เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

มะกรูดลอยแก้ว

Recipe by ณัฐณิชา ทวีมาก

Serves

5-6 คน

Level

3

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

INGREDIENTS

มะกรูด

1 กิโลกรัม

น้ำ

800 กรัม

น้ำตาลทรายขาว

500 กรัม

เกลือสมุทร

1 ช้อนชา

ใบเตยมัดปม

3 ใบ

น้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาว

3-4 ช้อนโต๊ะ

เกลือสมุทรสำหรับล้างมะกรูด

ผิวมะกรูดซอยสำหรับตกแต่ง

น้ำแข็งบดสำหรับจัดเสิร์ฟ

อุปกรณ์ มีดแกะสลัก กระทะทองเหลือง

METHOD

1. วิธีปอกมะกรูดแบบที่ 1 ทรงถ้วย : ล้างมะกรูดให้สะอาด ปอกผิวมะกรูดส่วนสีเขียวออกจนหมดโดยพยายามอย่าให้โดนเฉือนเนื้อส่วนสีขาวมากเกินไป ผ่าครึ่งตามแนวขวาง ใช้มีดกรีดระหว่างเนื้อมะกรูดและเปลือกส่วนสีขาว จากนั้นค่อยๆใช้ปลายมีดเลาะเอาเนื้อออกจากเปลือก (ระวังอย่าให้เปลือกมะกรูดขาด) ขูดเนื้อและเส้นใยที่ติดอยู่กับเปลือกออกจนหมด เตรียมไว้

 

 

 

 

2. วิธีปอกมะกรูดแบบที่ 2 ทรงดอกไม้ : ล้างมะกรูดให้สะอาด ปอกผิวมะกรูดส่วนสีเขียวออกจนหมดโดยพยายามอย่าให้เฉือนโดนเนื้อส่วนสีขาวมากเกินไป ใช้มีดกรีดรอบผลเป็นแนวยาว 8 กลีบ โดยเว้นส่วนหัวและท้ายไว้เล็กน้อย ค่อยๆ เลาะเนื้อมะกรูดออกจากเปลือกตามแนวกลีบ เลาะส่วนหัวและส่วนท้าย (ระวังอย่าให้เปลือกมะกรูดขาด) คว้านเนื้อและเมล็ดออกจนหมด ล้างเปลือกด้วยน้ำให้สะอาด เตรียมไว้

 

 

 

 

3. ล้างมะกรูดโดยขยำเปลือกมะกรูดกับเกลือสมุทรประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ นาน 1 นาที (เติมน้ำลงไปได้เล็กน้อยเพื่อให้ขยำง่ายขึ้น) บีบน้ำเกลือออก จากนั้นนำไปขยำล้างน้ำ บีบให้แห้ง ล้างซ้ำเช่นนี้ประมาณ 5 รอบ (การขยำด้วยเกลือจะช่วยล้างความขมและความเฝื่อนออกจากเปลือกมะกรูด)

 

 

 

 

4. ผสมน้ำเกลือสำหรับแช่มะกรูดโดยใส่น้ำและเกลือลงในอ่างผสม คนให้เกลือละลายดี ใส่เปลือกมะกรูดที่ล้างไว้ลงไป แช่ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องข้ามคืนหรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมง (การแช่เกลือจะทำให้เปลือกมะกรูดพองขึ้นฟู สีขาวใส) เมื่อครบเวลา ขยำอีกรอบ เทน้ำเกลือออก นำเปลือกไปขยำล้างน้ำอีก 3 รอบเพื่อล้างความเค็มออก บีบเปลือกมะกรูดให้แห้ง พักไว้

 

 

 

 

5. ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำ น้ำตาลทราย เกลือสมุทรและใบเตยรวมกันในกระทะทองเหลือง ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง เคี่ยวประมาณ 10 นาทีจนน้ำเชื่อมเดือดเป็นฟองอากาศเล็กๆ ลดเป็นไฟอ่อน ใส่เปลือกมะกรูดที่เตรียมไว้ลงไป ระหว่างเชื่อมคอยกดเปลือกให้จมน้ำเชื่อมทั่วทุกชิ้น ใช้เวลาเชื่อมประมาณ 45 นาที จนมะกรูดมีลักษณะใสเหมือนแก้วและน้ำเชื่อมข้น เติมน้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาวลงไปตัดรส (และช่วยให้น้ำตาลไม่ตกผลึก) คนให้เข้ากัน ชิมให้รสออกเปรี้ยว หวาน เค็ม กลมกล่อม ปิดไฟ พักไว้ให้เย็นสนิท

 

 

 

 

6. จัดเสิร์ฟโดยตักมะกรูดลอยแก้วใส่ถ้วย เติมน้ำแข็งบด ตกแต่งด้วยผิวมะกรูดซอย เสิร์ฟ

 

 

 

 

หมายเหตุ

 

 

 

 

     

  • วิธีเลือกมะกรูด ควรเลือกมะกรูดอ่อน เปลือกสีเขียว ผิวขรุขระ มีจุกที่ขั้วยื่นออกมา บีบแล้วแข็ง ลูกเล็กไม่ใหญ่จนเกินไปจะทำให้มีเนื้อส่วนสีขาวเยอะ เหมาะสำหรับการนำมาลอยแก้วหรือเชื่อม
  •  

Gallery

Share this content

Tags:

ขนมไทย, ขนมไทยโบราณ, ของหวาน, มะกรูด, ลอยเเก้ว

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recommended Videos