เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

กระท้อนลอยแก้ว

Recipe by ทีมบรรณาธิการ

Serves

4 ชิ้น

Level

3

INGREDIENTS

น้ำ

10 ถ้วย

เกลือสมุทร

¾ ถ้วย

กระท้อนห่อ (ผลละ 500 กรัม)

2 ผล

น้ำลอยดอกมะลิ

5 ถ้วย

น้ำตาลทราย

5 ถ้วย

METHOD

1. เตรียมน้ำเกลือโดยใส่น้ำกับเกลือลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง คนให้เกลือละลายและเดือด ต้มต่ออีกนานประมาณ5 นาที ปิดไฟ ยกลง กรองด้วยผ้าขาวบางใส่ชามแก้ว พักไว้ให้เย็น

 

2. เตรียมกระท้อนโดยใช้มีดปอกเปลือกกระท้อนออกประมาณ 2-3 มม. หรือจนเกือบถึงส่วนที่เป็นปุย ระหว่างที่ปอกเปลือกให้หมั่นจุ่มกระท้อนในน้ำเกลือที่เตรียมไว้ จะช่วยไม่ให้ยางกระท้อนจับเป็นสีน้ำตาลแดง ปอกเปลือกจนหมดแล้วให้ใช้มีดปาดทางส่วนขั้วและก้นผลกระท้อนออก จากนั้นผ่าครึ่งตามขวาง แช่ลงในน้ำเกลือนานประมาณ 5 นาทีนำกระท้อนชิ้นที่จะคว้านเม็ดขึ้นจากน้ำเกลือ ใช้มีดคว้านคมๆคว้านเม็ดออก โดยใช้มีดคว้านเซาะรอบเม็ดให้ติดเม็ดมากที่สุดเพื่อไม่ให้ปุยขาวหลุดออกมาด้วย เมื่อเซาะรอบแล้วดันเม็ดลงด้านล่างหรือจะใช้มีดจิ้มลงในเม็ดแล้วดึงเม็ดออก แล้วเจาะให้ทะลุถึงด้านล่างให้มีลักษณะเป็นรูปคล้ายกระสวยก็ได้ จากนั้นใช้มีดฝานเนื้อกระท้อนด้านนอกออกให้เป็นหยักเหมือนกลีบดอกไม้ แล้วแช่กระท้อนกลับลงในน้ำเกลือเช่นเดิม (ส่วนเนื้อที่ฝานออกสามารถเก็บไว้กินกับเกลือหรือกะปิก็ได้) ทำเช่นนี้จนครบทุกชิ้น แช่ในน้ำเกลือที่เตรียมไว้นานประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือจนกว่ากระท้อนจะหายฝาด ระหว่างที่แช่จะใช้ไม้ขัดไว้เพื่อให้กระท้อนจมน้ำเกลือตลอดก็ได้

 

3. ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำลอยดอกมะลิกับน้ำตาล ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง คนพอละลายและเดือด เคี่ยวต่ออีกนานประมาณ5 นาที ปิดไฟ พักให้เย็น

 

4. ทำกระท้อนลอยแก้วโดยนำกระท้อนที่แช่น้ำเกลือขึ้นใส่กระชอนพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ หรือใช้มือบีบเบาๆให้น้ำเกลือหมาดๆแล้วใส่ลงในหม้อน้ำเชื่อม ใช้ไม้ขัดกระท้อนไว้เพื่อให้กระท้อนจมในน้ำเชื่อมตลอด แช่ไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือจะแช่ทิ้งไว้ข้ามคืนก็ได้ กระท้อนที่แช่น้ำเชื่อมไว้นี้สามารถเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้หลายวัน เมื่อจะเสิร์ฟตักใส่แก้ว โรยด้วยน้ำแข็งทุบตามชอบ

 

 

 

ลักษณะที่ดี

 

     

  • กระท้อนลอยแก้วที่ดีเนื้อในเป็นปุยขาว เนื้อด้านนอกมีสีขาวอมชมพู
  •  

  • น้ำเชื่อมข้นใส หอมกลิ่นดอกมะลิ รสหวาน เปรี้ยวเค็มเล็กน้อย
  •  

 

ข้อน่ารู้

 

     

  • อุปกรณ์ที่ใช้ทำกระท้อนลอยแก้วต้องมีลักษณะที่ทนต่อความเค็มและความเป็นกรด เช่น หม้อเคลือบหม้อสเตนเลส หรือชามแก้ว
  •  

  • การทำผลไม้ลอยแก้วจะใช้ผลไม้หลายๆชนิด เช่นส้ม เงาะ สับปะรด ลูกตาล ใส่รวมกันเพื่อเพิ่มสีสันให้ดูน่ากินขึ้นก็ได้
  •  

  • ควรแช่กระท้อนในน้ำเชื่อมทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืนเพื่อให้กระท้อนดูดน้ำเชื่อมได้เต็มที่
  •  

  • ถ้าไม่ชอบน้ำเชื่อมข้นให้เพิ่มน้ำลอยดอกมะลิอีก1-2 ถ้วย เพื่อให้ได้น้ำเชื่อมที่เจือจางและรับประทานได้โดยไม่ต้องใส่น้ำแข็ง
  •  

 

 

 

สูตรอาหารโดย อบเฉย อิ่มสบาย

Share this content

Tags:

กระท้อน, ขนมหวาน, ขนมไทย, น้ำตาลทราย, น้ำเชื่อม, ลอยแก้ว

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos