เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

Serves
4 คน
Level
2
ขนมต้มแดง ขนมพื้นบ้านที่คนไทยกินกันมาต่อเนื่องหลายร้อยปี และเป็นขนมหลักในงานพิธีต่างๆ ขนมต้มแดง ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำปั้นเป็นก่อน นำไปลวกในน้ำเดือดพอแป้งสุกตักไปผัดกับไส้กระฉีกฉ่ำๆ ที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าวตั้งไฟเคี่ยวให้เป็นสีน้ำตาลเข้ม ผัดกับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้น จนน้ำตาลมะพร้าวซึมเข้ากับมะพร้าวขูดรวมเป็นเนื้อเดียวกัน รสชาติ หวานฉ่ำ ได้รสสัมผัสนุ่มๆจากแป้งข้าวเหนียว
INGREDIENTS
น้ำตาลมะพร้าว
225 กรัม
น้ำ
4 1/2 ช้อนโต๊ะ
เกลือสมุทร
1/2 ช้อนชา
มะพร้าวขูดทึนทึกขูดเส้น
2 1/4 ถ้วย
แป้งข้าวเหนียว
100 กรัม
น้ำ
7 ช้อนโต๊ะ
ใบเตยมัดเป็นปม
1 มัด
แป้งข้าวเหนียวสำหรับเป็นแป้งนวล
METHOD
1. ทำกระฉีกโดยใส่น้ำตาลมะพร้าว น้ำและเกลือสมุทรลงในกระทะเคลือบ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนน้ำตาลละลายและสีเข้มขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นน้ำตาลไหม้ ใส่มะพร้าวทึนทึก ผัดให้น้ำตาลซึมเข้าเนื้อมะพร้าวจนมีลักษณะใส แต่ยังพอมีน้ำขลุกขลิก ปิดไฟ พักไว้ก่อน
2. ทำขนมต้มโดยใส่แป้งลงในชามผสม ค่อยๆใส่น้ำลงในแป้งข้าวเหนียวทีละน้อย สลับกับใช้มือนวดให้แป้งเนียนเข้ากัน (ถ้าแป้งแห้งไป ให้เติมน้ำได้เล็กน้อย ถ้าแป้งเเฉะไปให้เติมแป้งข้าวเหนียวได้เช่นกัน) ปั้นแป้งเป็นก้อนกลมขนาด 2 ซม. แล้วใช้นิ้วกดให้ตรงกลางให้แป้งแผ่ออกและมีรอยบุ๋มคล้ายเหรียญ หรือลูกชิ้นปลา วางพักไว้ในถาดที่โรยแป้งนวล ปั้นต่อจนแป้งหมด
3. ตั้งหม้อน้ำบนไฟกลางจนเดือด ใส่ใบเตยมัดปม นำแป้งที่ปั้นไว้ลงต้ม รอจนแป้งสุกและลอยขึ้น ใช้กระชอนตักขนมต้มใส่ในกระทะที่ผัดกระฉีกไว้
4. นำกระทะที่มีกระฉีกและขนมต้มยกขึ้นตั้งบนไฟกลางอีกครั้ง ผัดเคล้าให้น้ำตาลเคลือบตัวขนมต้มจนถั่ว ตักใส่จาน เสิร์ฟ
อ่านบทความเพิ่มเติม
Recommended Articles

ขนมหวานหน้าร้อนต้องยกให้ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวสุกนุ่มมูนกับกะทิสดหอมๆ หวานเค็มมันกำลังดี กินกับมะม่วงสุกที่หาได้ในฤดูร้อน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ อกร่อง เขียวเสวย ฯลฯ เลือกใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูสายพันธุ์เชียงราย เมล็ดข้าวเรียวยาว เคล็ดลับคือ การเตรียมข้าวเหนียวให้ถูกต้องก่อน ข้อแรกคือเราต้องรู้ว่าข้าวเหนียวที่ใช้เก่าหรือใหม่เพื่อที่จะแช่ข้าวเหนียวให้พอดี ข้อสองคือการล้างเอายางข้าวออกเพื่อให้มูนแล้วเมล็ดข้าววาวใส ส่วนกะทิที่มูนถ้าจะให้ดี ควรใช้กะทิสดจะหอมมันกว่ากะทิกล่องเป็นไหนๆ วิธีเลือกกะทิสดให้สั่งมะพร้าวขูดขาว (ขูดไม่ติดกะลามะพร้าว) และให้แม่ค้าคั้นแบบไม่ใส่น้ำ จะได้หัวกะทิข้นๆ เมื่อได้มาแล้ว หากยังไม่ทำทันทีให้นำหัวกะทิที่ซื้อมาตั้งไฟอ่อนพอให้กะทิร้อนประมาณ 80องศาเซลเซียสเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน มิเช่นนั้นกะทิจะบูดเสียก่อน

ขนมต้มแดง เป็นขนมโบราณดังเดิม เป็นการนวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำให้เข้ากันจนปั้นเป็นก้อนได้ จากนั้นนำไปต้มให้แป้งสุก ส่วนตัวหน้ากระฉีกนั้นเป็นการเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าว น้ำ และเกลือ ให้ส่วนผสมทุกอย่างละลายและเดือดเข้ากันดี จึงค่อยใส่มะพร้าวขูด เคี่ยวต่อจนส่วนผสมงวด ก่อนจะเอามาราดหรือจะนำเอาแป้งที่ต้มสุ่กแล้วลงเคล้าให้เคลือบตัวแป้งจนทั่วก็ได้เช่นกัน

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม

ขนมหวานหน้าร้อนต้องยกให้ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวสุกนุ่มมูนกับกะทิสดหอมๆ หวานเค็มมันกำลังดี กินกับมะม่วงสุกที่หาได้ในฤดูร้อน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ อกร่อง เขียวเสวย ฯลฯ เลือกใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูสายพันธุ์เชียงราย เมล็ดข้าวเรียวยาว เคล็ดลับคือ การเตรียมข้าวเหนียวให้ถูกต้องก่อน ข้อแรกคือเราต้องรู้ว่าข้าวเหนียวที่ใช้เก่าหรือใหม่เพื่อที่จะแช่ข้าวเหนียวให้พอดี ข้อสองคือการล้างเอายางข้าวออกเพื่อให้มูนแล้วเมล็ดข้าววาวใส ส่วนกะทิที่มูนถ้าจะให้ดี ควรใช้กะทิสดจะหอมมันกว่ากะทิกล่องเป็นไหนๆ วิธีเลือกกะทิสดให้สั่งมะพร้าวขูดขาว (ขูดไม่ติดกะลามะพร้าว) และให้แม่ค้าคั้นแบบไม่ใส่น้ำ จะได้หัวกะทิข้นๆ เมื่อได้มาแล้ว หากยังไม่ทำทันทีให้นำหัวกะทิที่ซื้อมาตั้งไฟอ่อนพอให้กะทิร้อนประมาณ 80องศาเซลเซียสเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน มิเช่นนั้นกะทิจะบูดเสียก่อน

ขนมต้มแดง เป็นขนมโบราณดังเดิม เป็นการนวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำให้เข้ากันจนปั้นเป็นก้อนได้ จากนั้นนำไปต้มให้แป้งสุก ส่วนตัวหน้ากระฉีกนั้นเป็นการเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าว น้ำ และเกลือ ให้ส่วนผสมทุกอย่างละลายและเดือดเข้ากันดี จึงค่อยใส่มะพร้าวขูด เคี่ยวต่อจนส่วนผสมงวด ก่อนจะเอามาราดหรือจะนำเอาแป้งที่ต้มสุ่กแล้วลงเคล้าให้เคลือบตัวแป้งจนทั่วก็ได้เช่นกัน

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม

ขนมหวานหน้าร้อนต้องยกให้ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวสุกนุ่มมูนกับกะทิสดหอมๆ หวานเค็มมันกำลังดี กินกับมะม่วงสุกที่หาได้ในฤดูร้อน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ อกร่อง เขียวเสวย ฯลฯ เลือกใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงูสายพันธุ์เชียงราย เมล็ดข้าวเรียวยาว เคล็ดลับคือ การเตรียมข้าวเหนียวให้ถูกต้องก่อน ข้อแรกคือเราต้องรู้ว่าข้าวเหนียวที่ใช้เก่าหรือใหม่เพื่อที่จะแช่ข้าวเหนียวให้พอดี ข้อสองคือการล้างเอายางข้าวออกเพื่อให้มูนแล้วเมล็ดข้าววาวใส ส่วนกะทิที่มูนถ้าจะให้ดี ควรใช้กะทิสดจะหอมมันกว่ากะทิกล่องเป็นไหนๆ วิธีเลือกกะทิสดให้สั่งมะพร้าวขูดขาว (ขูดไม่ติดกะลามะพร้าว) และให้แม่ค้าคั้นแบบไม่ใส่น้ำ จะได้หัวกะทิข้นๆ เมื่อได้มาแล้ว หากยังไม่ทำทันทีให้นำหัวกะทิที่ซื้อมาตั้งไฟอ่อนพอให้กะทิร้อนประมาณ 80องศาเซลเซียสเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน มิเช่นนั้นกะทิจะบูดเสียก่อน

ขนมต้มแดง เป็นขนมโบราณดังเดิม เป็นการนวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำให้เข้ากันจนปั้นเป็นก้อนได้ จากนั้นนำไปต้มให้แป้งสุก ส่วนตัวหน้ากระฉีกนั้นเป็นการเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าว น้ำ และเกลือ ให้ส่วนผสมทุกอย่างละลายและเดือดเข้ากันดี จึงค่อยใส่มะพร้าวขูด เคี่ยวต่อจนส่วนผสมงวด ก่อนจะเอามาราดหรือจะนำเอาแป้งที่ต้มสุ่กแล้วลงเคล้าให้เคลือบตัวแป้งจนทั่วก็ได้เช่นกัน

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos