เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
8-10 คน
Level
4
INGREDIENTS
ข้าวเหนียวเขี้ยวงู
1½ ถ้วย
น้ำดอกอัญชัน (กลีบดอกอัญชัน 25 ดอก ต้มกับน้ำ 4 ถ้วย แล้วกรอง)
4 ถ้วย
สารส้มป่นละเอียด
½ ช้อนชา
กะทิ (มะพร้าวขูดขาว 250 กรัม คั้นกับน้ำอุ่น ½ ถ้วย)
¾ ถ้วย
น้ำตาลทราย
½ ถ้วย
เกลือสมุทร
1 ช้อนโต๊ะ+ ½ ช้อนชา
ใบเตยมัดเป็นปม
2 ใบ
มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น
¾ ถ้วย
ไข่เป็ด (ฟองละ 60-65 กรัม)
5 ฟอง
แป้งมัน
2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย
3 ถ้วย
น้ำหรือน้ำลอยดอกมะลิ
3 ถ้วย
ใบเตยมัดเป็นปม
3-4 ใบ
กะทิ (มะพร้าวขูดขาว 300 กรัม คั้นกับน้ำอุ่น ½ ถ้วย)
1 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า
2 ช้อนชา
เกลือสมุทร
¾ ช้อนชา
น้ำตาลทราย
2 ช้อนโต๊ะ
ใบเตยมัดเป็นปม
2 ใบ
ลังถึง, ผ้าขาวบาง, กระทะทองเบอร์ 11, กระทงใบตอง
METHOD
1. ล้างซาวข้าวเหนียว 2 ครั้ง แล้วนำไปแช่น้ำดอกอัญชัน (สีน้ำเงิน) ให้น้ำท่วมสูงจากข้าวประมาณ 3 ซม. ใส่สารส้มคนให้สารส้มละลาย แช่ข้าวเหนียวอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป สารส้มจะช่วยให้ข้าวเหนียวสุกใสเป็นเงา เมื่อแช่ข้าวเหนียวจนครบตามเวลาให้เทน้ำที่แช่ข้าวแล้วล้างข้าวผ่านน้ำหลายๆครั้งอย่างเบามือจนกว่าน้ำจะใส ใส่ข้าวเหนียวลงในกระชอนพักให้สะเด็ดน้ำ
2. ทำข้าวเหนียวมูนโดยใส่น้ำในหม้อลังถึงประมาณ 3/4 ของลังถึง ยกขึ้นตั้งบนไฟแรงจนน้ำเดือด จึงปูผ้าขาวบางที่ชุบน้ำหมาดลงในชั้นลังถึง แล้วใส่ข้าวเหนียวที่แช่ลงบนผ้าขาวบาง ใช้มือเกลี่ยข้าวให้กระจายทั่วชั้นลังถึง (แต่ควรเว้นรูสำหรับให้ไอน้ำขึ้นได้สะดวกจะช่วยให้ข้าวเหนียวสุกทั่ว) ตลบชายผ้าขาวบางปิดให้มิด นำไปนึ่งบนหม้อน้ำเดือดประมาณ30 นาทีหรือจนกว่าจะสุก (เวลาที่ใช้นึ่งขึ้นอยู่กับความแรงของไฟ และระยะเวลาในการแช่ข้าวเหนียว) ระหว่างรอข้าวเหนียวสุกให้เตรียมกะทิสำหรับมูนข้าวเหนียวโดยใส่กะทิ น้ำตาล เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ และใบเตย ลงในกระทะทอง เมื่อข้าวเหนียวใกล้จะสุกจึงค่อยยกกระทะทองขึ้นตั้งบนไฟกลาง หมั่นคนกะทิอย่าให้เป็นลูก รอจนเดือด ปิดไฟ ใส่ลงในภาชนะที่มีฝาปิด เมื่อข้าวเหนียวสุกให้ตักข้าวเหนียวนึ่งใส่ในภาชนะที่ใส่น้ำกะทิสำหรับมูนข้าวเหนียวไว้ คนเร็วๆให้ข้าวเหนียวกระจายตัว ปิดฝาให้สนิท พักให้ข้าวเหนียวดูดน้ำกะทินานประมาณ 10 นาที แล้วใช้พายไม้กลับข้าวเหนียวด้านบนลงด้านล่าง คนพอเข้ากัน ปิดฝาเช่นเดิม พักไว้ จนข้าวเหนียวดูดน้ำกะทิหมด
3. ใส่มะพร้าวทึนทึกลงในถ้วย คลุกเคล้ากับเกลือที่เหลือ 1/2 ช้อนชา นำไปนึ่งด้วยไฟกลางค่อนข้างอ่อน นานประมาณ5 นาที ยกลง ตักใส่จาน เตรียมไว้
4. ทำหน้าไข่แมงดาเทียม เตรียมไข่โดยล้างไข่ให้สะอาด เช็ดด้วยผ้าให้แห้งสนิท ต่อยไข่ใส่ภาชนะ (เก็บเปลือกไข่ไว้สำหรับฟอกน้ำเชื่อม) แล้วใช้มือทั้งสองช้อนแยกเอาเฉพาะไข่แดงขึ้นมา คือค่อยๆใช้นิ้วรีดไข่ขาวออกจากไข่แดงแล้วรีดเอาเยื่อหุ้มไข่แดงออกจนหมด (ไข่ขาวเก็บไว้ทำสังขยาและขนมอื่นๆ) ใส่ไข่แดงลงในผ้าขาวบางที่ซ้อนกันสองชั้นแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางโดยใช้นิ้วบิดผ้าให้ไข่ไหลลงมาใส่ภาชนะ ใส่แป้งมัน คนเร็วๆให้เข้ากัน ปิดฝาหรือพลาสติกแรปไว้ เพื่อไม่ให้ไข่แห้ง
5. ทำกะทิหยอดหน้าโดยใส่กะทิกับแป้งข้าวเจ้าลงในกระทะทอง คนให้เข้ากันดี ใส่เกลือและน้ำตาล คนพอเข้ากัน ใส่ใบเตย ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางค่อนข้างอ่อน พอเดือดและข้นเล็กน้อย ปิดไฟ ยกลง
6. วิธีจัดเสิร์ฟ ตักข้าวเหนียวมูนใส่กระทงใบตองหรือใส่จาน แล้วหยอดหน้าด้วยกะทิ โรยมะพร้าวทึนทึก และตักไข่แมงดาใส่ประมาณ 2 ช้อนชา เสิร์ฟ
ลักษณะที่ดี
- ข้าวเหนียวมีสีฟ้าอ่อน เมล็ดข้าวสวยไม่หัก และเป็นมันเงา เนื้อนุ่มเหนียว
- มีรสหวานมัน เค็มพอดี และมีกลิ่นหอมกะทิ
- ไข่แมงดาเม็ดกลมฟู เม็ดเล็ก สีสวย มีผิวเป็นมัน ชุ่มน้ำเชื่อม รสหวาน หอม
ข้อน่ารู้
- ควรเลือกใช้ไข่ที่สดใหม่เพราะจะได้ไข่แมงดาที่มีสีสวย เม็ดกลม
- ถ้าน้ำเชื่อมข้นไม่ได้ที่เมื่อหยอดไข่แดงลงไปไข่จะแผ่ออก เม็ดไม่กลม น้ำเชื่อมที่ดีต้องข้นเพื่อให้ไข่แมงดามีเม็ดกลมสวย
- ระวังอย่าให้น้ำเชื่อมเดือดพล่านมากเกินไปขณะที่หยอดไข่แดง เพราะจะทำให้ไข่แมงดาฟูมาก เมื่อตักขึ้นมาจะแฟบ
- นอกจากจะหยอดหน้ากะทิบนข้าวเหนียวหน้าไข่แมงดา สูตรนี้จะเพิ่มความมันด้วยการโรยมะพร้าวทึนทึกแล้วตักหน้าไข่แมงดาวางด้านบนก็ได้
สูตรอาหารโดย อบเฉย อิ่มสบาย
Tags:
กะทิ, ขนมข้าวเหนียว, ขนมหวาน, ขนมเครื่องทอง, ขนมไทย, ข้าวเหนียวมูน, ข้าวเหนียวหน้า, ไข่แดง, ไข่แมงดา
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
แป้งพัฟฟ์เป็นหนึ่งในเบเกอรีที่ยุ่งยาก ปัจจุบันมีขายแบบสำเร็จตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เราเอามาทำขนมอย่างอื่นได้ง่ายอย่างเช่นนูเทลลาแพร์พัฟฟ์สูตรนี้ใช้แป้งพัฟฟ์สำเร็จรูปตัดให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ทำคัสตาร์ดทูเทลลาใส่ด้านใน สไลซ์ลูกแพร์เชื่อมลงไป อบจนแป้งพัฟฟ์เหลืองกรอบ เป็นพัฟฟ์ของหวานกินกับชาร้อนได้เข้ากัน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
แป้งพัฟฟ์เป็นหนึ่งในเบเกอรีที่ยุ่งยาก ปัจจุบันมีขายแบบสำเร็จตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เราเอามาทำขนมอย่างอื่นได้ง่ายอย่างเช่นนูเทลลาแพร์พัฟฟ์สูตรนี้ใช้แป้งพัฟฟ์สำเร็จรูปตัดให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ทำคัสตาร์ดทูเทลลาใส่ด้านใน สไลซ์ลูกแพร์เชื่อมลงไป อบจนแป้งพัฟฟ์เหลืองกรอบ เป็นพัฟฟ์ของหวานกินกับชาร้อนได้เข้ากัน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
มะกรูด เป็นพืชในตระกลูส้มและมะนาว (Citrus) คนไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกมะกรูดไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยเฉพาะส่วนใบและผล ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกรูดที่ทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากมีบทบาทในอาหารคาวแล้ว มะกรูดยังมีบทบาทในอาหารหวาน ทั้งนำเนื้อมากวนไส้ นำไปเชื่อมรวมถึงการลอยแก้ว มะกรูดลอยแก้ว เป็นของหวานดับร้อนของคนในสมัยก่อน ดูเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ มากมาย ด้วยลักษณะของมะกรูดที่มีกลิ่นรสเฉพาะตัว จึงต้องอาศัยเทคนิคและความใส่ใจ เพื่อให้ได้เนื้อมะกรูดลอยแก้วที่มีความนุ่มหนึบ ใสดั่งแก้ว ชิมรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ครบสามรส หอมกลิ่นมะกรูดอ่อนๆ เอาไว้กินกับน้ำแข็งเพิ่มความสดชื่นในวันที่อากาศร้อน
แป้งพัฟฟ์เป็นหนึ่งในเบเกอรีที่ยุ่งยาก ปัจจุบันมีขายแบบสำเร็จตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เราเอามาทำขนมอย่างอื่นได้ง่ายอย่างเช่นนูเทลลาแพร์พัฟฟ์สูตรนี้ใช้แป้งพัฟฟ์สำเร็จรูปตัดให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ทำคัสตาร์ดทูเทลลาใส่ด้านใน สไลซ์ลูกแพร์เชื่อมลงไป อบจนแป้งพัฟฟ์เหลืองกรอบ เป็นพัฟฟ์ของหวานกินกับชาร้อนได้เข้ากัน
ขนมไทยพื้นบ้านรสชาติอร่อยเรียบง่ายด้วยส่วนผสมไม่กี่อย่าง ได้แก่ มันสำปะหลังขูดหรือปั่นให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และน้ำสะอาดหรือน้ำคั้นใบเตย ใส่ถาดนึ่งให้สุกจนเนื้อมันเปลี่ยนเป็นเหลืองใส แล้วนำมาตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคลุกกับมะพร้าวขูดที่เคล้าเกลือไว้เล็กน้อย เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่วัตถุดิบหลักคือ มันสำปะหลังพันธุ์ที่เรียกว่า ‘มัน 5 นาที’ เป็นพันธุ์ที่นิยมใช้ทำขนม
Recommended Videos