เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
6 คน
Level
2
หนึ่งในขนมไทยที่เก่าแก่ที่สุดก็เป็นได้ เพราะเป็นอาหารสมัยพุทธกาล มีระบุไว้ในพระวินัยปิฏกถึงประโยชน์ 5 ประการของข้าวยาคู ได้แก่ ช่วยบรรเทาความหิว ความกระหาย ทำให้ลมเดินสะดวก ช่วยชำระล้างลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร สมัยก่อนข้าวยาคูทำโดยนำรวงข้าวอ่อนที่ยังเป็นน้ำนมอยู่ มาตำให้เมล็ดแหลก นำไปคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำนมข้าวสีเขียว นำมากวนกับน้ำตาลให้พอข้น กินหยอดหน้ากับกะทิหรือมะพร้าวอ่อนก็ได้ ดังนั้นหากจะรับประทานข้าวยาคูนอกฤดูที่รวงข้าวตั้งท้อง จึงมีการใช้ใบต้นข้าวอ่อนหรือแม้กระทั่งใบเตยมาทดแทนกลิ่นและสีเขียวของเมล็ดข้าวอ่อนได้ เพิ่มความใกล้เคียงโดยการใช้ข้าวหอมมะลิมาแช่น้ำแล้วโม่หรือปั่นเป็นแป้งข้าวเจ้าสดเองก็ช่วยรักษารสชาติและแบบฉบับการทำข้าวยาคูแบบดั้งเดิมไว้ได้เช่นเดียวกัน สูตรนี้ใช้ใบข้าวอ่อน ที่หาซื้อจากศูนย์การเรียนรู้ภูกะเหรี่ยง จังหวัดนครนายก หากใครจะใช้ใบเตยแทนก็ได้เช่นกัน
INGREDIENTS
ข้าวหอมมะลิ
1 ถ้วย
ใบข้าวอ่อนซอยเป็นท่อน
1 1/2 ถ้วย (ถ้าไม่มีใช้ใบเตย 6 ใบ)
น้ำหรือน้ำลอยดอกมะลิ
3 ถ้วย
แป้งเท้ายายม่อม
1/4 ถ้วย + 1 ช้อนโต๊ะ (50 กรัม)
น้ำปูนใส
1 ถ้วย
น้ำตาลมะพร้าว
1/2 ถ้วย (100 กรัม)
เนื้อมะพร้าวอ่อน และข้าวเม่ารางสำหรับจัดเสิร์ฟ
มะพร้าวขูดขาว
500 กรัม
น้ำอุ่น
1 1/2 ถ้วย
เกลือสมุทร
1 ช้อนชา
แป้งมัน
1 1/2 ช้อนชา
แป้งเท้ายายม่อม
1 1/2 ช้อนชา
อุปกรณ์ เครื่องปั่นน้ำ กระชอน ผ้าขาวบาง กระทะทองเหลือง ไม้พาย
METHOD
- ซาวข้าวหอมมะลิให้สะอาด แช่ข้าวทิ้งไว้ข้ามคืน รุ่งขึ้นกรองเอาแต่ข้าวหอมมะลิ เตรียมไว้
- ใส่ข้าวหอมมะลิลงในโถปั่น ตามด้วยใบข้าวอ่อน (หรือใบเตย) ใส่น้ำ 1 ถ้วย นำไปปั่นประมาณ 3-5 นาทีจนเนียนละเอียด พักไว้
- ใส่น้ำที่เหลือ 2 ถ้วยรอไว้ในอ่างผสม วางกระชอนที่ซ้อนด้วยผ้าขาวบางบนปากอ่าง เทส่วนผสมที่ปั่นลงในกระชอน ตักแป้งท้าวยายม่อมใส่ลงไป รวบชายผ้าขาวบางเข้าหากัน ยกห่อผ้าออกจากกระชอน นำห่อผ้าที่มีข้าวและแป้งเท้ายายม่อมลงไปนวดในอ่างที่มีน้ำ นวด เค้นให้น้ำใบข้าวและแป้งละลายผ่านผ้าออกมาให้มากที่สุด เมื่อเกือบหมดแป้งในห่อผ้าแล้ว ยกห่อผ้าออก
- เทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง ใส่น้ำปูนใส คนให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนอ่อน ค่อยๆกวนจนส่วนผสมเริ่มร้อนและข้น จึงบิน้ำตาลมะพร้าวใส่ทีละน้อย กวนจนน้ำตาลละลายหมดและข้าวกระยาคูข้นได้ที่ โดยสังเกตจากเวลากวน ลากไม้พายวนที่ก้นกระทะ จะมองเห็นก้นกระทะ แปลว่าข้นได้ที่แล้ว ปิดไฟ
- ทำกะทิหยอดหน้าโดยคั้นมะพร้าวกับน้ำอุ่น จะได้หัวกะทิ 2 1/3 ถ้วย นำหัวกะทิ 2 ถ้วยใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง ใส่เกลือ ระหว่างนั้นละลายแป้งมัน แป้งเท้ายายม่อมกับหัวกะทิ 1/3 ถ้วยที่เหลือ คนให้เข้ากัน พอหัวกะทิในหม้อร้อน ใส่หัวกะทิละลายกับแป้งลงไป คนจนกะทิเดือดและข้นพอประมาณ ปิดไฟ
- จัดเสิร์ฟโดยตักข้าวยาคูใส่ถ้วย วางเนื้อมะพร้าวอ่อน ข้าวเม่าราง เสิร์ฟกับกะทิ
หมายเหตุ
- ต้นข้าวอ่อนหรือน้ำต้นข้าวอ่อนหาซื้อได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ ภูกะเหรี่ยง https://pkrfarm.business.site/
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
Gallery
Tags:
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos