เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
4 คน
Level
3
แกงเลียงฟักทอง อาหารสุขภาพ เป็นแกงโบราณ ที่มีรสเค็มและเผ็ดร้อนจากพริกไทย มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์จากใบแมงลัก เป็นแกงที่เน้นการใส่ผักมากกว่าเนื้อสัตว์ จึงเหมาะมากสำหรับวัยผู้สูงอายุ เพราะแกงเลียงสามารถเลือกใส่ผักที่ย่อยง่ายได้ตามใจชอบ
INGREDIENTS
ฟักทองอ่อน (250 กรัม)
1 ลูก
น้ำ
3 ถ้วย
น้ำพริกแกงที่โขลก
1/2 ถ้วย
บวบเหลี่ยม (170 กรัม) ปอกเปลือกหั่นแฉลบ
1 ลูก
เห็ดฟางดอกบานผ่าครึ่ง
100 กรัม
ดอกฟักทอง
1 ถ้วย
ยอดฟักทองเด็ด
1 ถ้วย
เกลือสมุทร
1/2 ช้อนชา
น้ำปลา
1 ช้อนโต๊ะ
แมงลักเด็ดใบ
1/4 ถ้วย
พริกไทยขาวเม็ด
1 ช้อนชา
พริกขี้หนูสีแดง
2 เม็ด
หอมแดงหั่น
9 หัว
ข่าอ่อนหั่น
1 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้งป่น
1/4 ถ้วย
กะปิ
1 ช้อนโต๊ะ
METHOD
1. ทำน้ำพริกแกงเลียงโดยโขลกเครื่องแกงทั้งหมดเข้าด้วยกันให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย พักไว้
2. ล้างฟักทองอ่อน ตัดขั้วผ่าครึ่งหั่นแฉลบชิ้นหนา ใส่ลงแช่ในอ่างน้ำเกลือเจือจางเพื่อล้างเอายางออก เตรียมไว้
3. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลางจนเดือด ใส่น้ำพริกแกงเลียงที่โขลก คนให้ทั่ว ต้มสักครู่ ใส่ฟักทอง ต้มจนฟักทองสุก ใส่บวบ เห็ดฟาง ต้มพอสุก ใส่ดอกและยอดฟักทอง ปรุงรสด้วยเกลือและน้ำปลา ชิมรสให้เค็มกลมกล่อม หวานจากผัก ใส่ใบแมงลัก ปิดไฟ
4. ตักใส่ถ้วยหรือหม้อดินตั้งบนเตาถ่าน เสิร์ฟร้อนๆ
Recommended Articles
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
Recommended Videos