เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

เผือกกวน

Recipe by ธัญชนก ศรียานนท์

Serves

15-16 ชิ้น

Level

3

เผือกกวน ขนมไทยโบราณทำง่ายๆ สามารถทำกินเองได้ ขนมหวานจากเผือก ให้นำเผือกหอมปอกเปลือกนำไปนึ่งให้สุก บดให้ละเอียด นำไปกวนกับหัวกะทิคั้นสด ปรุงรสด้วย น้ำตาลทราย เกลือเเละเเต่งสีให้สวยด้วยน้ำอัญชัน ค่อยๆกวนด้วยไฟอ่อนจนเนื้อเผือกกวนแห้ง เนียน รสชาติหวานมันเนียนนุ่ม

INGREDIENTS

เผือกหอม (ลูกละ 600 กรัม)

1 ลูก

หัวกะทิ (มะพร้าวขูดขาว 1 กิโลกรัม คั้นกับน้ำอุ่น 300 กรัม)

1 1/4 ถ้วย

น้ำตาลทรายขาว

1/2 ถ้วย+2 ช้อนโต๊ะ

เกลือสมุทร

1/2 ช้อนชา

น้ำอัญชัน (น้ำ1/3 ถ้วย +ดอกอัญชันแห้ง20ดอก+น้ำมะนาว ¼ ช้อนชา)

2 ช้อนโต๊ะ

อุปกรณ์จำเป็น ตะแกรงตาถี่ กระทะเคลือบ พายไม้ พิมพ์ใส่ขนมรูปใบไม้และดอกไม้ต่างๆ

METHOD

1. ล้างทำความสะอาดเผือกหอม ซับให้แห้ง ปอกเปลือก นำเผือกมาหั่นเป็นชิ้นพอคำได้เนื้อเผือกประมาณ 500 กรัม นำไปนึ่งบนลังถึงด้วยไฟแรง นาน 15 นาที จนเผือกสุกนุ่ม (ทดลองโดยใช้ไม้ปลายแหลมจิ้มเผือกนึ่งแล้วไม้หลุดออกโดยง่าย) ปิดไฟ นำเผือกออกจากลังถึง ใส่ในชาม แล้วบดเผือกนึ่งผ่านตะแกรงจนได้เนื้อเผือกบดละเอียด พักไว้

 

2. ตั้งกระทะเคลือบบนไฟอ่อนๆ ใส่หัวกะทิและเผือกที่เตรียมไว้ ใช้พายไม้ค่อยๆ กวนเข้าด้วยกัน จนเผือกเริ่มดูดน้ำกะทิ แล้วจึงค่อยใส่น้ำตาลทราย เกลือป่นและน้ำอัญชันลงไป กวนด้วยไฟอ่อนประมาณ 30 – 35 นาที จนเนื้อเผือกเนียนแห้งและร่อนออกจากกระทะเล็กน้อย ตักเผือกกวนใส่ชาม พักให้พออุ่น จะได้เผือกกวนหนัก 570 กรัม

 

3. นำเผือกกวนใส่พิมพ์ขนมรูปใบไม้หรือรูปดอกไม้ต่างๆ นำออกจากพิมพ์ จัดใส่จาน เสิร์ฟ

 

 

 

เคล็ดลับ

 

ใส่น้ำอัญชันเพื่อปรับสีของเผือกกวนให้ออกมาสีม่วงนิดๆ หากไม่ใส่เผือกกวนจะเป็นสีขาวซีด

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

 

5 สูตรขนมไทยทำเองได้ที่บ้าน

Share this content

Tags:

Home, made, ขนมหวาน, ขนมไทย, เผือก

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos