เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

food story

6 ประโยชน์จากกิมจิ กินแล้วดี!

Story by ศรีวิการ์ สันติสุข

นอกจากดีต่อสุขภาพ กิมจิยังเป็นไอเทมลับหน้าใสของอปป้าออนนีด้วย

กิมจิแท้จริงแล้วก็คือของหมักดอง ขึ้นชื่อว่าหมักดองก็ย่อมจะต้องอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ นานา วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 6 แร่ธาตุ และกรดอะมิโนมากกว่า 34 ชนิดในกิมจิ ทำให้หน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารจัดเต็มยืนหนึ่ง ดังเราจะเห็นได้ว่าคนเกาหลีต้องมีกิมจิอยู่ในมื้ออาหารที่ย่อยยากเสมอ เรียกว่ามื้อไหนมีหมูย่าง เนื้อย่าง จะขาดกิมจิไปไม่ได้ ไหนจะสารแอนตี้อ๊อกซิแดนต์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ระบบต่างๆ ของร่างกาย และที่ขาดไม่ได้คือโพรไบโอติกส์ที่ให้กรดแลคติก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

 

 

 

 

ประโยชน์แน่นขนาดนี้ นิตยสาร Health จึงจัดให้กิมจิเป็น 1 ใน 5 อาหารที่มีประโยชน์ที่สุดในโลก ตอกย้ำด้วยคำพูดของชาวเกาหลีที่ว่า “กินกิมจิทุกวัน ไม่ต้องไปหาหมอ”

 

 

 

 

นอกจากไม่ต้องไปหาหมอในความหมายของหมอรักษาโรค ยังไม่ต้องไปหาหมอด้านความสวยความงามด้วย เพราะไม่แค่ประโยชน์เชิงวิตามินแร่ธาตุที่มีต่อร่างกาย กิมจิยังมีประโยชน์ในด้านการควบคุมน้ำหนักและช่วยให้ผิวสวย เนื่องจากเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่มไฟเบอร์สูงพลังงานต่ำ เพราะส่วนผสมที่นำมาทำเป็นกิมจิล้วนเป็นผักที่มีแคลอรี่และน้ำตาลน้อยนิด แต่อุดมด้วยวิตามินและกากใยจำนวนมาก กินผักก็ย่อมจะช่วยเรื่องระบบขับถ่ายและบำรุงผิวพรรณเป็นปฐมอยู่แล้ว ยิ่งแคลอรี่น้อยน้ำตาลน้อย ก็ยิ่งช่วยให้ไม่อ้วนได้ด้วย ดังเราจะเห็นว่าคนเกาหลีไม่ค่อยจะอ้วนกัน แม้การกินกิมจิจะไม่เท่ากับควบคุมน้ำหนักได้ร้อยเปอร์เซนต์ (เพราะต้องดูอาหารอื่นๆ ที่กินและรูปแบบการใช้ชีวิตด้วย) แต่ก็พูดได้ว่าถ้ากินเป็นประจำก็มีส่วนช่วยไม่น้อย

 

 

 

 

 

กินกิมจิเป็นประจำยังช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่มอ่อนเยาว์หน้าเด็ก เพราะในกิมจิมีทั้งกรดแลคติกและสารในพืช ที่ช่วยชะลอไม่ให้ผิวพรรณร่วงโรยง่าย รวมเข้ากับวิตามินซีที่ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน จึงยิ่งทำให้ผิวกระชับ ไม่ค่อยมีริ้วรอย ยัง ยังไม่หมด สารต้านอนุมูลอิสระจากวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ในกิมจิ ยังช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวไม่ให้เสื่อมเร็ว ป้องกันการอักเสบในร่างกาย เลยทำให้ผิวแก่ช้า ยิ่งกินก็ยิ่งหน้าใส

 

 

 

 

ว่าแล้วก็ไปดูประโยชน์เด่นๆ ของกิมจิแบบชัดๆ กันเลยดีกว่า

 

 

 

 

 

ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร

 

 

 

 

โพรไบโอติกส์และแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันอาการท้องร่วง ท้องผูก และยังช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหารด้วย

 

 

 

 

 

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

 

 

 

 

ในของหมักดองจะมีแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสที่ดีต่อสุขภาพ พบว่าหนูทดลองที่ได้รับการฉีดแลคโตบาซิลลัสชนิด Plantarum ที่มีมากในกิมจิ มีระดับ Tumor necrosis factor (TNF)-alpha ที่ก่อให้เกิดความอักเสบภายในร่างกายลดลง ทำให้ไม่ขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มที่

 

 

 

 

 

ดีต่อหัวใจ

 

 

 

 

ผลการศึกษาผู้เข้าร่วมทดสอบจำนวน 100 คน ที่กินกิมจิ 15-210 กรัมต่อวัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจลดลงอย่างชัดเจน

 

 

 

 

 

ลดอาการอักเสบ

 

 

 

 

โพรไบโอติกส์สามารถต่อต้านอาการอักเสบที่จะเกิดขึ้นแก่อวัยวะหรือการทำงานของระบบภายในได้ อีกทั้งยังมีการค้นพบสารประกอบ HDMPPA ในกิมจิ ที่อาจมีส่วนช่วยเรื่องต้านการอักเสบและบำรุงหลอดเลือด ซึ่งยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

 

 

 

 

 

ควบคุมน้ำหนัก

 

 

 

 

กิมจิทำจากผักที่มีแคลอรี่และน้ำตาลน้อย แต่อุดมด้วยวิตามินและกากใยจำนวนมาก จึงช่วยระบบขับถ่ายและช่วยควบคุมน้ำหนักตัว

 

 

 

 

 

ผิวสวยหน้าใส

 

 

 

 

 

 

กรดแลคติกช่วยชะลอไม่ให้ผิวพรรณร่วงโรยง่าย รวมกับวิตามินซีที่ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน จึงทำให้ผิวกระชับ เต่งตึง อีกทั้งสารต้านอนุมูลอิสระยังช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวไม่ให้เสื่อมเร็ว ป้องกันการอักเสบในร่างกาย ทำให้ผิวแก่ช้า

 

 

 

 

ดีงามขนาดนี้ มาทำกิมจิติดตู้เย็นกันเล้ยยย

 

 

 

 

กิมจิผักกาดขาว

 

 

 

 

กิมจิแตงกวา

 

 

 

 

กิมจิโฮมเมด

 

 

 

 

 

ที่มา: https://th.wikipedia.org / http://protein.healthfoodxdrinks.com / https://www.trueplookpanya.com / https://www.careandliving.com

 

 

 

 

บทความเพิ่มเติม

 

Share this content

Contributor

Tags:

กิมจิ, ผักดอง, หมักดอง, อาหารสุขภาพ, อาหารเกาหลี, โพรไบโอติกส์

Recommended Articles

Food Storyนวัตกรรมแรกของโลก เส้นไข่ขาว ‘นิ่มนิ่ม’ ให้คนป่วยได้สุขใจเพราะกินอร่อยขึ้น
นวัตกรรมแรกของโลก เส้นไข่ขาว ‘นิ่มนิ่ม’ ให้คนป่วยได้สุขใจเพราะกินอร่อยขึ้น

นวัตกรรมครั้งแรกของโลกที่เกิดขึ้นในห้องวิจัยก่อนจะต่อยอดสู่ธุรกิจ

 

Recommended Videos