เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
30-40 ชิ้น
Level
4
INGREDIENTS
แป้งข้าวเจ้า
¾ ถ้วย
แป้งข้าวเหนียว แป้งมัน อย่างละ
1 ช้อนชา
แป้งเท้ายายม่อม
1 ช้อนชา
น้ำดอกอัญชัน
¾ ถ้วย
น้ำมะนาว
1½ ช้อนชา
น้ำมันพืช
1 ช้อนโต๊ะ
แป้งมันสำหรับทำแป้งนวล
3 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเจ้าสำหรับทำแป้งนวล
2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันกระเทียมเจียว
¼ ถ้วย
ผักกาดหอม ผักชี พริกขี้หนูสด และกระเทียมเจียว สำหรับกินแนม
อุปกรณ์เฉพาะ แหนบสำหรับจีบ, ใบตองสำหรับรองนึ่ง, ลังถึง
หอมแดงเจียว กระเทียมเจียว อย่างละ
2 ช้อนโต๊ะ
ฟักเชื่อมแห้งหั่นลูกเต๋าเล็ก
¼ ถ้วย
ถั่วลิสงคั่วโขลกหยาบ
3 ช้อนโต๊ะ
กากหมูหั่นเต๋าเล็ก
3 ช้อนโต๊ะ
งาดำคั่วบุบพอแตก
1 ช้อนโต๊ะ
งาขาวคั่วบุบพอแตก
2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย
1½ ช้อนชา
เกลือสมุทร
½ ช้อนชา
METHOD
1. ทำไส้โดยนำส่วนผสมทั้งหมดใส่ในชามผสม คนให้เข้ากัน เตรียมไว้
2. ทำแป้งโดยใส่แป้งทั้งหมดลงในกระทะทอง ค่อยๆใส่น้ำดอกอัญชันที่ผสมน้ำมะนาวลงไป ใช้พายไม้คนอย่าให้แป้งเป็นก้อน ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนข้างอ่อน พอแป้งเริ่มข้นจึงลดเป็นไฟอ่อน ใส่น้ำมันลงไปแล้วกวนต่อจนแป้งสุกทดสอบโดยเมื่อใช้นิ้วแตะแล้วไม่ติดมือ ปิดไฟ ตักใส่จานที่โรยแป้งนวลบางๆไว้ นวดแป้งจนนุ่มเนียนและไม่ติดมือ(ขณะนวดแป้งถ้าแป้งติดมือให้โรยแป้งนวลเพิ่มได้ ส่วนแป้งนวลที่เหลือจะเก็บไว้ใช้ตอนจีบกลีบดอก) ใช้ผ้าขาวบางคลุมแป้ง พักไว้
3. ใส่น้ำในหม้อลังถึง 3/4 ของหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางให้เดือด เตรียมไว้ ปั้นขนมช่อม่วงโดยนำแป้งที่กวนมาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11/2 ซม. แล้วกดให้แบนเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วตักไส้ใส่ตรงกลางแป้งประมาณ 1/2 ช้อนชา ห่อให้มิด ใช้แหนบจุ่มลงในแป้งนวลที่เหลือ เคาะให้แป้งติดแหนบบางๆจีบกลีบให้รอบ (ขณะที่จีบถ้าจีบแล้วแป้งเริ่มติดแหนบให้จุ่มแหนบลงในแป้งนวลแล้วเคาะออกเช่นเดิม ทำเช่นนี้จนเสร็จ)จีบแต่ละชั้นให้สับหว่างกัน ชั้นล่างสุดจะจีบประมาณ 5-6 กลีบ ด้านบนสุดจะจีบประมาณ 2-3 จีบ (เวลาจีบพยายามอย่าให้นิ้วโดนแป้งส่วนที่จีบไปแล้ว) นำไปวางเรียงในชั้นลังถึงที่ปูใบตองและทาน้ำมันเตรียมไว้ นึ่งนานประมาณ3-5 นาที หรือจนกว่าแป้งจะสุก ยกลง พรมด้วยน้ำมันกระเทียมเจียว
4. จัดใส่จาน รับประทานกับผักกาดหอม ผักชี พริกขี้หนูสด และกระเทียมเจียว
ลักษณะที่ดี
- ควรมีสีอ่อนเย็นตา กลีบดอกจีบเรียงกันอย่างประณีต ขนมไม่ควรติดกันเมื่อพักไว้
- แป้งนุ่มไม่เหนียวมาก ไส้หวานกำลังดี หอมกลิ่นงา
ข้อน่ารู้
- เตรียมน้ำดอกอัญชันโดยล้างดอกอัญชันประมาณ 4ดอกให้สะอาด แกะกลีบดอกแช่ในน้ำร้อน ¾ ถ้วย จนได้สีน้ำเงินเข้ม บีบมะนาวลงไปประมาณ 11/2 ช้อนชาคนให้เข้ากันจนเป็นสีม่วง
- ถ้าต้องการช่อม่วงที่ผสมสองสีให้กวนแป้งอีกส่วนโดยให้เปลี่ยนจากน้ำดอกอัญชันเป็นน้ำ สำหรับเวลาปั้นแป้งเป็นก้อนกลมให้นำแป้งสีม่วงมาผสมกับสีขาวปั้นให้เป็นก้อนกลม แล้วนำไปจีบเป็นช่อม่วง
สูตรอาหารโดย อบเฉย อิ่มสบาย
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos