เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
35 ลูก
Level
3
ขนม 2 ชนิดนี้มีสูตรแป้งที่คล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันที่อัตราส่วนเล็กน้อยเท่านั้น เราเลยปรับสูตรแป้งให้เหมือนกันไปเลย เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการทำ สำหรับคนที่อยากทำขาย อยากใช้แป้งเดียวกัน แต่อยากเปลี่ยนเพียงไส้ด้านในก็สามารถทำสูตรนี้ได้เลย
INGREDIENTS
น้ำตาลทรายขาว
50 กรัม
น้ำ
25 กรัม
เกลือป่น
1/4 ช้อนชา
งาขาวสำหรับคลุก
ใบเตยหั่นท่อนและน้ำมันพืชสำหรับทอด
แป้งข้าวเหนียว
360 กรัม
แป้งข้าวเจ้า
40 กรัม
ผงฟู
2 ช้อนชา
น้ำร้อน
240 กรัม
น้ำตาลทรายขาว
80 กรัม
เกลือป่น
1 ช้อนชา
น้ำมันพืช
50 กรัม
รากผักชี
3 ราก
กระเทียมกลีบเล็กปอกเปลือก
20 กลีบ
พริกไทยขาวเม็ด
1 ช้อนชา
น้ำมันพืช
1 ช้อนโต๊ะ
ถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุกบดละเอียด
200 กรัม
น้ำตาลทรายขาว
30 กรัม
เกลือป่น
3/4 ช้อนชา
น้ำ
1/2 ถ้วย
หัวกะทิ
100 กรัม
ถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุกบดละเอียด
200 กรัม
น้ำตาลทรายขาว
50 กรัม
เกลือป่น
1/4 ช้อนชา
METHOD
- ทำแป้งขนมโดยผสมแป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้าและผงฟูให้เข้ากัน ผสมน้ำร้อน น้ำตาลทรายและเกลือคนให้น้ำตาลละลาย ใส่ลงในส่วนผสมของแป้ง ตามด้วยน้ำมัน คนเข้าให้เข้ากันพอเข้ากัน จากนั้นใช้มือนวดต่อจนเนียนดี คลุมด้วยพลาสติกแร็ป พักแป้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30 นาที
- ทำไส้เค็มโดยโขลกรากผักชี กระเทียม และพริกไทยให้ละเอียดดี จากนั้นตั้งกระทะน้ำมันพอร้อนใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงผัดพอหอมใส่ถั่วเขียวเลาะเปลือก น้ำตาลทรายและเกลือ ผัดทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมน้ำลงไป ให้มีลักษณะจับตัวกันเป็นก้อน ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น ปั้นเป็นก้อนกลม ก้อนละ 15 กรัม ทำจนหมดพักไว้
- ทำไส้หวานโดยตั้งกระทะกะทิบนไฟอ่อน ใส่ถั่วเขียวเลาะเปลือก คนจนกะทิงวด จากนั้นใส่น้ำตาลและเกลือ กวนจนเนื้อถั่วเนียนดีและสามารถปั้นเป็นก้อนได้ ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น ปั้นเป็นก้อนกลม ก้อนละ 15 กรัม ทำจนหมดพักไว้
- นำแป้งที่พักไว้มาแบ่งครึ่ง ครึ่งนึงมาปั้นเป็นก้อนกลม ก้อนละ 20 กรัม กดให้เป็นแผ่นกลมๆ ใส่ไส้เค็มลงตรงกลาง หุ้มแป้งขึ้นมาปิดให้มิดไส้ ทำจนไส้หมด นำแป้งอีกครึ่งนึงที่เหลือมาห่อไส้หวาน ทำแบบเดียวกันกับไส้เค็ม แล้วคลุกงาขาวให้ทั่วรอบนอก
- ตั้งกระทะน้ำมันพืชบนไฟกลางค่อนอ่อน ใส่ใบเตย พอน้ำมันเริ่มร้อนนำขนมลงทอด (ทอดทีละไส้) รอให้ผิวขนมเริ่มสุกเล็กน้อยใช้กระชอน ค่อยๆเขี่ยให้ขนมไม่ติดกัน ระหว่างทอดให้ใช้กระชอนคนอยู่ตลอด เพื่อให้ขนมสีสวยทั่วกันดี จนสีเหลืองสวยและแป้งพองขึ้น ตักขึ้นพักบนตะแกรง
- นำขนมไข่หงส์(ไส้เค็ม)ที่ทอดเสร็จแล้ว มาเคลือบน้ำตาลโดยให้โดยใส่น้ำตาลทราย น้ำ และเกลือลงในกระทะ คนให้น้ำตาลละลายและข้นเหนียว ใส่ขนมไข่หงส์ที่พักไว้ลงไป คนให้น้ำเชื่อมเคลือบดี ปิดไฟ ใช้ตะหลิวคนจนน้ำตาลขึ้นเป็นเกล็ดเคลือบขนมทั่วดี
- นำขนมไข่หงส์และขนมอีตุยจัดลงใส่จาน เสิร์ฟ
วิธีเตรียมถั่วเขียวเลาะเปลือก
- ล้างทำความสะอาดและแช่ถั่วเขียวเลาะเปลือก อย่างน้อย 3 ชั่วโมง
- สะเด็ดน้ำบนตะแกรง ตังหม้อลังถึงรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่ถั่วเขียวเลาะเปลือกลงไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หรือจนกว่าถั่วจะสุก
- นำถั่วเขียวเลาะเปลือกที่นึ่งสุกแล้ว ไปปั่นในเครื่องปั่น ให้ละเอียด
Gallery
Tags:
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos