เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
900 กรัม (สำหรับ 6 คน)
Level
3
ข้าวเหนียวมูนเป็นอาหารที่อยู่คู่คนไทยมาเนิ่นนาน ด้วยความนุ่มละมุนของข้าวบวกกับความหอมหวานเค็มมันของกะทิที่ผสมผสานกันจนกลายเป็นเสน่ห์มัดใจคนที่ได้ลิ้มลอง นิยมกินคู่กับผลไม้รสหวานอย่างมะม่วง ทุเรียนและขนุนหรือทำเป็นข้าวเหนียวหน้าต่างๆ เช่น หน้าสังขยา หน้ากระฉีก สำหรับมือใหม่ที่พึ่งหัดมูนข้าวเหนียวหรือคนที่เคยมูนข้าวเหนียวแล้วไม่สำเร็จอาจมองว่าการมูนข้าวเหนียวเป็นเรื่องยาก ซึ่งจริงๆขั้นตอนไม่ได้ซับซ้อน เพียงแต่ต้องรู้และเข้าใจการเลือกวัตถุดิบที่ถูกต้อง
INGREDIENTS
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู (เก่า)
400 กรัม
อุปกรณ์ สารส้ม ผ้าขาวบาง ลังถึง
หัวกะทิคั้นไม่ใส่น้ำ
300 กรัม
น้ำตาลทราย
130 กรัม
เกลือสมทุร
1 ช้อนชา
ใบเตย
3-4 ใบ
METHOD
1. ล้างข้าวเหนียว โดยใส่ข้าวเหนียวลงในอ่าง เปิดน้ำใส่ให้พอท่วม ใช้มือควักข้าวเหนียวขึ้นมาแล้วถูด้วยสารส้มเบาๆให้ทั่ว ทำประมาณ 2-3 นาทีจนทั่วทั้งหมด สารส้มจะช่วยให้เมล็ดข้าวเหนียวออกมาใส เห็นได้ว่าน้ำรอบแรกจะขุ่น จากนั้นซาวน้ำทิ้งประมาณ 4-5 รอบ จนน้ำที่ล้างข้าวเหนียวใส แช่ข้าวเหนียวทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมงหรือข้ามคืน (หากข้าวเก่ามากแนะนำให้แช่น้ำไว้ข้ามคืน) เมื่อครบเวลา สงข้าวเหนียวขึ้นจากน้ำ พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. ทำกะทิสำหรับมูนข้าวเหนียวโดยใส่หัวกะทิ น้ำตาลทราย เกลือและใบเตยลงในหม้อ ยกตั้งบนไฟอ่อนให้พอเดือดเล็กน้อยและน้ำตาลทรายละลายดี ปิดไฟ พักไว้ (ถ้าใช้กะทิสดให้ตั้งไฟเล็กน้อยเพื่อไม่ให้กะทิบูดง่าย ถ้าใช้กะทิกล่องไม่จำเป็นต้องตั้งไฟ ให้คนให้น้ำตาลและเกลือละลายเป็นพอ)
3. เตรียมนึ่งข้าวโดยใส่น้ำลงในหม้อลังถึงอย่างน้อย ½ ของหม้อ ปิดฝา ยกขึ้นตั้งบนไฟแรง ปูผ้าขาวบางในลังถึง ใส่ข้าวเหนียวลงไป ตลบผ้าปิดทั้งสี่มุม พอน้ำเดือดจัด นำลังถึงที่มีข้าวเหนียวขึ้นนึ่งด้วยไฟแรงประมาณ 30 นาทีจนสุกดี (โดยเมื่อครบ 15 นาทีแรกให้กลับด้านข้าวเหนียวโดยยกชายผ้าขาวบางขึ้นลงไปมาแล้วนึ่งต่ออีก 15 นาทีเพื่อให้เม็ดข้าวเหนียวสุกทั่วกัน)
4. เทข้าวเหนียวร้อนๆลงในอ่างผสม ตามด้วยกะทิที่เตรียมไว้ ราดให้ทั่ว ใช้ไม้พายคนส่วนผสมไปทางเดียวกันให้เข้ากัน ปิดฝาครอบ พักไว้นาน 20 นาที แล้วจึงพลิกตะลบข้าวเหนียวจากล่างขึ้นข้างบนพักไว้อีก 20 นาที จนข้าวเหนียวดูดกะทิจนแห้งหมด นำไปกินคู่กับมะม่วง ขนุน หรือสังขยาหน้าต่างๆ
หมายเหตุ
• มะพร้าวขูดขาว 1 กิโลกรัม เมื่อคั้นแบบไม่ใส่น้ำจะได้หัวกะทิสดประมาณ 600 กรัม
• ระยะเวลาการแช่ข้าวเหนียวขึ้นอยู่กับความเก่าของข้าว หากเก่ามากแนะนำให้แช่ไว้ข้ามคืน หากเป็นข้าวเหนียวกลาง-เก่าให้แช่ประมาณ 4-6 ชั่วโมง
Gallery
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos