เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

เอาใจคนรักชาเขียวกันเต็มๆ ด้วยความเข้มข้นของชาเขียว ตัดกับรสเปรี้ยวอมหวานของไวท์ช็อกโกแลตและครีมชีส จึงทำให้ทาร์ตชาเขียวมีความหอมนวลและแป้งทาร์ตที่มีความกรอบร่วน จึงเข้ากันได้ดีกับตัวไส้ด้านบน
INGREDIENTS
ผงชาเขียวสำหรับโรย
ดอกมะลิสำหรับตกแต่ง
อุปกรณ์ พิมพ์ทาร์ตวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 17.5 ซม. จำนวน 1 พิมพ์ ไม้คลึงแป้ง กระดาษไข ถั่ว และแผ่นอบซิลิโคนสำหรับรองอบ
แป้งสาลีอเนกประสงค์
370 กรัม
น้ำตาลทราย
60 กรัม
เกลือป่น
1/8 ช้อนชา
เนยสดชนิดจืดเย็นจัด
200 กรัม
ไข่ไก่ตีพอเข้ากัน
25 – 27 กรัม
ไวท์ช็อกโกแลต
150 กรัม
นมสดชนิดจืด
105 กรัม
ผงชาเขียว
7 กรัม
ครีมชีสพักให้นุ่ม
130 กรัม
METHOD
1. ทำแป้งทาร์ตโดยร่อนแป้งสาลี น้ำตาลทราย และเกลือ เข้าด้วยกัน ใส่เนยจืดเย็น ปลายนิ้วมือถูแป้งกับเนยจนแป้งเข้ากันดี ส่วนผสมมีลักษณะคล้ายเม็ดทรายหยาบๆ ใส่ไข่ไก่ นวดแป้งให้เข้ากันเป็นก้อนเดียว ห่อแป้งทาร์ตด้วยพลาสติกแรป นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาอย่างน้อย 30 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง
2. ระหว่างนั้นทำไส้ชาเขียวโดยใส่น้ำลงในหม้อประมาณ ¼ ของหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางจนเดือด ลดเป็นไฟอ่อนจากนั้นใส่ไวท์ช็อกโกแลตและนมสดลงในอ่างผสม ยกอ่างขึ้นวางบนหม้อน้ำเดือดอ่อนๆ (ระวังอย่าให้ก้นอ่างผสมสัมผัสน้ำเดือด เพราะจะทำให้ไวท์ช็อกโกแลตร้อนเกินไป) รอจนไวท์ช็อกโกแลตเริ่มละลาย ใส่ผงชาเขียวลงในอ่างผสม คนด้วยพายยางจนส่วนผสมเข้ากันดี ใช้พายยางบี้ครีมชีสที่นุ่มให้เป็นเนื้อเดียวกัน แบ่งครีมชีสลงในอ่างผสมไวท์ช็อกโกแลต ใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมครีมชีสกับไวท์ช็อกโกแลตให้เข้ากันดี ทำจนหมด (ถ้าครีมชีสเป็นเม็ดให้กรองด้วยกระชอนตาถี่อีกครั้ง) ยกลงจากหม้อ พักไว้
3. นำแป้งทาร์ตออกจากตู้เย็น พักไว้ 10 นาที หรือจนแป้งคลายความเย็นลง คลึงแป้งทาร์ตหนาประมาณ 2 มม. นำแป้งกรุลงในพิมพ์ตัดขอบแป้งส่วนเกินออก ใช้ส้อมจิ้มด้านล่างแป้งทาร์ตให้ทั่ว พักไว้ในตู้เย็นอีกประมาณ 30 นาที ระหว่างนั้นอุ่นเตาอบที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส พอแป้งทาร์ตครบกำหนด วางกระดาษไขลงบนแป้งทาร์ต นำถั่ววางทับลงบนกระดาษไข (เพื่อป้องกันแป้งทาร์ตยกตัวเวลาอบ) นำเข้าเตาอบที่อุ่นไว้ อบนานประมาณ 15 นาที นำออกจากเตา เอากระดาษไขและถั่วออก ลดไฟลงเหลือ 170 องศาเซลเซียส อบต่ออีก 8 นาที นำออกจากเตาอบ พักให้หายร้อนก่อนนำออกจากพิมพ์
4. ใส่ไส้ชาเขียวให้เต็มแป้งทาร์ต นำไปพักในตู้เย็นประมาณ 10 นาที เพื่อให้ไส้ชาเขียวเช็ตตัว โรยด้วยผงชาเขียว ตกแต่งด้วยดอกมะลิ เสิร์ฟ
อ่านบทความเพิ่มเติม
Gallery



Recommended Articles

ไก่ปิ้งร้อนๆ กินคู่กับข้าวเหนียวพร้อมกับแจ่วพริกสดคือดีที่สุด ครั้งนี้เลือกทำไก่ปิ้งแบบทั้งตัวนำมาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยจากนั้นก็ผ่ากลางอกแบะออก ทาเกลือให้ทั่วเนื้อไก่ หมักทิ้งไว้สักประมาณ 10 - 20 นาที นำไปย่างบนเตาถ่านค่อยๆย่างด้วยไฟอ่อน ย่างจนเนื้อไก่สุกหนักไก่สีเหลืองสวยเพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย บ้านไหนจะทำส้มตำแซบๆนัวๆสักจากก็ย่อมได้

อาหารพื้นบ้านของชาวอีสานอีกเมนูนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ทั้งอร่อย ทำง่าย แถมไปด้วยประโยชน์แบบสุดๆ มักนิยมเลือกใช้ปลาตัวเล็กมาทำเมนูนี้ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากแค่คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก เพียงเท่านี้ก็ได้เมนูหมกง่ายๆอร่อยๆไว้กินคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ

ซุปหน่อไม้อาหารพื้นถิ่นของภาคอีสาน ชื่อว่าซุปแต่ไม่ได้เป็นอาหารประเภทแกงอย่างที่ชื่อเรียกแต่เป็นอาหารประเภทยำโดยเป็นการนำเอาหน่อไม้มาขูดเป็นเส้นๆ นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างหอมแดง ต้นหอม และผักสะแงะ เป็นต้น บางสูตรก็ใส่น้ำปลาร้านัวๆ

เบอร์เกอร์ไก่กรอบสูตรซอสต้มยำ ไก่กรอบกร๊วบด้วยเทคนิคการชุบแป้งแห้งและเเป้งเปียกสองรอบ เคล็ดลับคือการสะบัดแป้งแห้งส่วนเกินออกให้มาก และชุบแป้งเปียกบางๆจะทำให้ผิวไก่กรอบกำลังดี ซอสมายองเนสต้มยำสูตรนี้ทำง่ายโดยใช้ผสมคิวพีมายองเนสกับซอสพริกและน้ำพริกเผาออกรสเผ็ดหวาน ตัดด้วยเปรี้ยวน้ำมะนาวตอนท้าย ใช้เป็นซอสราดไก่ทอดหรือจิ้มกับเฟรนชฟรายด์ก็อร่อยสุดๆ

ไก่ปิ้งร้อนๆ กินคู่กับข้าวเหนียวพร้อมกับแจ่วพริกสดคือดีที่สุด ครั้งนี้เลือกทำไก่ปิ้งแบบทั้งตัวนำมาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยจากนั้นก็ผ่ากลางอกแบะออก ทาเกลือให้ทั่วเนื้อไก่ หมักทิ้งไว้สักประมาณ 10 - 20 นาที นำไปย่างบนเตาถ่านค่อยๆย่างด้วยไฟอ่อน ย่างจนเนื้อไก่สุกหนักไก่สีเหลืองสวยเพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย บ้านไหนจะทำส้มตำแซบๆนัวๆสักจากก็ย่อมได้

อาหารพื้นบ้านของชาวอีสานอีกเมนูนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ทั้งอร่อย ทำง่าย แถมไปด้วยประโยชน์แบบสุดๆ มักนิยมเลือกใช้ปลาตัวเล็กมาทำเมนูนี้ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากแค่คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก เพียงเท่านี้ก็ได้เมนูหมกง่ายๆอร่อยๆไว้กินคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ

ซุปหน่อไม้อาหารพื้นถิ่นของภาคอีสาน ชื่อว่าซุปแต่ไม่ได้เป็นอาหารประเภทแกงอย่างที่ชื่อเรียกแต่เป็นอาหารประเภทยำโดยเป็นการนำเอาหน่อไม้มาขูดเป็นเส้นๆ นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างหอมแดง ต้นหอม และผักสะแงะ เป็นต้น บางสูตรก็ใส่น้ำปลาร้านัวๆ

เบอร์เกอร์ไก่กรอบสูตรซอสต้มยำ ไก่กรอบกร๊วบด้วยเทคนิคการชุบแป้งแห้งและเเป้งเปียกสองรอบ เคล็ดลับคือการสะบัดแป้งแห้งส่วนเกินออกให้มาก และชุบแป้งเปียกบางๆจะทำให้ผิวไก่กรอบกำลังดี ซอสมายองเนสต้มยำสูตรนี้ทำง่ายโดยใช้ผสมคิวพีมายองเนสกับซอสพริกและน้ำพริกเผาออกรสเผ็ดหวาน ตัดด้วยเปรี้ยวน้ำมะนาวตอนท้าย ใช้เป็นซอสราดไก่ทอดหรือจิ้มกับเฟรนชฟรายด์ก็อร่อยสุดๆ

ไก่ปิ้งร้อนๆ กินคู่กับข้าวเหนียวพร้อมกับแจ่วพริกสดคือดีที่สุด ครั้งนี้เลือกทำไก่ปิ้งแบบทั้งตัวนำมาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยจากนั้นก็ผ่ากลางอกแบะออก ทาเกลือให้ทั่วเนื้อไก่ หมักทิ้งไว้สักประมาณ 10 - 20 นาที นำไปย่างบนเตาถ่านค่อยๆย่างด้วยไฟอ่อน ย่างจนเนื้อไก่สุกหนักไก่สีเหลืองสวยเพียงเท่านี้เป็นอันเสร็จเรียบร้อย บ้านไหนจะทำส้มตำแซบๆนัวๆสักจากก็ย่อมได้

อาหารพื้นบ้านของชาวอีสานอีกเมนูนึงที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ทั้งอร่อย ทำง่าย แถมไปด้วยประโยชน์แบบสุดๆ มักนิยมเลือกใช้ปลาตัวเล็กมาทำเมนูนี้ ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากแค่คลุกเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จากนั้นห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่งให้สุก เพียงเท่านี้ก็ได้เมนูหมกง่ายๆอร่อยๆไว้กินคู่กับข้าวเหนียวร้อนๆ

ซุปหน่อไม้อาหารพื้นถิ่นของภาคอีสาน ชื่อว่าซุปแต่ไม่ได้เป็นอาหารประเภทแกงอย่างที่ชื่อเรียกแต่เป็นอาหารประเภทยำโดยเป็นการนำเอาหน่อไม้มาขูดเป็นเส้นๆ นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาว น้ำปลา พริกป่น ข้าวคั่ว ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างหอมแดง ต้นหอม และผักสะแงะ เป็นต้น บางสูตรก็ใส่น้ำปลาร้านัวๆ

เบอร์เกอร์ไก่กรอบสูตรซอสต้มยำ ไก่กรอบกร๊วบด้วยเทคนิคการชุบแป้งแห้งและเเป้งเปียกสองรอบ เคล็ดลับคือการสะบัดแป้งแห้งส่วนเกินออกให้มาก และชุบแป้งเปียกบางๆจะทำให้ผิวไก่กรอบกำลังดี ซอสมายองเนสต้มยำสูตรนี้ทำง่ายโดยใช้ผสมคิวพีมายองเนสกับซอสพริกและน้ำพริกเผาออกรสเผ็ดหวาน ตัดด้วยเปรี้ยวน้ำมะนาวตอนท้าย ใช้เป็นซอสราดไก่ทอดหรือจิ้มกับเฟรนชฟรายด์ก็อร่อยสุดๆ
Recommended Videos