เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
15 ชิ้น
Level
4
INGREDIENTS
ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเก่า
1½ ถ้วย
หางกะทิ (1) (มะพร้าวขูดขาวที่เหลือจากคั้นหัวกะทิคั้นกับน้ำอุ่น 1 ½ ถ้วย)
1½ ถ้วย
หางกะทิ (2) (มะพร้าวขูดขาวที่เหลือจากคั้นหางกะทิ (1)คั้นกับน้ำอุ่น 1/2 ถ้วย+2 ช้อนโต๊ะ)
½ ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ
½ ถ้วย+3 ช้อนโต๊ะ+1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย
1 ถ้วย+2 ช้อนชา
แบะแซ
½ ถ้วย
หัวกะทิ (มะพร้าวขูดขาว 400 กรัม คั้นกับน้ำอุ่น ¼ ถ้วย)
1 ถ้วย+3 ช้อนโต๊ะ
งาขาวคั่ว
5 ช้อนโต๊ะ
อุปกรณ์เฉพาะ ลังถึง, ผ้าขาวบาง, กระทะทองเบอร์ 14, พายไม้,ถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 5X9 นิ้ว สูง 1 นิ้ว จำนวน 1 ถาด
METHOD
1. ล้างซาวข้าวเหนียว 1 ครั้ง แล้วไปแช่น้ำนานประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นนำข้าวเหนียวขึ้นใส่กระชอน นำหางกะทิ (2)มาราดลงบนข้าวเหนียวแล้วหาภาชนะมารองรับหางกะทิเก็บไว้ ใช้มือตบที่ก้นกระชอนให้สะเด็ดน้ำ
2. ใส่น้ำในหม้อลังถึงประมาณ 3/4 ของลังถึง ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางจนน้ำเดือด จึงใส่ข้าวเหนียวที่พักไว้ลงในชั้นลังถึงที่ปูผ้าขาวบางที่ชุบน้ำหมาด ตลบชายผ้าขาวบางขึ้น นำไปนึ่งบนหม้อน้ำเดือดจนสุก สังเกตข้าวเหนียวที่สุกแล้วเมื่อนำมาบี้ดูจะต้องไม่เป็นไตแข็งๆ ใส่ข้าวเหนียวนึ่งลงในถาด พักไว้ให้เย็นสนิท
3. ใส่หางกะทิทั้งหมดกับน้ำตาลทั้ง 2 ชนิดลงในกระทะทอง ยกขึ้นตั้งบนไฟอ่อน ใช้พายไม้คนให้น้ำตาลละลายและเดือดใส่แบะแซ คนพอเข้ากัน เคี่ยวต่อนานประมาณ 15-20 นาที จนน้ำตาลเดือดเป็นฟองเต็มกระทะ คนเป็นครั้งคราวใส่หัวกะทิ คนพอเข้ากัน ปรับใช้ไฟกลางค่อนข้างอ่อน เคี่ยวต่อให้เดือดเป็นฟองเล็กๆทั่วกระทะอีกครั้ง ขณะที่เคี่ยวให้คนบ้างเพื่อไม่ให้ไหม้ก้นกระทะ เมื่อเคี่ยวไปนานประมาณ 15 นาที กะทิในกระทะจะลดลงเหลือประมาณ 2/3ของกระทะ จึงเร่งไฟเป็นไฟแรง แล้วใส่ข้าวเหนียวทีละน้อย โดยใส่ข้าวเหนียวให้กระจายทั่วกระทะ ใช้พายไม้คนเร็วๆจนกว่าข้าวจะมีเสียงแตกดังแป๊ะๆ คนต่ออีก 3 นาที แล้วลดเป็นไฟกลางค่อนข้างอ่อน คนต่ออีก 10-15 นาทีแล้วทดสอบโดยตักข้าวเหนียวที่กวนมาใส่ในถ้วยน้ำเย็น ถ้าใช้มือบี้ดูแล้วเป็นก้อนไม่ละลายแต่ไม่แข็งมากก็ใช้ได้จึงตักข้าวเหนียวแดงใส่ถาด ใช้พายไม้เกลี่ยหน้าให้เรียบ พักไว้ให้เย็น
4. โรยงาขาวคั่วให้ทั่วหน้าข้าวเหนียวแดง ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม
ลักษณะที่ดี
- ข้าวเหนียวแดงเหนียว ข้าวกรอบ ไม่แข็ง
- มีรสหวานมัน หอมกลิ่นน้ำตาล
ข้อน่ารู้
- การสังเกตน้ำตาลว่าได้ที่หรือยังให้หยอดน้ำตาลที่เคี่ยวแล้วลงในน้ำ ทิ้งไว้สักครู่ ถ้าน้ำตาลจับเป็นก้อนแสดงว่าใช้ได้
- แบะแซช่วยทำให้ข้าวเหนียวกรอบไม่ตกทราย
สูตรอาหารโดย อบเฉย อิ่มสบาย
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
แป้งพัฟฟ์เป็นหนึ่งในเบเกอรีที่ยุ่งยาก ปัจจุบันมีขายแบบสำเร็จตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เราเอามาทำขนมอย่างอื่นได้ง่ายอย่างเช่นนูเทลลาแพร์พัฟฟ์สูตรนี้ใช้แป้งพัฟฟ์สำเร็จรูปตัดให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ทำคัสตาร์ดทูเทลลาใส่ด้านใน สไลซ์ลูกแพร์เชื่อมลงไป อบจนแป้งพัฟฟ์เหลืองกรอบ เป็นพัฟฟ์ของหวานกินกับชาร้อนได้เข้ากัน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
แป้งพัฟฟ์เป็นหนึ่งในเบเกอรีที่ยุ่งยาก ปัจจุบันมีขายแบบสำเร็จตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เราเอามาทำขนมอย่างอื่นได้ง่ายอย่างเช่นนูเทลลาแพร์พัฟฟ์สูตรนี้ใช้แป้งพัฟฟ์สำเร็จรูปตัดให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ทำคัสตาร์ดทูเทลลาใส่ด้านใน สไลซ์ลูกแพร์เชื่อมลงไป อบจนแป้งพัฟฟ์เหลืองกรอบ เป็นพัฟฟ์ของหวานกินกับชาร้อนได้เข้ากัน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
แป้งพัฟฟ์เป็นหนึ่งในเบเกอรีที่ยุ่งยาก ปัจจุบันมีขายแบบสำเร็จตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เราเอามาทำขนมอย่างอื่นได้ง่ายอย่างเช่นนูเทลลาแพร์พัฟฟ์สูตรนี้ใช้แป้งพัฟฟ์สำเร็จรูปตัดให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ทำคัสตาร์ดทูเทลลาใส่ด้านใน สไลซ์ลูกแพร์เชื่อมลงไป อบจนแป้งพัฟฟ์เหลืองกรอบ เป็นพัฟฟ์ของหวานกินกับชาร้อนได้เข้ากัน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos