เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

Serves
4-5 คน
Level
2
ลาบปลาตอง เป็นลาบท้องถิ่นแดนอีสาน ใช้ปลาน้ำจืดหาง่ายอย่างปลากรายตัวย่อม มาขูดเอาเนื้อแล้วตำกับเครื่องลาบหลากชนิด สำคัญคือต้องใส่ ‘น้ำนัว’ อุ่นๆ ขณะตำเนื้อปลาจนเนียนในระดับใช้ข้าวเหนียวปั้นจิ้มแล้วไม่หยดไหล และต้องใส่ ‘ใบมะนาวหั่นฝอย’ ลงไปผสมเพื่อดับกลิ่นคาวปลา เป็นลาบดิบรสเค็มนวลๆ (หรือจะคั่วให้สุกก็อร่อย) ที่คนอีสานทำกินกันทุกบ้านทุกครัว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านอย่างนครพนม อุดรธานี หรืออุบลราชธานี
INGREDIENTS
เนื้อปลากรายขูด
400 กรัม
เกลือสมุทร
2 ช้อนชา
ข้าวคั่ว
3 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูเเห้งคั่วป่น
3 ช้อนโต๊ะ
น้ำนัว
2 ถ้วย
น้ำมะนาว
1 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาร้ารำ
3 ช้อนโต๊ะ
ผักชีฝรั่งซอย
2 ช้อนโต๊ะ
ผักชีซอย
2 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมซอย
2 ช้อนโต๊ะ
ผักชีสำหรับตกเเต่ง
ผักสดมี ใบบัวบก ยอดกระถิน ผักกาดสร้อย ฯลฯ
ข้าวเหนียวนึ่งสำหรับจัดเสิร์ฟ
กระดูกปลากราย
300 กรัม
น้ำ
6 ถ้วย
เกลือสมุทร
1 ช้อนชา
ตะไคร้หั่นท่อนบุบพอเเตก
4 ต้น
ข่าเเก่หั่นเเว่น
5 ชิ้น
ใบมะกรูดฉีก
4 ใบ
น้ำปลาร้ารำ
3 ช้อนโต๊ะ
METHOD
1. ทำน้ำนัวโดยล้างกระดูกปลากรายให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลาง ใส่เกลือ ตะไคร้ ข่า และใบมะกรูดรอให้น้ำเดือดจัด ใส่กระดูกปลาที่พักไว้ลงต้มรอให้เดือดอีกครั้ง ใส่น้ำปลาร้ารำ เคี่ยวนานประมาณ 20 นาที ให้น้ำงวดลงเล็กน้อยและมีกลิ่นหอมกระดูกปลา ปิดไฟ กรองเอาแต่น้ำต้มกระดูกปลาเก็บไว้ จะได้น้ำนัวปริมาณ 4 ถ้วย
2. ตำเนื้อปลากรายโดยใส่เกลือ ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ และพริกป่น 1 ช้อนโต๊ะ ลงผสม กับเนื้อปลา ตำให้เข้ากันจนเนื้อปลาเหนียว (วิธีสังเกตคือเมื่อยกสากขึ้น ครกจะติดกับสาก แสดงว่าเนื้อปลาเหนียว) ใส่น้ำนัวอุ่นลงผสมครั้งละ ½ ถ้วย สลับกับตำเนื้อปลา ตำจนน้ำนัวเข้ากับเนื้อปลาทั่ว (น้ำจะแห้งลงเล็กน้อย) ทำซ้ำแบบเดิม จนเนื้อปลาไม่เหนียวติดสาก ปรุงรสด้วยข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ พริกป่น 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว น้ำปลาร้ารำ ผักชีฝรั่งซอย ผักชีซอย และต้นหอมซอย ตำให้เข้ากันอีกครั้ง ชิมรสให้ออกเค็มเผ็ดนัวกลมกล่อม
3. ตักลาบปลาตองใส่ถ้วย ตกแต่งด้วยผักชี เสิร์ฟกับผักสดและข้าวเหนียวนึ่ง
อ่านบทความเพิ่มเติม
Recommended Articles

อาหารพื้นบ้านของชาวอีสานอีกเมนูนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ทั้งอร่อย ทำง่าย แถมไปด้วยประโยชน์แบบสุดๆ มักนิยมเลือกใช้ปลาตัวเล็กมาทำเมนูนี้ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากแค่คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก เพียงเท่านี้ก็ได้เมนูหมกง่ายๆอร่อยๆไว้กินคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ

ซุปหน่อไม้อาหารพื้นถิ่นของภาคอีสาน ชื่อว่าซุปแต่ไม่ได้เป็นอาหารประเภทแกงอย่างที่ชื่อเรียกแต่เป็นอาหารประเภทยำโดยเป็นการนำเอาหน่อไม้มาขูดเป็นเส้นๆ นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างหอมแดง ต้นหอม และผักสะแงะ เป็นต้น บางสูตรก็ใส่น้ำปลาร้านัวๆ

เมนูประจำฤดูฝน เป็นเห็ดป่าที่ขึ้นในแถบภาคตะวันตกของประเทศไทย แถวจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เห็ดระโงกมีสมผัสนุ่มนวล ทุกครั้งที่ได้เห็ดระโงกมา เราจะเอามาแกงยอดมะขามเท่านั้น โดยไม่มีเนื้อสัตว์ปะปนเลย ให้เห็ดระโงกเป็นพระเอกอย่างแท้จริง น้ำแกงจะมีความข้นเล็กๆจากเห็ด ออกเปรี้ยวนำจากยอดมะขามอ่อน กลมกล่อมมากๆ

อาหารพื้นบ้านของชาวอีสานอีกเมนูนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ทั้งอร่อย ทำง่าย แถมไปด้วยประโยชน์แบบสุดๆ มักนิยมเลือกใช้ปลาตัวเล็กมาทำเมนูนี้ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากแค่คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก เพียงเท่านี้ก็ได้เมนูหมกง่ายๆอร่อยๆไว้กินคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ

ซุปหน่อไม้อาหารพื้นถิ่นของภาคอีสาน ชื่อว่าซุปแต่ไม่ได้เป็นอาหารประเภทแกงอย่างที่ชื่อเรียกแต่เป็นอาหารประเภทยำโดยเป็นการนำเอาหน่อไม้มาขูดเป็นเส้นๆ นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างหอมแดง ต้นหอม และผักสะแงะ เป็นต้น บางสูตรก็ใส่น้ำปลาร้านัวๆ

เมนูประจำฤดูฝน เป็นเห็ดป่าที่ขึ้นในแถบภาคตะวันตกของประเทศไทย แถวจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เห็ดระโงกมีสมผัสนุ่มนวล ทุกครั้งที่ได้เห็ดระโงกมา เราจะเอามาแกงยอดมะขามเท่านั้น โดยไม่มีเนื้อสัตว์ปะปนเลย ให้เห็ดระโงกเป็นพระเอกอย่างแท้จริง น้ำแกงจะมีความข้นเล็กๆจากเห็ด ออกเปรี้ยวนำจากยอดมะขามอ่อน กลมกล่อมมากๆ

อาหารพื้นบ้านของชาวอีสานอีกเมนูนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ทั้งอร่อย ทำง่าย แถมไปด้วยประโยชน์แบบสุดๆ มักนิยมเลือกใช้ปลาตัวเล็กมาทำเมนูนี้ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากแค่คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก เพียงเท่านี้ก็ได้เมนูหมกง่ายๆอร่อยๆไว้กินคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ

ซุปหน่อไม้อาหารพื้นถิ่นของภาคอีสาน ชื่อว่าซุปแต่ไม่ได้เป็นอาหารประเภทแกงอย่างที่ชื่อเรียกแต่เป็นอาหารประเภทยำโดยเป็นการนำเอาหน่อไม้มาขูดเป็นเส้นๆ นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างหอมแดง ต้นหอม และผักสะแงะ เป็นต้น บางสูตรก็ใส่น้ำปลาร้านัวๆ

เมนูประจำฤดูฝน เป็นเห็ดป่าที่ขึ้นในแถบภาคตะวันตกของประเทศไทย แถวจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เห็ดระโงกมีสมผัสนุ่มนวล ทุกครั้งที่ได้เห็ดระโงกมา เราจะเอามาแกงยอดมะขามเท่านั้น โดยไม่มีเนื้อสัตว์ปะปนเลย ให้เห็ดระโงกเป็นพระเอกอย่างแท้จริง น้ำแกงจะมีความข้นเล็กๆจากเห็ด ออกเปรี้ยวนำจากยอดมะขามอ่อน กลมกล่อมมากๆ
Recommended Videos