เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
7 ถ้วย
Level
3
ของหวานเนื้อนุ่มเด้งเอาใจสายหวานเเต่ยังรักสุขภาพกับเมนู ฟรุตสลัดน้ำลูกเดือย ตัววุ้นทำจากน้ำลูกเดือย ผสมลูกเดือยต้มเเละถั่วแดงญี่ปุ่น ตัวเนื้อเต้าฮวยทำจากน้ำลูกเดือยเเละน้ำเต้าหู้ กินคู่กับผลไม้สด ทำง่าย อร่อยเพลินเย็นชื่นใจ
INGREDIENTS
น้ำลูกเดือย
4 ถ้วย
ผงวุ้น
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย (100 กรัม)
½ ถ้วย
ลูกเดือยต้มสุก
½ ถ้วย
ถั่วแดงญี่ปุ่นต้มสุก
½ ถ้วย
น้ำลูกเดือย
3¼ ถ้วย
น้ำเต้าหู้ไม่ใส่น้ำตาล
3¼ ถ้วย
น้ำตาลทราย (150 กรัม)
¾ ถ้วย
ใบเตยมัดปม
3 ใบ
เกลือสมุทร (ดอกเกลือ) ปริมาณเล็กน้อย
แก้วมังกรหั่นชิ้น
1 ถ้วย
แคนตาลูปหั่นชิ้นหรือตักลูกกลม
1 ถ้วย
กีวีหั่นชิ้น
1 ถ้วย
เนื้อว่านหางจระเข้หั่นชิ้นใหญ่ (ดูวิธีการเตรียมเนื้อว่านหางจระเข้หน้า 22)
2 ถ้วย
ถั่วแดงหลวงต้ม
½ ถ้วย
น้ำมะนาว
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำผึ้ง
2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ
2 ช้อนโต๊ะ
เกลือสมุทร (ดอกเกลือ) ปริมาณเล็กน้อย
ใบสะระแหน่สำหรับตกแต่ง
ลูกเดือยแห้ง
350 กรัม
น้ำ
6 ถ้วย
ใบเตยหอมใบใหญ่มัดปม
2 ใบ
METHOD
1. ทำน้ำลูกเดือยโดยล้างลูกเดือยด้วยน้ำเกลือเจือจางแล้วล้างด้วยน้ำจนสะอาด จากนั้นแช่ลูกเดือยในอ่างให้น้ำท่วมพร้อมกับใส่ถ่านหุงต้ม 1 ก้อนเล็กลงไป ถ่านจะช่วยดูดกลิ่นและลดสารจากการเพาะปลูก แช่นาน 1 คืน รุ่งเช้าเอาก้อนถ่านออกและเทน้ำทิ้งแล้วล้างน้ำจนสะอาด นำลูกเดือยที่แช่ใส่ลงในโถปั่นใส่น้ำ 4 ถ้วย ปั่นเข้าด้วยกันจนละเอียด จึงใส่น้ำที่เหลือปั่นต่อจนละเอียดเข้ากันดีกรองด้วยกระชอนเอาแต่น้ำ ใส่น้ำลูกเดือยลงในหม้อยกขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนข้างอ่อน ใส่ใบเตยระหว่างต้มหมั่นคนไม่ให้ติดก้นหม้อ ต้มพอเดือด ปิดไฟ พักไว้ให้เย็น
2. ทำวุ้นโดยใส่น้ำลูกเดือยกับผงวุ้นลงในกระทะทอง คนให้ผงวุ้นกระจายเข้ากันทั่ว พักนานประมาณ 15 นาที เพื่อให้ผงวุ้นดูดน้ำได้เต็มที่ จะทำให้ไม่ต้องเคี่ยวนาน จึงยกขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนข้างอ่อน ใช้พายไม้คนให้วุ้นละลายและเดือดเป็นฟองเล็กๆทั่วกระทะ พอวุ้นละลายดี (สังเกตจากพายไม้เมื่อยกขึ้นไม่มีวุ้นติดเป็นเม็ดๆ) ใส่น้ำตาลเคี่ยวต่ออีก 5 นาที หรือจนน้ำตาลละลายและเดือด ยกลง ตักวุ้นใส่ถ้วยที่มีลูกเดือยและถั่วแดงญี่ปุ่น อย่างละ 1½ ช้อนโต๊ะ ทำจนหมด นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาพออยู่ตัว พักไว้
3. ทำน้ำนมลูกเดือยโดยใส่น้ำลูกเดือย น้ำเต้าหู้ น้ำตาล และเกลือ ลงในหม้อ ใส่ใบเตยยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง ต้มพอเดือดและมีกลิ่นหอมของใบเตย ปิดไฟ พักให้เย็น
4. ทำฟรุตสลัดโดยเคล้าแก้วมังกร แคนตาลูป กีวี ว่านหางจระเข้ และถั่วแดง เข้าด้วยกัน ใส่น้ำมะนาวที่ผสมน้ำผึ้ง น้ำ และเกลือ เคล้าพอทั่ว พักไว้
5. ตักน้ำนมลูกเดือยใส่ถ้วยวุ้นปริมาณเล็กน้อย ใส่ฟรุตสลัด ตกแต่งด้วยใบสะระแหน่ เสิร์ฟเย็นๆ
Gallery
Tags:
กีวี, ขนมไทย, ต้ม, ต้านโรค, ถั่วแดง, ผงวุ้น, ลูกเดือย, ว่านหางจระเข้, เเช่เย็น, แก้วมังกร, แคนตาลูป
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos