เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

มันเชื่อม

Recipe by ชรินรัตน์ จริงจิตร

Serves

2-3 คน

Level

3

โดยกรรมวิธีในการทำก็เริ่มจากล้างทำความสะอาดดินที่ติดอยู่ที่เปลือกออกให้หมด ให้สะอาดเสร็จแล้วก็ ปอกเปลือกมันออกให้หมด หั่นเป็นท่อน ท่อนละประมาณ 2.5 นิ้ว ไม่ยาวจนเกินไปนัก จากนั้นก็หั่นครึ่งอีกรอบ ก็จะได้ทรงแบบที่เค้าขายตามท้องตลาดทั่วไป จากนั้นก็ล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง ก็เริ่มเคี่ยวได้เลยจ้ะ โดยตั้งน้ำในกระทะบนไฟกลาง ใส่มันลงไปต้มให้มันนุ่มสักเล็กน้อย แต่อย่าพึ่งนุ่มมากนัก ก็สักประมาณ 30 นาที จากนั้นก็ใส่น้ำตาลทรายลงในหม้อที่มีมันอยู่แล้ว ลดไฟเป็นไฟอ่อน เคี่ยวไปเลยจ้ะ ใช้เวลาเคี่ยวประมาณ 2 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ เราก็จะได้มันเชื่อมที่ไม่นิ่มจนเกินไป หวานกำลังพอดี ตัดหวานด้วยหัวกะทิเคี่ยวใส่เกลือเล็กน้อย

INGREDIENTS

มันสำปะหลัง (พันธุ์ห้านาที)

1 กิโลกรัม

น้ำ

6 ถ้วย

น้ำตาลทราย

1 กิโลกรัม

เกลือป่น

½ ช้อนชา

อุปกรณ์ กระทะทองเหลือง

METHOD

1. ล้างมันให้สะอาดโดยใช้แปรงขนอ่อนขัดเอาดินที่ติดอยู่ที่หัวมันออกให้หมด ปอกเปลือกมันออก หั่นมันเป็นท่อนขนาดความยาว 2 นิ้ว ผ่าครึ่งอีกครั้ง ล้างเนื้อมันให้สะอาดอีกครั้ง พักไว้

 

2. ตั้งกระทะทองเหลืองใส่น้ำบนไฟกลาง พอน้ำเริ่มเดือด ใส่มันสำปะหลังที่เตรียมไว้ลงต้มประมาณ 30 นาที จนเนื้อมันนุ่มเล็กน้อย จากนั้นเทน้ำตาลและเกลือลงในกระทะ ลดเป็นไฟอ่อน เคี่ยวไปเรื่อยๆนานประมาณ 2 ชั่วโมง ระหว่างเคี่ยว หมั่นคนเนื้อมันเล็กน้อยเป็นครั้งคราว เพื่อไม่ให้มันไหม้ติดก้นกระทะ พอครบเวลา สังเกตถ้าเนื้อมันเชื่อมได้แล้ว เนื้อมันจะใส มันวาว ปิดไฟ พักไว้

 

3. ทำหัวกะทิสำหรับหยอดหน้าโดยผสมหัวกะทิ ¼ ถ้วยกับแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากันในถ้วย ใส่กะทิทั้งสองส่วนลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง พอร้อน คนส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จนส่วนผสมหัวกะทิข้นขึ้น ปิดไฟ พักไว้

 

4. จัดเสิร์ฟโดยตักมันเชื่อมใส่จาน ราดด้วยหัวกะทิเคี่ยว

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

 

ยืดความอร่อยด้วย ‘น้ำตาล’

Gallery

Share this content

Tags:

ขนมจากผลไม้, ขนมไทย, ของหวาน, ถนอมอาหาร, ถนอมอาหารจากผลไม้, เมนูถนอมอาหาร

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos