เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

ลอดช่องทุเรียนน้ำกะทิ

Recipe by สำนักพิมพ์แสงแดด

Serves

4-5 คน

Level

3

ลอดช่องทุเรียนน้ำกะทิ แค่ได้ยินชื่อก็อยากกินแล้ว ตัวเนื้อลอดช่องนุ่มนิ่มนวลเนียนกินคู่กับเนื้อทุเรียนสุกนุ่มกำลังดีที่เคี่ยวไปกับน้ำกะทิ รสชาติหวานๆ เค็มๆ มันๆ เสิร์ฟมากับน้ำแข็งป่นละเอียดที่ถูกต้อง แค่นี้ก็เป็นเมนูดับร้อนที่แสนวิเศษแล้ว

INGREDIENTS

แป้งข้าวเจ้า

1½ ถ้วย

แป้งเท้ายายม่อม

2 ช้อนโต๊ะ

แป้งมันสำปะหลัง

1½ ช้อนโต๊ะ

น้ำปูนใส

2 ถ้วย

น้ำใบเตยคั้นข้นๆ

1 ถ้วย

(ใบเตยหั่นชิ้นเล็ก 3 ถ้วย ปั่นกับน้ำ 1 ถ้วย กรองด้วยผ้าขาวบาง)

METHOD

1. เตรียมอ่างใส่น้ำเย็นจัดและพิมพ์ สำหรับกดลอดช่องไว้

 

 

 

 

2. ทำลอดช่องไทยโดยผสมแป้งทั้ง 3 ชนิด เข้าด้วยกันในกระทะทอง ค่อยๆใส่น้ำปูนใสประมาณ ½ ถ้วย คนให้แป้ง เข้ากัน แล้วใส่น้ำปูนใสที่เหลือและน้ำใบเตย คนให้เข้ากัน ยกกระทะทองขึ้นตั้งบนไฟกลาง กวนจนแป้งเริ่มข้น ลดไฟลง กวนต่อจนแป้งข้นเหนียว นานประมาณ 25 นาที (สังเกตว่าแป้งได้ที่แล้วเมื่อยกไม้พายขึ้นส่วนผสมจะไหลลงมาช้าๆ หรือทดสอบโดยตักแป้ง ลอดช่องใส่ในน้ำเย็นแล้วรอประมาณ 1 นาที ให้แป้งอยู่ตัวลองใช้มือบีบดู ถ้าแป้งเป็นตัวไม่ละลายไปกับน้ำแสดงว่าใช้ได้) ปิดไฟ ยกลงเทแป้งลอดช่องที่กวนใส่พิมพ์กดลอดช่อง กดลงในน้ำเย็นจัด ขณะที่กดให้กดแล้วหยุดสลับกันไปจนแป้งหมด เสร็จแล้วให้แช่ลอดช่องไว้ในน้ำเย็นนานประมาณ 5 นาที จึงใช้ทัพพีโปร่งตักหรือเทลอดช่องใส่ กระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ

 

 

 

 

3. ทำน้ำกะทิทุเรียนโดยผสมหัวกะทิกับน้ำตาลมะพร้าวเข้าด้วยกันในอ่างผสมจน น้ำตาลละลายเข้ากันดี ใส่เกลือ คนให้เกลือละลาย กรองด้วยผ้าขาวบางใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟอ่อน พอเดือด ใส่เนื้อทุเรียน คนพอทั่ว ปิดไฟ ยกลง

 

 

 

 

4. ตักลอดช่องใส่ถ้วยประมาณ ¼ ถ้วย แล้วตักน้ำกะทิพร้อมเนื้อทุเรียนใส่พอประมาณ ตามด้วยน้ำแข็งเกล็ดปริมาณตามชอบ โรยน้ำตาลเคี่ยว ตกแต่งด้วยเนื้อทุเรียนหั่นชิ้น เสิร์ฟ

Share this content

Tags:

ขนมหม้อ, ขนมไทย, ทุเรียน, น้ำกะทิ, ลอดช่อง

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos