เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

วุ้นกะทิใบเตย

Recipe by ธัญชนก ศรียานนท์

Serves

12 ชิ้น

Level

3

วุ้นกะทิใบเตย ขนมไทยหวานหอมจากใบเตยผสมผสานรสเค็มมันจากกะทิคั้นสดๆ ใช้ผงวุ้นที่สามารถหาซื้อได้ตามตลาดสด ทำเป็นวุ้นกะทิใบเตย ใส่พิมพ์ขนาดที่ต้องการหรือเเม้กระทั่งใส่ถ้วยไว้ จับมาแช่เย็นๆ ยิ่งอร่อย อิ่มพุงกางไม่รู้ตัว

INGREDIENTS

METHOD

1. ทำวุ้นใบเตยโดยใส่น้ำลงในหม้อ โปรยผงวุ้นลงบนผิวน้ำให้ทั่ว พักนานประมาณ 15 นาทีเพื่อให้ผงวุ้นดูดน้ำได้เต็มที่ ยกหม้อขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนข้างอ่อน คนให้วุ้นละลายและเดือดเป็นฟองเล็กๆทั่วหม้อ พอวุ้นละลายดี สังเกตจากพายไม้เมื่อยกขึ้นไม่มีผงวุ้นติดเป็นเม็ดๆ ใส่น้ำตาล และน้ำใบเตย แล้วเคี่ยวต่ออีกนานประมาณ 3-5 นาที หรือจนกระทั่งน้ำตาลละลายและเดือด ปิดไฟ พักให้พออุ่น แล้วเทใส่พิมพ์ ปิดด้วยพลาสติกแร็ป นำเข้าตู้เย็น 10 นาทีเพื่อให้วุ้นเซทตัว

 

2. ทำวุ้นกะทิโดยใส่น้ำลงในหม้อ โปรยผงวุ้นลงบนผิวน้ำมะพร้าว พักนานประมาณ 15 นาทีเพื่อให้ผงวุ้นดูดน้ำได้เต็มที่ ยกหม้อขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนข้างอ่อน พอเดือดและวุ้นละลาย สังเกตจากพายไม้เมื่อยกขึ้นไม่มีผงวุ้นติดเป็นเม็ดๆ ใส่น้ำตาล หัวกะทิ เกลือและใบเตยมัดปม คนพอทั่ว ลดไฟอ่อน รอให้เดือดอีกครั้ง ตักใบเตยออก พักไว้ให้พออุ่นๆ

 

3. ประกอบวุ้นโดย นำวุ้นใบเตยมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาด 1 ซ.ม วางใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้ให้ทั่ว เทวุ้นกะทิ ที่พักให้อุ่นตัวแล้วลงในพิมพ์ในเกือบเต็มพิมพ์ (ถ้าวุ้นกะทิยังร้อนอยู่ อาจทำให้วุ้นใบเตยละลายทันที) นำเข้าตู้เย็นนาน 10 นาที รอให้วุ้นแข็งตัวแล้วนำออกจากพิมพ์

 

4. จัดเสิร์ฟโดย ตัดวุ้นกะทิใบเตยเป็นชิ้นตามชอบ จัดใส่จาน เสิร์ฟ

 

 

 

อ่านบทความเพ่ิมเติม

 

5 สูตรขนมไทยทำเองได้ที่บ้าน

Share this content

Tags:

Homemade, กะทิ, ขนมวุ้น, ขนมหวาน, ขนมไทย, วุ้นใบเตย, ใบเตย

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos