เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

ขนมบุหลันดั้นเมฆ

Recipe by สำนักพิมพ์แสงแดด

Serves

50 ถ้วย

Level

3

ขนมบุหลันดั้นเมฆ ขนมไทยโบราณที่หารับประทานยาก มีส่วนผสมของแป้ง กะทิ น้ำตาล เป็นหลัก ลักษณะที่ดี คือ ผิวหน้าขนมเป็นมันเงา สีอ่อน เนื้อนุ่ม รสหวานและตรงกลางขนมบุ๋มโค้งลึกเป็นวงกลม

INGREDIENTS

ไข่ไก่ (ฟองละ 65 กรัม)

2 ฟอง

น้ำตาลปี๊บ

1/4 ถ้วย

ใบเตยมัดเป็นปม

4-5 ใบ

หัวกะทิ

1/4 ถ้วย+1 ช้อนโต๊ะ

(มะพร้าวขูดขาว 250 กรัม คั้นกับน้ำอุ่น ¼ ถ้วย)

แป้งข้าวเจ้า

1/4 ถ้วย+2 ช้อนโต๊ะ

แป้งมัน

1 ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย

3/4 ถ้วย+2 ช้อนโต๊ะ

น้ำดอกอัญชัน

1 3/4 ถ้วย

อุปกรณ์เฉพาะ เทียนอบ ถ้วยตะไล ลังถึง

METHOD

1. ทำหน้าสังขยาโดยใส่ไข่ น้ำตาลปี๊บ และใบเตย ลงในชามผสม ขยำรวมกันให้น้ำตาลละลาย ใส่หัวกะทิ แล้วขยำให้เข้ากันอีกครั้งจนขึ้นฟูเป็นฟองเล็กน้อย กรองสังขยาผ่านกระชอนเอาเศษผงและใบเตยออก ใส่ถ้วย พักไว้

 

2. ทำตัวขนมโดยผสมแป้งข้าวเจ้าและแป้งมันในภาชนะที่มีฝาปิด จุดเทียนอบขนมให้ติดไฟ เอียงเปลวไฟให้ลนมาโดนตัวขี้ผึ้งของเทียน พัดให้ไฟดับ วางลงในถ้วยที่มีขนาดพอดีกับเทียน นำไปวางบนแป้ง ปิดฝาให้สนิท อบนานประมาณ 30 นาที จากนั้นใส่น้ำตาลทรายลงในอ่างแป้งที่อบควันเทียนคนพอเข้ากัน ค่อยๆใส่น้ำดอกอัญชันลงไปทีละน้อย โดยใส่น้ำดอกอัญชันช่วงแรก ¾ ถ้วย คนให้เข้ากัน แล้วค่อยๆใส่น้ำดอกอัญชันที่เหลือลงไปจนหมด คนให้เข้ากันดี

 

3. ใส่น้ำในหม้อลังถึงปริมาณ ¾ ของลังถึง ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนข้างแรงจนเดือด เตรียมไว้

 

4. เรียงถ้วยตะไลลงในชั้นลังถึงให้ห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ยกชั้นลังถึงขึ้นวางบนหม้อลังถึงที่เตรียมไว้ ใช้กระบวยขนาดเล็กคนแล้วตักส่วนผสมแป้งหยอดใส่ให้เต็มถ้วยตะไล ทำจนครบ ปิดฝาให้สนิท ใช้ไฟแรงจับเวลานึ่ง 10 นาที เปิดฝา ใช้ผ้าเช็ดฝาให้แห้ง เพื่อไม่ให้น้ำหยดใส่หน้าขนม ปิดฝาแล้วลดเป็นไฟกลาง นึ่งต่ออีก 10 นาที หยอดหน้าสังขยาที่เตรียมไว้ประมาณ ¼ ช้อนชา ลดเป็นไฟกลางค่อนข้างอ่อน ปิดฝานึ่งต่ออีกประมาณ 5-7 นาที หรือจนหน้าขนมสุก ยกชั้นลังถึงลง แล้วหยิบถ้วยขนมใส่ถาดที่ใส่น้ำเพื่อให้ขนมเย็นเร็วยิ่งขึ้นพักไว้ให้เย็น ใช้มีดหรือไม้ปลายแหลมจุ่มน้ำแซะขนมออกจากถ้วย

 

5. จัดเรียงใส่จาน เสิร์ฟ

Gallery

Share this content

Tags:

ขนมอบควันเทียน, ขนมไทย, น้ำตาลปี๊บ, หน้าสังขยา, หัวกะทิ

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos