ขวดวางอยู่บนโต๊ะ แล้วก็ไม่เห็นมีโต๊ะไหนขอจิ๊กโฉ่เลย หรือใครลองขอก็อาจจะต้องผิดหวัง เพราะทุกร้านจะมีแต่ซอสสีแดงๆส้มๆ ที่เรียกกันว่า ค่อมเจือง ส้มเจือง หรือว่า กำเจือง เท่านั้น เจ้าซอสเปรี้ยวหรือจิ๊กโฉ่น่ะเหรอ ไม่มีให้เสียหรอก ซึ่งก็เป็นเพราะตรังขึ้นชื่อเรื่องของกินและวัฒนธรรมการกินที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบไม่เหมือนจังหวัดอื่นทางภาคใต้ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ เอกลักษณ์นี้เป็นเสน่ห์ทำให้ใครไปเที่ยวก็หลงใหลและรักในอาหารการกินของคนตรัง ค่อมเจืองก็เป็นหนึ่งในซอสเอกลักษณ์ของตรัง ที่คนในท้องถิ่นและคนที่แวะเวียนมาตรังบ่อยๆ คุ้นชิน เหมือนกับผู้เขียนที่เกิดที่ตรังแม้จะมาใช้ชีวิตรอยู่กรุงเทพฯ ก็ยังชินกับการกินค่อมเจืองมากกว่าจิ๊กโฉ่อยู่ดี คนตรังกินค่อมเจืองกับอาหารแทบจะทุกอย่าง ทั้งกินกับติ่มซำยามเช้า หมูย่าง จาโก้ย (ภาคกลางเรียก ปาท่องโก๋) ส่วนปาท่องโก๋ ของคนใต้นั้นใช้เรียกติ่มซำชนิดหนึ่งเป็นแป้งผสมน้ำตาลนำไปนึ่ง เปาะเปี๊ยะสด เปาะเปี๊ยะทอด กระทงทอง เป็นต้น เรียกได้ว่าทุกอย่างต้องจิ้มกับค่อมเจือง หรือถ้าใครเคยกินเมนูปากหม้อและหูหมู เจ้าน้ำราดสีแดงๆ ก็คือ ค่อมเจืองนี่แหละที่นำมาผสมใหม่ ราดบนเมนูเหล่านั้นเช่นกันและบางครั้งยังเป็นส่วนผสมในการหมักเนื้อหมูเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับหมูย่างเมืองตรังของบางร้านอีกด้วย ค่อมเจืองมีรสชาติที่แตกต่างกันในแต่ละร้าน เพราะว่าแต่ละร้านจะนำไปปรุงรสต่ออีกทีหลังจากที่ได้ค่อมเจืองดิบมาแล้ว โดยค่อมเจืองทำจากมันเทศและถั่วลิสงต้มเปื่อย นำมาโม่แล้วนำไปเคี่ยว ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้มสายชู และเกลือ ก่อนที่จะบรรจุขาย แล้วแต่ละร้านก็จะนำไปปรุงให้ได้รสชาติที่ต้องการ ซึ่งรสชาติของน้ำจิ้มค่อมเจืองนั้นก็จะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และเผ็ดเล็กน้อย จึงทำให้เมื่อนำไปกินกับอาหารที่มีความมันจะอร่อยเข้ากันดี บ้านผู้เขียนเองก็มีน้ำจิ้มค่อมเจืองติดตู้เย็นอยู่เสมอ เวลาซื้อขนมจีบ ซาลาเปา หรือปาท่องโก๋มา ก็จะเอามาจิ้มกับค่อมเจืองแทบทุกครั้ง เรียกว่าถ้ากินที่บ้านจะไม่จิ้มกับจิ๊กโฉ่เลย แต่ส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าน้ำจิ้มค่อมเจืองเหมาะกับติ่มซำในแบบฉบับของตรังมากกว่า ถ้าใครเคยไปกินติ่มซำในร้านเก่าแก่ของตรัง จะสัมผัสได้ว่าตัวไส้ของติ่มซำจะมีความเผ็ดร้อนของพริกไทย เนื้อหมูจะแน่น แต่ยังฉ่ำอยู่ พอกินคู่กับน้ำจิ้มค่อมเจืองจึงเข้ากันได้ดีมาก และเข้ากันได้ดีกว่าติ่มซำแบบคนกรุง ที่ใช้ไส้หมูกุ้งผสมอยู่จึงไม่แน่นเท่า พอราดน้ำจิ้มค่อมเจืองไปก็จะออกแปลกๆ สักเล็กน้อย...
10.11.2021
Food Story
‘ไก่ดำ’ กับการเซ่นไหว้และทำนายของอาข่าและลาหู่
ความเชื่อเรื่องวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่ในทุกชาติชน เพราะในอดีตที่ศาสนายังไม่ใช่ความเชื่อหลักของคนทั่วโลก ผีและวิญญาณคือสิ่งยึดเหนี่ยวที่อยู่ใกล้ชิดกับคนมากที่สุด ในวันคืนที่ความหมายของคำว่า ‘ผี’’ ยังไม่ถูกครอบด้วยความน่ากลัว ผีไม่ใช่ดวงวิญญาณที่คอยอาฆาตหลอกหลอน แต่เป็นการปกครองในรูปแบบหนึ่ง ผีเป็นสิ่งที่ให้ทั้งคุณและโทษได้ คนในครอบครัว ในชุมชน จึงต้องดูแลพฤติกรรมของกันและกันให้อยู่ในร่องในรอยเสมอ เพื่อที่ว่าผีจะได้พึงพอใจและบันดาลความสุข สุขภาพ และความสมบูรณ์ของเทือกสวนไร่นาให้...
08.11.2021
Food Story
น้ำชุบพรก ของอร่อยในกะลาจากแดนใต้
ภาคใต้อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผัก สำรับของชาวใต้จึงมีผักสดเป็นส่วนประกอบสำคัญในทุกมื้อ จัดมาอย่างเต็มที่ทั้งผักที่หากินได้ในภาคอื่นๆ อย่างกระถิน กระเฉด ผักบุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ไปจนถึงผักท้องถิ่นของชาวใต้อย่างลูกเนียงและลูกตอ โดยมีบทบาทเป็นผักรับประทานคู่กับแกง ยำ ขนมจีน จึงเรียกว่า ‘ผักแกล้ม’ หรือ...
04.11.2021
Food Story
ลูกประดอง ของดองเคี้ยวเพลินจากแดนใต้
ลูกประ หรือลูกกระ เป็นเมล็ดของต้นประ ไม้ยืนต้นที่พบได้ในพื้นที่ทางใต้ โดยเฉพาะในป่าดงดิบอย่างเขตเทือกเขาบรรทัดและพื้นที่โดยรอบ เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง สันนิษฐานว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซีย ต้นประเมื่อโตเต็มที่อาจสูงได้ราว 20-40 เมตร เรียกได้ว่ามองแทบไม่เห็นยอด ดังนั้นในการเก็บลูกประ แทนที่เราจะแหงนหน้าขึ้นฟ้า...
02.11.2021
Food Story
‘ข้าวปุก’ นุ่มหนึบ กินอุ่นๆ รับลมหนาว
ลมหนาวเป็นสัญญาณแห่งการเฉลิมฉลองและเทศกาลท่องเที่ยว ภูเขา ยอดดอยทางภาคเหนือที่อากาศหนาวเย็นและยาวนานกว่าที่อื่นจึงเป็นจุดหมายปลายทางการพักผ่อนในช่วงส่งท้ายปี และการได้กินอะไรอุ่นๆ ท่ามกลางลมหนาวก็กลายเป็นมื้อธรรมดาที่พิเศษขึ้นมาได้ ความอร่อยจึงมาจากบรรยากาศของฤดูกาลด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย เหมือน ข้าวปุก’ ขนมที่มาพร้อมลมหนาวและการเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางภาคเหนือ ที่กินหน้าไหนก็ไม่อร่อยเท่าหน้าหนาว ในอดีต ‘ข้าวปุก’ ทำจากข้าวเหนียวในฤดูข้าวใหม่ช่วงปลายปีที่เพิ่งเก็บเกี่ยวข้าว ที่ยังคงมียางข้าวอยู่มากจึงทั้งหอมและเหนียวนุ่ม โดยใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆ นำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วโรยงาขี้ม้อน (งาขี้ม้อนเป็นธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาคล้ายมูลของตัวหม่อนหรือม้อน เป็นธัญพืชคู่ครัวชาวเหนือและอีสานที่เต็มไปด้วยโอเมก้า3) หากเที่ยวดอยหรือเดินกาดช่วงนี้ก็จะเห็นร้านขายข้าวปุกจี่ แผ่นข้าวปุกสีม่วงคล้ำด้วยงาขี้ม้อนจี่บนเตาถ่านให้ผิวเกรียมนิดๆ...
01.11.2021
Food Story
มะมุด ความเปรี้ยวหน้าฝนส่งตรงจากแดนใต้
เข้าเดือนมิถุนายน ก็เหมือนก้าวเข้าสู้หน้าฝนอย่างจริงจัง ถ้าถามถึงวัตถุดิบหน้าฝนก็มีให้เห็นอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะพืชผักและผลไม้ แต่จะมีผลไม้อยู่อย่างหนึ่งที่มักจะออกผลในช่วงนี้โดยเฉพาะ และเป็นผลไม้ประจำท้องถิ่น ที่ถ้าไม่ใช่คนท้องถิ่นก็แอบหากินยากสักหน่อย แม้เป็นวัตถุดิบที่หายากผู้เขียนก็อยากจะแนะนำให้ได้รู้จัก วัตถุดิบที่ว่านี้ก็คือ ‘มะมุด’ ‘ส้มมุด’ หรือ ‘มะม่วงป่า’ แล้วแต่แต่ละท้องถิ่นจะเรียกกัน เจ้ามะมุดหรือส้มมุดที่ว่านี้...
22.06.2021
Cooking
อั่ว ศิลปะอาหารยัดไส้ของครัวล้านนา
คำว่า ‘อั่ว’ หลายคนคงคุ้นเคยมากกว่าเมื่อมันห้อยท้ายมากับคำว่า ‘ไส้’ เพราะไส้อั่วเป็นอาหารเชิดหน้าชูตาของสำรับล้านนามานานนม ด้วยการปรุงกลิ่นรสให้หอมและเผ็ดร้อนจากสมุนไพรนานาชนิด การ ‘อั่ว’ หรือการยัดไส้อาหารนั้นแสดงให้เห็นความรุ่มรวย พิถีพิถันและประดิษฐ์ประดอยในครัวของทุกที่ ด้วยว่าอาหารยัดไส้นั้นใช้เวลาทำนานกว่า ไหนจะปรุงรสเนื้อสัตว์ ไหนจะเตรียมผัก ไส้สัตว์ หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ...
07.06.2021
Food Story
หมูชะมวง
1. ทำพริกแกงโดยโขลกพริกแห้งเม็ดใหญ่ พริกไทย และเกลือให้เข้ากันจนละเอียดดี จากนั้นใส่ข่า กระเทียม และหอมแดง โขลกให้เข้ากันอีกครั้งจนเนื้อพริกแกงเนียนเข้ากันดี ใส่กะปิ โขลกให้เข้ากันอีกครั้ง พักไว้ 2. เตรียมหมูสามชั้นโดยล้างหมูสามชั้นกับเกลือให้สะอาด ซับให้แห้ง หั่นเอาหนังหมูออก...
26.01.2021
Recipe
Previous
1
2
3
Next