เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

cooking post

แจกสูตรทำหม่าล่าเสียบไม้ขาย พร้อมกำไร-ต้นทุนต่อไม้

Story by นภาพร สิมณี

วิธีทำปิ้งย่างหม่าล่าเสียบไม้ สตรีตฟู้ดสุดฮิต พร้อมคำนวนต้นทุนแบบละเอียด

หม่าล่าเสียบไม้ ขายไม้ละเท่าไหร่ดี ? วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

 

 

 

 

โดยปกติ ‘ของย่างเสียบไม้’ ที่มีความหลากหลาย (ไม่นับหมูปิ้งไม้นะคะ) กำไรที่ได้แต่ละไม้จะไม่เท่ากัน เพราะของที่นำมาใช้มีต้นทุนที่ต่างกัน เราอาจจะต้องพยายามคุมต้นทุนให้แต่ละไม้ ไม่ต่างกันจนเกินไป การขายของประเภทนี้ สิ่งที่ควรคำนึงคือเราต้องเพิ่มการ ‘ฮาร์ดเซล’ ไม้ที่กำไรมากที่สุด และ ไม้ไหนที่ขายได้วันต่อวัน (โอกาสเสียง่าย) จะช่วยให้เราได้กำไร และลดการทิ้งของที่เสียแล้วได้เยอะเลยละค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

วิธีการเพิ่มยอดขายก็มีได้หลายแบบ อาจจะมีป้ายติดว่าไม้นี้ ‘ขายดี’ หรือถ้าซื้อไม้นี้ 3 ไม้ แถม 1 ไม้ (เฉพาะไม้นี้เท่านั้น) ก็อาจจะมีโอกาสที่ลูกค้าจะเลือกซื้อในสิ่งที่เราอยากขายมากขึ้น มากกว่าที่เราไม่ได้เน้นขายอะไรเลย
‘หม่าล่าเสียบไม้’ แต่ละร้านจะมีสูตรที่ไม่เหมือนกัน บางร้านจะเป็นซอสหม่าล่าข้นๆ บางคนจะมีน้ำซอสแยก และมีผงหม่าล่าโรยแยกอีกทีหนึ่ง มากกว่านั้นคือมีน้ำจิ้มให้กินด้วย

 

 

 

 

สูตรของเราในวันนี้จะเริ่มทำกันตั้งแต่ผงหม่าล่าเองเลย เนื่องจากในตอนนี้กระแสหม่าล่ามาแรงเหลือเกิน วัตถุดิบเลยหาได้ง่ายกว่าแต่ก่อนเยอะ และข้อดีของทำผงหม่าล่าเองคือ หม่าล่าเสียบไม้ของร้านเราจะไม่เหมือนใคร และไม่เหมือนผงหม่าล่าสำเร็จรูปแน่นอน เพราะเราจะกำหนดส่วนผสมเองได้ว่าเราอยากได้กลิ่นหอมขนาดไหน และรสเผ็ดชาที่เราสามารถเพิ่มลดได้ตามความต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นแรกเราจะคั่วสมุนไพรที่สำคัญที่สุดในการทำผงหม่าล่านั้นก็คือ ‘ฮวาเจียว‘ ที่จะให้กลิ่นหอม และรสเผ็ดชาที่เรามักจะเจอในหม่าล่า นำไปคั่วจนมีกลิ่นหอมขึ้นมา แล้วนำไปตำให้ละเอียด (หรือใครที่มีเครื่องปั่นก็ปั่นจนละเอียดได้เลย) จากนั้นก็นำฮวาเจียวไปผสมกับผงโป๊ยกั๊ก ผงยี่หร่า พริกป่นละเอียด (พริกป่นเกาหลี) พริกขี้หนูป่น พริกไทยขาวป่น ผงขิงและกระเทียม น้ำตาลทรายป่นละเอียด เกลือป่น และผงชูรส คนให้เข้ากัน ตักใสกระปุกที่มีรู เตรียมเอาไว้สำหรับโรยหม่าล่า

 

 

 

 

 

 

 

ตารางคำนวณต้นทุนผงหม่าล่า

 

 

 

 

 

 

 

ต่อมาเป็นซอสสำหรับหมัก ที่เอาไว้ทาตอนเรานำผักหรือเนื้อสัตว์ไปย่าง เพื่อให้รสเค็ม หวานอ่อนๆ หอมน้ำมันงา ส่วนผสมมีไม่เยอะ แค่มีซีอิ๊วขาว น้ำมันหอย น้ำตาลทรายขาว น้ำมันงา และเกลือ เติมน้ำนิดหน่อย นำไปเคี่ยวประมาณ 5-10 นาที ให้พอน้ำตาลละลายและซอสมีความข้นขึ้นเล็กน้อย

 

 

 

 

 

 

 

ตารางคำนวณต้นทุนซอสหมัก

 

 

 

 

 

 

 

หม่าล่าเสียบไม้จะขาดวัตถุดิบที่จะนำมาเสียบไม้ไปไม่ได้เลยใช่ไหมล่ะคะ วันนี้เรานำวัตถุดิบที่มักจะพบเจอในร้านหม่าล่ามาคำนวณต้นทุนให้เพื่อนๆ ดูกันค่ะ เป็นแนวทางในการคิดว่าเราควรจะนำอะไรมาเสียบ และเสียบในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะได้กำไร หรือวัตถุดิบอันไหนเอามาเสียบแล้วได้กำไรน้อย

 

 

 

 

 

 

 

เริ่มที่เนื้อสัตว์กันค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น เนื้อ หมูสามชั้น และอกไก่ นำมาหั่นเป็นชิ้นๆ (เนื้อสัตว์บางส่วนที่ตัดแต่งออกไปมากน้อยแล้วแต่ส่วนที่เราเลือกใช้ อย่าลืมเอาตรงนั้นมาคำนวณต้นทุนกันด้วยนะคะ) โดยเนื้อสัตว์ที่ผ่านตัดแต่งแล้ว ปริมาณต่อไม้ที่เราแนะนำคือ 30-40 กรัมต่อไม้ ไม่ควรน้อยกว่านี้ เพราะเมื่อนำมาย่างแล้วอาจจะดูเล็กจนไม่น่ากิน ถ้าเสียบในปริมาณที่เยอะมากไปกว่านี้ เราจะได้กำไรที่น้อยเกินไป

 

 

 

 

 

 

 

ต่อมาเป็นของสำเร็จรูปอย่างเช่น ไส้กรอก ปูอัด ลูกชิ้น ที่เราซื้อมาแล้วเสียบได้เลยโดยไม่ต้องหั่น หรือตัดแต่งอะไรมากมาย มากสุดก็แค่แกะพลาสติกออกจากไส้กรอกเท่านั้น แต่จะบอกว่าสิ่งนี้เป็นของที่เสียบง่าย และประหยัดเวลาในการเสียบมากที่สุด และที่สำคัญได้กำไรเยอะ เมื่อเทียบกับวัตถุดิบอื่นๆ ที่ต้องมานั่งหั่น ล้าง เตรียมก่อนน้าที่เอาจะมาเสียบ และสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าพวกเนื้อสัตว์หรือผักสด

 

 

 

 

สุดท้ายเป็นส่วนของผัก ที่นิยมขายกันก็จะมีบร็อคโคลี เห็ดต่างๆ เช่น เห็ดหอมหรือเห็ดออรินจิ กระเจี๊ยบเขียว โดยผักต่างๆ จะมีวิธีการจัดการคล้ายๆ เนื้อสัตว์ อาจจะต้องนำมาหั่น ตัดแต่ง ตัดส่วนที่ไม่ได้ใช้ออก เช่น บร็อคโคลีเราจะใช้แค่ดอก ไม่ได้ใช้ส่วนก้าน ดังนั้นอย่างลืมคำนวนต้นทุนส่วนที่ต้องตัดแต่งออกด้วยนะคะ

 

 

 

 

ตารางคำนวณต้นทุนราคาต่อไม้

 

 

 

 

 

 

 

ราคาที่คำนวณให้ตามตารางนี้เป็นราคาของสดในตลาด ณ ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ราคาตลาดอาจจะมีการปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาและเราก็ทำการลองตั้งราคาขาย อ้างอิงจากต้นทุนที่เราคำนวณ แต่กำไรที่ได้นั้นยังไม่ได้เป็นราคาที่รวมค่าแรง ค่าแก๊ส ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าอื่นๆ ที่หลายครั้งพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ ลืมคำนึงถึงรายจ่ายตรงนี้ไป (สามารถดูวิธีการคำนวณค่าอื่นๆ ได้ที่ เปิดสูตรตั้งราคาเบเกอรีไม่ให้ขาดทุน คำนวณต้นทุน-กำไรแบบมืออาชีพ) อย่างเมนูนี้อาจจะต้องใช้เวลาในการเตรียมก่อนจะขายค่อนข้างนาน ถ้าเราตั้งราคาที่สมเหตุสมผล และเรายังมีกำไรที่สามารถอยู่ได้สบาย ก็ถือว่าเป็นการค้าขายที่ประสบความสำเร็จแล้ว

 

 

 

 

คลิกดูสูตรหม่าล่าเสียบไม้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
ต้นทุน 5 อย่างที่แม่ค้ามือใหม่ลืมคำนวณ
อาชีพเสริมรายได้สุดปัง ด้วยแซนด์วิชเกาหลีไส้ตู้ม!
น้ำพริกแคบหมูหม่าล่า เผ็ดซ่าชาลิ้น สูตรทำง่ายขายรวย

Share this content

Contributor

Tags:

หม่าล่า, อาหารเสียบไม้, เมนูสร้างรายได้

Recommended Articles

Cookingแจกสูตร Dalgona Coffee Pudding ขายดีจนตลาดแตก!
แจกสูตร Dalgona Coffee Pudding ขายดีจนตลาดแตก!

เปลี่ยนพุดดิ้งธรรมดาให้อร่อยเป็นพิเศษ