เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

ขนมเปียกปูน

Recipe by ทีมบรรณาธิการ

Serves

15 ชิ้น

Level

3

INGREDIENTS

แป้งข้าวเจ้า

1 ถ้วย+1 ช้อนโต๊ะ

แป้งถั่วเขียว (แป้งซาหริ่ม)

2 ช้อนโต๊ะ

แป้งเท้ายายม่อม

2 ช้อนโต๊ะ

แป้งมัน

2 ช้อนชา

น้ำปูนใส

2½ ถ้วย

น้ำตาลทราย

3 ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ

½ ถ้วย+1 ช้อนโต๊ะ

น้ำใบเตย (ใบเตยหั่นชิ้นเล็ก 1 ½ ถ้วย ปั่นกับน้ำ ½ ถ้วย)

½ ถ้วย

มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น

1½ ถ้วย

เกลือสมุทร

¾ ช้อนชา

น้ำมันพืชสำหรับทาถาด

อุปกรณ์เฉพาะ กระทะทองเบอร์ 14, ถาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 นิ้ว สูง 2 นิ้ว จำนวน 1 พิมพ์, ใบตอง, ลังถึง

METHOD

1. เตรียมถาดโดยทาน้ำมันบางๆให้ทั่ว

 

2. ผสมแป้งทั้งหมดเข้าด้วยกันในอ่างผสม ใส่น้ำปูนใสลงในแป้งทีละน้อย ใส่แค่พอนวดได้ (ถ้าใส่มากไปแป้งจะเหลวทำให้นวดไม่ได้) นวดจนแป้งนุ่มเนียนนานประมาณ 15 นาที ใส่น้ำตาลทั้ง 2 ชนิดลงไปนวดพอเข้ากัน พอน้ำตาลเริ่มละลายจึงค่อยๆเติมน้ำปูนใสที่เหลือลงไปจนหมด คนพอเข้ากัน ใส่น้ำใบเตย คนอีกครั้งให้เข้ากัน

 

3. ใส่ส่วนผสมขนมเปียกปูนลงในกระทะทอง ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง กวนไปทางเดียวกันจนส่วนผสมเริ่มข้น ลดไฟลงแล้วกวนต่ออีกนานประมาณ 25 นาทีหรือจนแป้งเหนียวและเป็นเงา (เมื่อยกพายไม้ขึ้นแล้วแป้งจะไหลลงมาเป็นแพขนาดเท่ากับความกว้างของพายไม้) ปิดไฟ ยกลงเทใส่ถาด ใช้ใบตองชุบน้ำมันปาดด้านบนให้หน้าเรียบ พักไว้ให้เย็น

 

4. ใส่น้ำในหม้อลังถึงประมาณ 3/4 ของลังถึง ตั้งบนไฟแรง รอให้เดือด ระหว่างรอผสมมะพร้าวทึนทึกกับเกลือให้เข้ากันเทใส่ผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆที่ปูในชั้นลังถึง เกลี่ยให้กระจายทั่วเตรียมไว้ เมื่อน้ำเดือดยกชั้นลังถึงขึ้นตั้งบนหม้อน้ำปิดฝานึ่งนานประมาณ 5-8 นาที ปิดไฟ ยกลง พักให้เย็น

 

5. เมื่อขนมเย็นสนิทให้คว่ำขนมออกจากถาด ใช้มีดทาน้ำมันบางๆตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน จัดใส่จาน โรยด้วยมะพร้าวทึนทึก

 

 

 

ลักษณะที่ดี

 

     

  • ขนมเปียกปูนมีผิวมัน เงา เนื้อขนมเหนียว นุ่ม มีรสหวานมัน หอมกลิ่นใบเตย น้ำปูนใส และน้ำตาลปี๊บ
  •  

 

 

 

ข้อน่ารู้

 

น้ำปูนใสควรทำเตรียมไว้ล่วงหน้า 1 วันขึ้นไป โดยใช้อัตราส่วนปูนแดงหรือปูนขาว ¾ ถ้วย ต่อน้ำ 10 ถ้วย

 

     

  • การทำขนมเปียกปูนดำให้นำกาบมะพร้าวไปเผาจนเป็นถ่านแดง (อย่าเผาไฟแรงหรือเผานานเกินไปจะทำให้ไหม้ไปหมด) รอจนเย็นนำไปโขลกพอแหลกผสมกาบมะพร้าวที่ได้ ¼ ถ้วยกับน้ำ 1/3 ถ้วย แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเนื้อหนา นำไปใช้แทนน้ำใบเตย
  •  

  • การนวดแป้งจะช่วยให้แป้งเหนียวมากขึ้น ขณะที่ใส่น้ำปูนใสลงในอ่างแป้งควรใส่ทีละน้อยแค่พอนวดได้
  •  

  • ไฟที่ใช้กวนในช่วงหลังควรเป็นไฟอ่อนเพื่อไม่ให้ขนมไหม้ติดก้นกระทะ
  •  

  • ในระหว่างที่กวนควรกวนให้ถึงก้นกระทะเพื่อไม่ให้ไหม้ก้นกระทะ และควรกวนไปทางเดียวกันด้วยแรงที่สม่ำเสมอ เพื่อให้ขนมมีความเหนียว นุ่ม
  •  

  • ทดสอบแป้งว่ากวนได้ที่โดยเมื่อยกพายไม้ขึ้นแล้วแป้งจะไหลลงเป็นแพขนาดเท่าความกว้างของพายไม้
  •  

 

 

 

สูตรอาหารโดย อบเฉย อิ่มสบาย

Share this content

Tags:

กวน, ขนมหวาน, ขนมไทย, น้ำใบเตย, นึ่ง, มะพร้าวทึนทึก, เปียกปูน, แป้งข้าวเจ้า

Recommended Articles

Recipeน้อยหน่าน้ำกะทิ
น้อยหน่าน้ำกะทิ

‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeมะกรูดลอยแก้ว
มะกรูดลอยแก้ว

มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน

 

Recommended Videos