เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

ขนมปลากริมไข่เต่า

Recipe by ณัฐณิชา ทวีมาก

Serves

5-6 คน

Level

3

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

INGREDIENTS

แป้งข้าวเจ้า

100 กรัม

แป้งข้าวเหนียว

40 กรัม

แป้งมันสำปะหลัง

100 กรัม

น้ำ

300 กรัม

หัวกะทิสด

100 กรัม

แป้งมันสำหรับเป็นแป้งนวล

อุปกรณ์ กระทะทองเหลือง ผ้าขาวบาง

METHOD

1. ทำตัวแป้งโดยผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียวและแป้งมันสำปะหลังรวมกันในอ่างผสม ค่อยๆทยอยใส่น้ำลงไปทีละน้อย ใช้มือนวดไปเรื่อย ๆ (การทยอยใส่น้ำเพื่อให้แป้งค่อยๆ ดูดน้ำ ไม่สำลักน้ำ ตัวแป้งจะไม่กระด้าง) นวดจนเป็นก้อนเนื้อเนียนเข้ากันดี จากนั้นทำการคลายแป้ง โดยแบ่งน้ำที่เหลือ ใส่ลงในแป้งประมาณ 2-3 รอบ นวดไปเรื่อย ๆ จนส่วนผสมแป้งกลับมาเหลวอีกครั้ง เติมหัวกะทิ คนให้เข้ากัน เตรียมไว้

 

 

 

 

2. ตั้งกระทะทองเหลืองบนไฟอ่อน เทส่วนผสมแป้งใส่ลงไป กวนจนแป้งรวมตัวเป็นก้อนและสุกประมาณ 80 % พอแป้งร่อนออกจากกระทะ ปิดไฟ ตักแป้งขึ้น ใส่อ่างผสมโรยแป้งนวล (แป้งมัน) เล็กน้อย ใช้มือนวดจนแป้งเนียนเข้ากันดี ลักษณะของแป้งจะกึ่งสุกกึ่งดิบ แต่ไม่ติดมือ คลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด พักไว้ให้แป้งคายความร้อน

 

 

 

 

3. ระหว่างรอ ทำน้ำเชื่อมปลากริมโดยตั้งกระทะทองเหลืองหรือหม้อบนไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย รอจนน้ำตาลละลายและเปลี่ยนเป็นสีคาราเมล ใส่น้ำตาลมะพร้าวลงผัดจนสีสวย ตามด้วยหัวกะทิ ผัดจนใส ใส่ใบเตยและน้ำมะพร้าวประมาณ 2/3 ส่วน คนให้เข้ากัน พอเดือดอีกครั้งละลายกับแป้งมันกับน้ำมะพร้าวที่เหลือใส่ลงไป ต้มต่อให้พอน้ำเชื่อมข้นเล็กน้อย ปิดไฟ พักไว้  

 

 

 

 

4. ทำกะทิไข่เต่าโดยใส่หัวกะทิ น้ำมะพร้าว 2/3 ส่วน เกลือและใบเตยลงในกระทะทองเหลืองหรือหม้ออีกใบ ยกขึ้นตั้งไฟบนกลางค่อนอ่อน หมั่นคนไปเรื่อยๆจนกะทิร้อนดี ละลายแป้งมันกับน้ำมะพร้าวที่เหลือใส่ลงไป คนให้เข้ากันและกะทิข้นเล็กน้อยจึงปิดไฟ พักไว้

 

 

 

 

5. แบ่งแป้งที่พักไว้ออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ใช้มือแตะแป้งนวลเล็กน้อย เด็ดแป้งออกมาขนาดประมาณเท่าเม็ดบัวลอย จากนั้นคลึงแป้งที่ฝามือเป็นก้อนกลม ใช้สันมือคลึงแป้งให้มีลักษณะเรียวยาว ตรงกลางอ้วน หัวท้ายแหลม ใส่ถาดที่โรยด้วยแป้งมัน ปิดด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด ทำจนหมด ส่วนแป้งที่เหลืออีกส่วนให้คลึงเป็นไข่เต่าลักษณะเป็นก้อนกลมรี ใส่ถาดที่โรยด้วยแป้งนวล ปิดด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด ทำจนหมด

 

 

 

 

6. ตั้งหม้อน้ำบนไฟกลาง พอเดือด ใส่ตัวปลากริมลงต้มจนแป้งสุกลอยตัวขึ้นบนผิวน้ำ ต้มต่อประมาณ 1 นาที จึงตักขึ้น ใส่ลงในน้ำอุณหภูมิห้องเพื่อคลายความร้อน ตักแป้งขึ้นให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นใส่ลงในหม้อน้ำเชื่อมปลากริม รอไว้ ทำเช่นเดียวกันนี้กับไข่เต่า โดยใส่ไข่เต่าที่ต้มแล้วลงในหม้อกะทิไข่เต่า

 

 

 

 

7. ยกหม้อปลากริมและไข่เต่าขึ้นตั้งบนไฟอ่อนให้พอเดือดอ่อนๆ นาน 2-3 นาที จนกะทิเข้าเนื้อและน้ำกะทิข้นขึ้น ปิดไฟ

 

 

 

 

8. ตักปลากริมและไข่เต่าใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง เสิร์ฟ 

 

 

 

 

หมายเหตุ

 

 

 

 

     

  • เมื่อต้มตัวปลากริมกับไข่เต่าในน้ำเชื่อมและน้ำกะทิแล้วสามารถรับประทานได้ทันที หรือพักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนรับประทาน เพื่อให้ตัวขนมดูดซับรสาติของน้ำเชื่อมและน้ำกะทิเวลากินจะได้รสชาติที่ละมุนนวลเนียนเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น
  •  

Gallery

Share this content

Tags:

ขนมไทย, หัวกะทิ, อาหารเป็นอาชีพ, แป้งข้าวเจ้า, แป้งข้าวเหนียว, แป้งมัน

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos