เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

Serves
2-3 คน
Level
2
ผัดกะเพราหมูสับ เลือกใช้หมูสับติดมันเล็กน้อยผัดกับเครื่องพริกกระเทียมที่โขลกเอาตามระดับความเผ็ดที่เราชอบ เคล็ดลับตอนผัดต้องใช้ไฟแรง ผัดจนเครื่องทุกอย่างเข้ากัน ปรุงรสให้กลมกล่อมแล้วจึงใส่ใบกะเพราเป็นอันดับสุดท้าย รับรองหอมฟุ้งไปทั่วบ้าน
INGREDIENTS
กระเทียมไทยแกะเปลือก
15 กลีบ
พริกขี้หนูสวน
15 เม็ด
พริกจินดาเเดง
7 เม็ด
น้ำมันพืช
3 ช้อนโต๊ะ
หมูสับติดมัน
300 กรัม
น้ำปลา
2 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทรายขาว
1 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว
1 ช้อนชา
น้ำมันหอย
2 ช้อนชา
น้ำ
3 ช้อนโต๊ะ
พริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นแฉลบ
1 เม็ด
ใบกะเพรา
2 ถ้วย
METHOD
1. โขลกกระเทียมไทย พริกขี้หนู และพริกจินดาแดงพอหยาบ ตักใส่ถ้วยพักไว้
2. ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลาง กลอกน้ำมันให้ทั่วกระทะ พอน้ำมันร้อน ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ลงผัดให้หอมพริกกระเทียม ใส่หมูสับ ผัดให้หมูสับเกือบสุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทรายขาว ซีอิ๊วขาว น้ำมันหอย และน้ำ ผัดให้เข้ากัน เร่งไฟ ใส่พริกชี้ฟ้าแดงและใบกะเพรา ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดไฟ ตักใส่จานเสิร์ฟ
Recommended Articles

คำว่า ‘อั่ว’ หลายคนคงคุ้นเคยมากกว่าเมื่อมันห้อยท้ายมากับคำว่า ‘ไส้’ เพราะไส้อั่วเป็นอาหารเชิดหน้าชูตาของสำรับล้านนามานานนม ด้วยการปรุงกลิ่นรสให้หอมและเผ็ดร้อนจากสมุนไพรนานาชนิด การ ‘อั่ว’ หรือการยัดไส้อาหารนั้นแสดงให้เห็นความรุ่มรวย พิถีพิถันและประดิษฐ์ประดอยในครัวของทุกที่ ด้วยว่าอาหารยัดไส้นั้นใช้เวลาทำนานกว่า ไหนจะปรุงรสเนื้อสัตว์ ไหนจะเตรียมผัก ไส้สัตว์ หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่จะนำมายัด ทั้งกระบวนการทำก็ใช้เวลาและใช้แรงมากกว่าการนำมาแกง ผัด หรือลวกไวๆ นอกจากการแสดงถึงความรุ่มรวยแล้ว อาหารยัดไส้ยังเป็นความชาญฉลาดอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อนำเนื้อสัตว์มาทำเป็นไส้แล้ว ไม่ว่าจะนำไปย่าง ไปทอด หรือไปต้ม ความหวานตามธรรมชาติจากน้ำของเนื้อสัตว์ก็จะถูกรักษาไว้ให้อยู่ภายใน ทำให้เนื้อสัตว์ที่ปรุงเป็นไส้ยังคงความฉ่ำไว้ ไม่แห้งกระด้างนั่นเอง

แม้เคลจะเพิ่งโด่งดังไม่นานมานี้ แต่จริงๆ มนุษย์เรากินเคลกันมากว่าสองพันปีแล้ว เพียงแต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าสิ่งที่กินเป็นผักในตระกูลเคล นั่นคือ ‘ผักคะน้า’ หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Chinese Kale ซึ่งก็ถูกเป๊ะตรงสายพันธุ์เปี๊ยบเพราะเคลมีอีกชื่อว่า ‘คะน้าใบหยิก’ เนื่องจากสภาพใบหยิกๆ ของมันนั่นเอง เคลเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น เป็นเหตุให้ประเทศหนาวเย็นอย่างสกอตเเลนด์ให้ความสำคัญกับเคลมาก เพราะในช่วงหน้าหนาวที่พืชผลหลายอย่างปลูกไม่ได้ แต่เจ้าผักเคลไม่ยั่นแถมยังเจริญเติบโตงอกงาม จนเกิดสำนวน “Come to kale” เมื่อต้องการเชิญชวนใครมากินข้าวที่บ้าน

คำว่า ‘อั่ว’ หลายคนคงคุ้นเคยมากกว่าเมื่อมันห้อยท้ายมากับคำว่า ‘ไส้’ เพราะไส้อั่วเป็นอาหารเชิดหน้าชูตาของสำรับล้านนามานานนม ด้วยการปรุงกลิ่นรสให้หอมและเผ็ดร้อนจากสมุนไพรนานาชนิด การ ‘อั่ว’ หรือการยัดไส้อาหารนั้นแสดงให้เห็นความรุ่มรวย พิถีพิถันและประดิษฐ์ประดอยในครัวของทุกที่ ด้วยว่าอาหารยัดไส้นั้นใช้เวลาทำนานกว่า ไหนจะปรุงรสเนื้อสัตว์ ไหนจะเตรียมผัก ไส้สัตว์ หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่จะนำมายัด ทั้งกระบวนการทำก็ใช้เวลาและใช้แรงมากกว่าการนำมาแกง ผัด หรือลวกไวๆ นอกจากการแสดงถึงความรุ่มรวยแล้ว อาหารยัดไส้ยังเป็นความชาญฉลาดอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อนำเนื้อสัตว์มาทำเป็นไส้แล้ว ไม่ว่าจะนำไปย่าง ไปทอด หรือไปต้ม ความหวานตามธรรมชาติจากน้ำของเนื้อสัตว์ก็จะถูกรักษาไว้ให้อยู่ภายใน ทำให้เนื้อสัตว์ที่ปรุงเป็นไส้ยังคงความฉ่ำไว้ ไม่แห้งกระด้างนั่นเอง

แม้เคลจะเพิ่งโด่งดังไม่นานมานี้ แต่จริงๆ มนุษย์เรากินเคลกันมากว่าสองพันปีแล้ว เพียงแต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าสิ่งที่กินเป็นผักในตระกูลเคล นั่นคือ ‘ผักคะน้า’ หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Chinese Kale ซึ่งก็ถูกเป๊ะตรงสายพันธุ์เปี๊ยบเพราะเคลมีอีกชื่อว่า ‘คะน้าใบหยิก’ เนื่องจากสภาพใบหยิกๆ ของมันนั่นเอง เคลเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น เป็นเหตุให้ประเทศหนาวเย็นอย่างสกอตเเลนด์ให้ความสำคัญกับเคลมาก เพราะในช่วงหน้าหนาวที่พืชผลหลายอย่างปลูกไม่ได้ แต่เจ้าผักเคลไม่ยั่นแถมยังเจริญเติบโตงอกงาม จนเกิดสำนวน “Come to kale” เมื่อต้องการเชิญชวนใครมากินข้าวที่บ้าน

คำว่า ‘อั่ว’ หลายคนคงคุ้นเคยมากกว่าเมื่อมันห้อยท้ายมากับคำว่า ‘ไส้’ เพราะไส้อั่วเป็นอาหารเชิดหน้าชูตาของสำรับล้านนามานานนม ด้วยการปรุงกลิ่นรสให้หอมและเผ็ดร้อนจากสมุนไพรนานาชนิด การ ‘อั่ว’ หรือการยัดไส้อาหารนั้นแสดงให้เห็นความรุ่มรวย พิถีพิถันและประดิษฐ์ประดอยในครัวของทุกที่ ด้วยว่าอาหารยัดไส้นั้นใช้เวลาทำนานกว่า ไหนจะปรุงรสเนื้อสัตว์ ไหนจะเตรียมผัก ไส้สัตว์ หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่จะนำมายัด ทั้งกระบวนการทำก็ใช้เวลาและใช้แรงมากกว่าการนำมาแกง ผัด หรือลวกไวๆ นอกจากการแสดงถึงความรุ่มรวยแล้ว อาหารยัดไส้ยังเป็นความชาญฉลาดอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อนำเนื้อสัตว์มาทำเป็นไส้แล้ว ไม่ว่าจะนำไปย่าง ไปทอด หรือไปต้ม ความหวานตามธรรมชาติจากน้ำของเนื้อสัตว์ก็จะถูกรักษาไว้ให้อยู่ภายใน ทำให้เนื้อสัตว์ที่ปรุงเป็นไส้ยังคงความฉ่ำไว้ ไม่แห้งกระด้างนั่นเอง

แม้เคลจะเพิ่งโด่งดังไม่นานมานี้ แต่จริงๆ มนุษย์เรากินเคลกันมากว่าสองพันปีแล้ว เพียงแต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าสิ่งที่กินเป็นผักในตระกูลเคล นั่นคือ ‘ผักคะน้า’ หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Chinese Kale ซึ่งก็ถูกเป๊ะตรงสายพันธุ์เปี๊ยบเพราะเคลมีอีกชื่อว่า ‘คะน้าใบหยิก’ เนื่องจากสภาพใบหยิกๆ ของมันนั่นเอง เคลเติบโตได้ดีในสภาพอากาศเย็น เป็นเหตุให้ประเทศหนาวเย็นอย่างสกอตเเลนด์ให้ความสำคัญกับเคลมาก เพราะในช่วงหน้าหนาวที่พืชผลหลายอย่างปลูกไม่ได้ แต่เจ้าผักเคลไม่ยั่นแถมยังเจริญเติบโตงอกงาม จนเกิดสำนวน “Come to kale” เมื่อต้องการเชิญชวนใครมากินข้าวที่บ้าน
Recommended Videos