RECIPE SEARCH
HOME
RECIPE
COOKING
FOOD STORY
VIDEO
CONTRIBUTOR
ABOUT US
CONTACT US
SEARCH
SITE SEARCH
RECIPE
SEARCH
SEARCH
TERM OF USE
Found 17 results for Tag :
sustainable food
จะรู้ได้ยังไง ว่ากำลังกินปลาทูแท้?
“หน้างอ คอหัก เป็นปลาทู” คำบ่งชี้ถึงปลาทูที่เด็กๆ อย่างเราจำขึ้นหัว และยังเป็นคำบ่งชี้ถึงรสชาติอร่อยของปลาทูจากแม่กลองอีกด้วย คำว่า ‘หน้างอ คอหัก’ จึงเป็นการการันตีในขั้นต้นว่าปลาทูลักษณะนี้จะอร่อยกว่าปลาทูแบบอื่น หากการการันตีนี้กำลังจะลดความขลังลง และถูกแทนที่ด้วยสิ่งอื่นที่อร่อยใกล้เคียงกัน ถามว่าใครไม่รู้จักปลาทูบ้าง คงยากที่จะได้ยินคำตอบว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าถามต่อไปว่ารู้หรือไม่ว่าสิ่งที่เรากำลังบริโภคกันอยู่นั้นคือปลาทูจริงๆ ใช่หรือเปล่า คงมีคนทำหน้างงและสงสัยกับสิ่งที่ฉันกำลังตั้งคำถามเป็นแน่ ว่าถ้าไม่ใช่ปลาทูแล้วมันคือปลาอะไร...
17.05.2022
Food Story
ปู ปลา กุ้ง หมึก ต้องเลือกซื้อไซซ์ไหน ถึงจะไม่ทำร้ายท้องทะเล
หากยังพอจำได้ ในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา เราอาจเคยได้เห็นข่าวที่ภาคประชาสังคมและเครือข่ายสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ห้างสรรพสินค้าหยุดจำหน่ายอาหารจากสัตว์ทะเลวัยอ่อนมาก่อน สัตว์น้ำวัยอ่อน หมายถึงสัตว์ที่ยังไม่โตเต็มวัย ยังเป็นลูกปลา ลูกกุ้ง ลูกหมึก ซึ่งถูกตั้งชื่อขึ้นใหม่และทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์ทะเลสายพันธุ์เล็ก อย่างเช่นปลาข้าวสาร ปลาจิ้งจั้ง ปลาฉิ้งฉ้าง...
04.04.2022
Food Story
ผู้บริโภคแบนธุรกิจไปทำไม และธุรกิจที่โดนแบนจะทำอะไรได้บ้าง?
นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา นอกจากเรื่อง Covid-19 แล้ว ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่นับเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ และส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคบางกลุ่ม นั่นก็คือกระแสการบอยคอต หรือการรณรงค์ให้งดซื้อ งดอุดหนุน และคว่ำบาตรธุรกิจบางแบบ หรือหากมองให้กว้างขึ้นก็อาจเหมารวมถึงดารา นักแสดง และนักดนตรีได้ด้วยเช่นกัน...
28.09.2021
Food Story
‘ปลาโรนันในกล่องสุ่มทะเล’ ราคาของความตื่นเต้นที่จ่ายด้วยระบบนิเวศ?
‘กล่องสุ่มทะเล’ กำลังเป็นเทรนด์ฮิต เพราะไม่เพียงราคาจับต้องได้คือขั้นต่ำเพียง 500 บาท ก็ได้สัตว์ทะเลในปริมาณค่อนข้างมาก อีกทั้งยังตอบสนองฟีลตื่นเต้นในการลุ้นว่าเปิดกล่องมาแล้วจะเจออะไรบ้าง เรียกว่าฝั่งผู้บริโภครู้สึกว่า ‘คุ้ม’ ในขณะที่ฝั่งผู้ขายก็วินเหมือนกัน เพราะสามารถระบายสัตว์ทะเลในสต๊อก ในสถานการณ์ที่ผู้คนยังไม่ออกนอกบ้านไปซื้อหาอาหารอย่างเสรีเหมือนก่อน ทว่า มันกลายเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อมีข่าวว่ามีคนเปิดกล่องมาแล้วพบปลาโรนัน...
17.09.2021
Food Story
How to ปลูกผักกินเอง แม้พื้นที่น้อย
“คนมือร้อน ปลูกผักไม่ขึ้นหรอก” จริงไหม ตอบได้เต็มปาก ในฐานะคนที่ปลูกอะไรก็ตาย แม้แต่ต้นไม้ที่ทนแทบทุกสภาพอากาศอย่างกระบองเพชรยังตายว่า ‘ไม่จริง’ ค่ะหากเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน อาจต้องนิยามคนมือร้อนใหม่ว่า ‘คนใจร้อน’ เพราะที่ผ่านมาคนมือร้อนอย่างฉันปลูกแบบผิวเผินเอามากๆ แต่คาดหวังผลลัพธ์แบบจริงจัง คือแค่เอาต้นไม้ลงดินแล้วก็เฝ้ารอว่าเมื่อไรจะโตนะ แต่ไม่เคยสังเกตความเปลี่ยนแปลงหรือรู้ความต้องการของต้นไม้เลย รู้ตัวอีกทีคือตายคากระถาง...
06.09.2021
Food Story
ทำข้าวกล่องบริจาคยังไง ให้ถึงมือแบบไม่เหลือทิ้ง
ในสภาวะที่ข้าวหนึ่งกล่อง อาหารหนึ่งมื้อช่วยให้คนที่กำลังลำบากได้อิ่มท้องและมีกำลังใจ หลายคนจึงอยากแบ่งปันอาหาร ทั้งสั่งทำข้าวกล่องไปบริจาคหรือร่วมสมทบทุนให้โรงครัวที่จัดตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อปรุงอาหารแจกจ่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด สำหรับคนที่มีทั้งแรงกาย แรงใจ ทำอาหารเป็นอยู่บ้างแล้วเกิดอยากปรุงอาหารเพื่อแบ่งปันขึ้นมา การเดินดุ่มๆ หอบความตั้งใจไปพร้อมอาหารกล่องที่ปรุงมาอย่างดี คัดสรรวัตถุดิบมาอย่างดี อยากให้คนได้รับกินอร่อยโดยไม่มีข้อมูลรองรับ ในบางครั้งอาหารอาจเหลือทิ้ง เน่าเสีย เพราะการช่วยเหลือแบบรถไฟชนกัน ไปกระจุกตัวในที่ที่หนึ่ง ...
29.08.2021
Food Story
รู้จักนมโอ๊ตและนมพืชทางเลือกอื่นๆ
ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของการดื่ม ‘นม’ ก็คือมีคนมากมายแพ้แลคโตสในนมวัว มากแค่ไหนก็แค่ 75% ของประชากรโลกเท่านั้นเองที่เป็นโรคแพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว จะรู้ว่าเรามีภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติหรือไม่ ก็ลองเช็คได้ง่ายๆ โดยคนที่แพ้น้ำตาลแลคโตสจะแสดงอาการหลังจากดื่มนมที่มีน้ำตาลแลคโตสเข้าไปประมาณ 30 นาที – 2 ชม. โดยจะมีอาการเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งตามมาแน่นอน...
17.11.2020
Food Story
‘ยักษ์กะโจน’ ที่ซึ่งผู้คนทำปลาด้วยความรัก
“เราว่าการที่เราจะก้าวข้ามความเป็นเด็กมาสู่วัยรุ่น สู่ความเป็นผู้ใหญ่เนี่ย มันต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงนะ ไม่ใช่แค่รูปร่างหน้าตาหรือการเติบโตของร่างกาย มันมีผู้ใหญ่อยู่อีกมากเลยที่ไม่ได้ก้าวข้ามแบบนี้ เขาก็จะยังมีความเป็นเด็กอยู่ เหมือนไม่ได้เปลี่ยนผ่าน ไม่ได้มีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนผ่านเรื่องอาหารได้ มันเปลี่ยนผ่านได้หลายอย่าง เพราะว่าถ้าคุณเปลี่ยนผ่านเรื่องอาหาร คุณจะไม่คิดถึงแค่ตัวคุณเอง คนที่เปลี่ยนผ่านเรื่องอาหาร คือคนที่คิดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย แค่คุณไปเดิน...
23.09.2020
Food Story
Exofood ห้องปฎิบัติการเปลี่ยนแมลงเป็นอาหาร
แมลงทอดเหยาะซอสพริกไทยสำหรับแมลงเลิฟเวอร์ในไทยมันคือความอร่อยง่ายๆ ที่หาได้ตามรถเข็นข้างทาง การกินแมลงจึงไม่ใช่เรื่องชวนตื่นเต้นแปลกใหม่ต่อให้ได้ยินว่ามันจะเป็นแหล่งโปรตีนในอนาคตก็ยังเฉยๆ ตราบใดที่ชนิดแมลงยังคงเป็นจิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนไหม รถด่วน ฯลฯ เหมือนที่กินกันมาเป็นสิบปี แต่ถ้าได้รู้ข้อมูลว่าจำนวนชนิดแมลงกินได้ในไทยมีอยู่มากกว่า 194 ชนิดจาก 1,900 ชนิดทั่วโลกที่จะมาพร้อมรูปแบบการกินหลากหลาย อาจจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและลดอคติของคนที่หยีแมลงลงได้...
11.09.2020
Food Story
‘อาหารหมุนเวียน’ แนวทางใหม่ในการกู้โลก
ถ้าว่ากันถึงปรัชญาการกินของคนยุคใหม่ เชื่อว่าหนึ่งในนั้นหนีไม่พ้น ‘การกินอย่างยั่งยืน’ ตามหลักความยั่งยืนที่คล้ายเป็นแบบแผนในการใช้ชีวิตของคนเมืองรุ่นใหม่ผู้มีหัวใจอนุรักษ์ แต่ช้าก่อน… ระหว่างที่เรากำลังลด ละ เลิกการใช้หลอดพลาสติก พยายามกินข้าวให้หมดจาน หรือทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารเหลือทิ้งภายในบ้าน นักวิชาการด้านอาหารฝั่งตะวันตกก็พากันครุ่นคิดว่า ปัญหาเรื่องอาหารของโลกของเราน่าจะซับซ้อนกว่านั้น และถ้าจะสะสางปัญหาอย่างยั่งยืนแล้วละก็ เราอาจต้องมองกว้างในระดับโครงสร้างสังคม นั่นคือจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอาหารแบบหมุนเวียน...
13.11.2019
Food Story
ธนิสร วศิโนภาส: ‘อนุรักษ์’ ในพจนานุกรมของคนรักปลา
อ๊อฟ – ธนิสร วศิโนภาส นับได้ว่าเป็น ‘คนรักปลา’ ที่รู้เรื่องปลามากที่สุดคนหนึ่ง นอกจากการทำร้าน ‘เค็นซากุ’ Kensaku ที่เสิร์ฟสารพัดเมนูปลาญี่ปุ่นแบบที่น้อยร้านจะกล้าเสิร์ฟในเมืองไทยแล้ว เขายังสนุกกับการเสิร์ฟความรู้เรื่องกุ้งหอยปูปลาให้กับใครก็ตามที่สนใจและคลั่งไคล้ในสิ่งเดียวกันผ่านเฟสบุ๊กเพจ Sushikiri และอีกสารพัดช่องทางตามสะดวกด้วย สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่าอ๊อฟคือหนึ่งในคนที่มีความรู้เรื่องปลาชนิดหาตัวจับยากคนหนึ่งแน่ๆ...
24.07.2019
Food Story
วิธีกินแบบหมดจด ลดขยะเป็นศูนย์
ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการรณรงค์ลดการสูญเสียอาหารในครัวเรือนก่อนที่จะเป็นขยะอย่างจริงจัง มักมีแต่การรณรงค์คัดแยกขยะรีไซเคิลจนทำให้ปัจจุบันนี้มีปริมาณขยะรีไซเคิลจากการจัดเก็บขยะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ปริมาณขยะจากอาหารกลับมีสูงขึ้น เนื่องจากความไม่เข้าใจในขั้นตอนที่ทำให้เกิดขยะอาหารในครัวเรือนนี่เองที่เป็นสาเหตุให้คนทิ้งขว้างอาหาร ทั้งอาหารที่ยังไม่ได้บริโภคและอาหารที่ทิ้งโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ รวมไปถึงอาหารที่ถูกปล่อยให้เน่าเพราะขาดความใส่ใจ ขยะอาหารเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นในครัวเรือน ลองหันมาใส่ใจกับการบริโภคมากขึ้น เราจะช่วยกันลดปริมาณขยะอาหาร และประหยัดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ตามนี้เลย 1.วางแผนให้ชัดเจน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ขาดการวางแผนก่อนซื้ออาหาร มักซื้อของเกินความจำเป็น ดังนั้นการวางแผนซื้ออาหารที่ดีจะเป็นการหลีกเลี่ยงการซื้อของที่ไม่มีประสิทธิภาพและเหลือทิ้ง...
28.06.2019
Cooking
Ugly Food ถึงอัปลักษณ์ก็ยังอร่อย
ในปี 2050 องค์การสหประชาชาติคาดว่าจะมีประชากรโลกเพิ่มขึ้นจาก 7,600 ล้านคน เป็น 9,800 ล้านคน โลกต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้น 56 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้เพียงพอสำหรับประชากรทั้งโลก ‘ต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้น’ อาจดูย้อนแย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่า ในแต่ละปีมีขยะจากอาหารเหลือทิ้งกว่า 13...
25.06.2019
Food Story
อาหาร Plant-Based เหตุผลที่มนุษย์ควรเป็นสัตว์กินพืช
ยุคนี้นอกจากการออกกำลังกาย หลายคนยังดูแลเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เราเริ่มเปิดรับทฤษฎีการกินใหม่ๆ จากต่างประเทศ นอกเหนือจากการกินมังสวิรัติ (Vegetarian) ที่รู้จักกันอยู่แล้วเช่น Vegan, Paleo diet, Raw food diet, Mediterranean diet,...
21.06.2019
Cooking
7 วัน 7 TEDx Talks ไทย เข้าใจอาหารยั่งยืนกว่าที่เคย
ใครว่าอาหารยั่งยืนเป็นเรื่องไกลตัว? ใครว่าอาหารยั่งยืนเป็นเรื่องเสียเวลา? ใครว่าอาหารยั่งยืนเป็นเรื่องของต่างชาติเท่านั้น? ใครยังเข้าใจการกินอาหารอย่างยั่งยืนว่าเป็นเรื่องยากเกินจะศึกษา วันนี้เรามีเสียงของคนไทยที่ออกมาพูดเรื่องความยั่งยืนทางอาหาร ผ่านเวที TEDx ทั่วประเทศ ทั้งในมุมมองของเกษตรกรและมุมมองของนักปรุง วิดีโอสั้นๆ เอาไว้ฟังตอนฝนตกรถติดหงุดหงิดรอรถนาน ที่คัดสรรมาแล้วว่าเพียง 7 วัน วันละไม่เกิน...
13.06.2019
Food Story
อาหารกินได้ที่ถูกทิ้ง แก้ได้จริงหรือ
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีปัญหาอ้วนเกินมากขึ้น เป็นเบาหวานมากขึ้น ในตะวันตกปรากฏการณ์อย่างเดียวกันได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้า ตั้งแต่ทศวรรษ 1960s แล้ว เรียกว่าเกิดก่อนเราราว 20 ปี พูดในอีกแง่หนึ่ง ปัญหาได้เคลื่อนจาก “ความอดอยาก” มาเป็น “อาหารล้นเกิน” อาหารที่ล้นเกินนำไปสู่การกินทิ้งกินขว้าง...
16.03.2018
Food Story
ศาสตร์พระราชากับความมั่นคงทางอาหาร
ความมั่นคงทางอาหารเป็นเรื่องที่ FAO (องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ) พยายามรณรงค์มาตลอดหลายปี หลายคนเริ่มตระหนัก และอีกหลายคนยังไม่รับรู้ โดย FAO อธิบายความมั่นคงทางอาหารว่า “ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างพอเพียง ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ รักษาสุขภาพและชีวิตที่ดีไม่ว่าเวลาใด” สำหรับประเทศไทยซึ่งคุ้นเคยกับวลี “ในน้ำมีปลา...
08.03.2018
Food Story