เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

บวดกระเทียมโทน

Recipe by ณัฐณิชา ทวีมาก

Serves

4 คน

Level

3

ขนมไทยโบราณหากินยาก ใช้วิธีการแกะสลักกระเทียมโทนเพื่อเปิดผิว จากนั้นนำไปแช่น้ำเย็นเพื่อลดกลิ่นฉุนเเละความเผ็ดซ่าลง ก่อนนำไปต้มกับกะทิอบควันเทียนหอมๆ เมื่อสุกเเล้วเนื้อจะคล้ายมันแกว เป็นขนมหวานที่พิถีพิถัน กินเเล้วทั้งอร่อยเเละได้ประโยชน์อีกด้วย

INGREDIENTS

กระเทียมโทนปอกเปลือก

200 กรัม

น้ำ

4 ถ้วย

เกลือสมุทร

1½ ช้อนชา

ใบเตยมัดปม

4 ใบ

น้ำลอยดอกมะลิสำหรับแช่กระเทียม

อุปกรณ์ มีดแกะสลัก เทียนอบสำหรับอบกะทิ

METHOD

1. ทำกะทิอบควันเทียนโดยวางเทียนอบในถ้วย จุดไฟ รอซักครู่ให้ไส้เทียนเดือดพล่าน จึงรีบเป่าให้เทียนดับ จากนั้นวางถ้วยเทียนอบลงในหม้อที่ใส่หัวและหางกะทิไว้ ปิดฝาทันที อบควันเทียนทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีจนหอม

 

 

 

 

2. แกะสลักกระเทียมเป็นลายดอกกุหลาบ โดยแนบปลายมีดปาดโค้งบริเวณด้านหัวของกระเทียมเป็นกลีบกุหลาบ โดยกะความสูงของกลีบชั้นนอกให้สูงประมาณ 2/3 ของเม็ดกระเทียม ปาดเนื้อใต้กลีบออกให้เกิดช่องว่าง เกลาเนื้อด้านข้างให้เรียบเพื่อให้ขึ้นกลีบต่อไปได้สวยงาม ขึ้นกลีบที่สองให้ซ้อนกลีบแรก โดยกรีดเป็นกลีบดอกเช่นเดิม ทำกลีบชั้นแรกจนครบรอบ จะได้ประมาณ 3-4 กลีบ ขึ้นกลีบชั้นที่สองให้อยู่สับหว่างกับกลีบชั้นแรก ปาดกลีบซ้อนและสับหว่างวนไปเรื่อย ๆ จนสุดใจกลางของกระเทียม ใส่ในอ่างน้ำเย็นรอไว้

 

 

 

 

3. แกะกระเทียมเป็นลายฟันปลา โดยใช้ปลายมีดกรีดเบาๆรอบกระเทียมให้เป็นเส้น เพื่อช่วยร่างตำแหน่งในการแกะสลัก เอียงมีดประมาณ 45 องศา แล้วแทงปลายมีดเข้าไปตรงตำแหน่งที่ทำไว้ให้ลึกถึงกึ่งกลางของกระเทียม เอียงมีดแทงสลับซ้ายขวาเป็นลายฟันปลาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนครบรอบ บีบรอบกระเทียมด้วยความเบามือให้แยกออกจากกัน (ถ้าไม่ออกให้ใช้มีดแทงซ้ำลายเดิมอีกครั้ง) แช่อ่างน้ำเย็นรอไว้

 

 

 

 

4. แช่กระเทียมที่แกะสลักแล้วในน้ำเย็นจัด (น้ำผสมน้ำแข็ง) ประมาณ 30 นาทีและเปลี่ยนน้ำ 2-3 รอบเพื่อลดกลิ่นฉุนและความเผ็ดซ่าให้ออกไปมากที่สุด โดยรอบสุดท้ายให้แช่ในน้ำลอยดอกมะลิเย็นๆ จากนั้นเทน้ำออก ล้างผ่านน้ำ พักกระเทียมไว้ในตะกร้าจนแห้งสนิทดี

 

 

 

 

5. ตั้งหม้อน้ำบนไฟกลาง ใส่เกลือสมุทรและใบเตยมัดปมลงไป พอเดือด ใส่กระเทียมโทนลงต้มประมาณ 5 นาที ให้พอสุก ปิดไฟ พักไว้

 

 

 

 

6. เทหัวและหางกะทิที่อบควันเทียนใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟอ่อน ใส่น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว เกลือสมุทรและใบเตยมัดปม คนจนน้ำตาลละลายดี พอกะทิเริ่มร้อน ตักกระเทียมโทนที่ต้มไว้ใส่ลงในกะทิ คนอย่างเบามือให้เข้ากัน พอกะทิเริ่มเดือดขอบหม้อ ปิดไฟ

 

 

 

 

7. ตักบวดกระเทียมโทนใส่ถ้วย เสิร์ฟ

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม บวดกระเทียมโทน ขนมไทยตำรับชาววังสุดประณีต

Gallery

Share this content

Tags:

กระทิ, กระเทียมโทน, กะทิอบควันเทียน, ขนมชาววัง, ขนมหวาน, ขนมโบราณ, ขนมไทย, บวดกระเทียม, แกะสลัก

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos