เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
20 ชิ้น
Level
4
ขนมจีบไทยเป็นของว่างอันเก่าแก่ที่หลายคนอาจไม่เคยเห็น มีมาตั้งเเต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ความยากของขนมจีบไทยอยู่ที่การจับจีบซึ่งเริ่มแรกต้องแผ่แป้งให้บางเป็นรูปถ้วย ใส่ไส้ลงไป สมัยก่อนจะจับจีบด้วยมือเปล่าเเละจีบต้องบางเท่ากัน ชิ้นหนึ่งควรจีบให้ได้ 17 – 20 จีบจึงจะสวย จากนั้นขมวดปมให้เหมือนหัวนกก่อนนำไปนึ่งจนแป้งสุกใส เเต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาใช้แหนมทองเหลืองในการจีบแป้งเเทน เเละเปลี่ยนรูปร่างติดตาติดปากให้เป็นรูปนก จึงกลายมาเป็น ขนมจีบนก ที่หลายคนคุ้นเคยกันนั่นเอง
INGREDIENTS
แป้งข้าวเจ้า
½ ถ้วย
แป้งเท้ายายม่อม
1 ช้อนโต๊ะ
แป้งมันสำปะหลัง
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำ
½ ถ้วย
กะทิ
2 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเจ้า
½ ถ้วย
แป้งเท้ายายม่อม
1 ช้อนโต๊ะ
แป้งมันสำปะหลัง
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำดอกอัญชัน (ดอกอัญชันสด 10 ดอก ต่อน้ำร้อน 2 ถ้วย)
½ ถ้วย
กะทิ
2 ช้อนโต๊ะ
พริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นชิ้นสามเหลี่ยมเล็กและงาดำสำหรับตกแต่ง
รากผักชีหั่น
1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมไทยแกะเปลือก
1 ช้อนชา
พริกไทยขาวเม็ด
¼ ช้อนชา
น้ำมันพืช
2 ช้อนโต๊ะ
หอมใหญ่สับ
¼ ถ้วย
หอมแดงสับ
2 ช้อนโต๊ะ
เนื้อหมูสับติดมัน
¼ ถ้วย
เนื้อกุ้งสับ
¼ ถ้วย
เกลือสมุทร
½ ช้อนชา
น้ำปลา
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลมะพร้าว
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย
1 ช้อนโต๊ะ
ถั่วลิสงคั่วบด
1 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเจ้าสำหรับเป็นแป้งนวล
ใบตองสำหรับรองนึ่ง
น้ำสำหรับพรมตัวขนม
น้ำมันกระเทียมเจียวสำหรับทาใบตองและตัวขนม
ผักกาดหอม ผักชี และพริกขี้หนูสวน สำหรับจัดเสิร์ฟ
อุปกรณ์จำเป็น แหนบ กระทะทองเหลือง ลังถึง
METHOD
1. ทำแป้งขนมจีบไทยโดยผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม และแป้งมัน ในอ่างผสม ค่อยๆ เติมน้ำ นวดจนแป้งเป็นก้อนเนียน เทน้ำที่เหลือจนหมดเพื่อคลายแป้ง ใส่กะทิ คนให้เข้ากัน เทส่วนผสมแป้งลงในกระทะทองเหลือง ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง กวนจนแป้งจับตัวเป็นก้อนและล่อนจากกระทะ (ทดสอบโดยเมื่อใช้นิ้วแตะแป้งแล้วไม่ติดนิ้ว) ปิดไฟ ตักแป้งใส่อ่างผสมที่โรยแป้งนวลไว้บางๆ จุ่มมือในแป้งนวลแล้วนวดแป้งที่กวนขณะร้อนๆ จนแป้งนุ่มเนียนและไม่ติดมือ คลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด พักไว้ (ทำแป้งขนมจีบนกเช่นเดียวกันโดยใช้น้ำดอกอัญชันแทน)
2. ทำไส้หมูโดยโขลกรากผักชี กระเทียม และพริกไทย เข้าด้วยกันให้ละเอียด ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลาง พอน้ำมันเริ่มร้อน ใส่เครื่องที่โขลกลงผัดให้หอม ใส่หอมใหญ่ หอมแดง ผัดจนสุกใส ใส่หมูสับและเนื้อกุ้งลงผัดพอสุก ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำตาลทราย ผัดต่อจนไส้เริ่มแห้ง ใส่ถั่วลิสงคั่วบด ผัดให้เข้ากัน ปิดไฟ พักไว้ให้เย็น
3. ทำขนมจีบไทยโดยปั้นแป้งเป็นก้อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว (ก้อนละ 15 กรัม) ใช้นิ้วกดตรงกลางให้เป็นรูปเบ้า แผ่แป้งด้านข้างออกให้มีลักษณะเป็นถ้วย ตักไส้หมูใส่ตรงกลางประมาณ 1 ช้อนชา แล้วรวบแป้งปิดให้เป็นคอขึ้นมาคล้ายรูปคนโท ใช้แหนบจุ่มลงในแป้งนวล เคาะให้แป้งติดแหนบบางๆ หนีบแป้งด้านข้างเป็นจีบโดยรอบและหนีบเป็นปากขวด ทำจนหมด ทำขนมจีบนกเช่นเดียวกัน โดยหลังจากหนีบแป้งด้านข้างเป็นจีบโดยรอบแล้ว ใช้พริกชี้ฟ้าสีแดงติดเป็นปากนกและงาดำติดเป็นตานก ทำจนหมดแป้ง
4. ใส่น้ำในหม้อลังถึง ¾ ของหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง เตรียมไว้ ฉีกใบตองเป็นริ้วๆ วางเรียงในลังถึง ทาด้วยน้ำมันกระเทียมเจียว นำขนมมาเรียงบนใบตอง ใช้กระบอกฉีด (ฟ็อกกี้) ฉีดพรมน้ำให้ทั่ว นำไปนึ่งนาน 15 นาที จนสุก ยกลง พรมน้ำและน้ำมันกระเทียมเจียว
5. จัดใส่จาน เสิร์ฟกับผักกาดหอม ผักชี และพริกขี้หนูสวน
อ่านบทความเพิ่มเติม
Gallery
Tags:
กะทิ, กุ้งสับ, ของว่างไทยโบราณ, ดอกอัญชัน, ถั่วลิสงคั่วบด, นึ่ง, ผัด, สามเกลอ, หมูสับ, อาหารว่างไทย, แป้งข้าวเจ้า, แป้งมันสำปะหลัง, แป้งเท้ายายม่อม
Recommended Articles
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
ขนมไทยทำง่าย มือใหม่ก็ทำได้กับเมนู กล้วยบวชชี เคล็ดลับคือการเลือกกล้วยน้ำว้าที่สุกกำลังดีไม่สุกนิ่มเกินไปหรือดิบจนฝาด นำมาต้มจนเปลือกปริเพื่อไล่ยางออกจะทำให้กล้วยเนื้อเเนน ไม่เละเเละไม่ดำ ปรุงรสกะทิด้วยน้ำตาลมะพร้าวเเท้เกลือนิดหน่อย ใส่กล้วยลงต้มให้รสชาติซึมเข้าเนื้อ โรยงาขาวคั่ว เพียงเท่านี้ก็ได้เอาไว้กินกันทั้งครอบครัวเเล้ว
มันม่วงญี่ปุ่นเป็นพืชเติบโตง่ายในแถบเอเชีย แต่ละประเทศมีวิธีกินต่างกันไป เช่น ต้ม เผา นึ่งกินทั้งหัว หรือทำขนมต่างๆ หากพูดถึงประเทศที่ใช้มันม่วงญี่ปุ่นทำขนมมากที่สุด คงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นเพราะใช้ทำขนมสไตล์วากาชิและโยกาชิ (วากาชิคือขนมดั้งเดิมของญี่ปุ่น โยกาชิคือขนมญี่ปุ่นสไตล์ฝรั่ง) โดยนิยมใช้ทั้งมันญี่ปุ่นสีม่วงและสีเหลือง เราขอแนะนำ “ทาร์ตมันม่วง” ของฝากขึ้นชื่อจากโอกินาวา อันเป็นแหล่งปลูกมันม่วงชั้นดี ปัจจุบันหาซื้อมันม่วงญี่ปุ่นได้ตามซูเปอร์มาร์เกตทั่วไป อีกทั้งสูตรนี้ยังทำง่าย มีรสหวานและกลิ่นหอมของมันถ้าจะให้ดีลองใช้น้ำตาลทรายแดงซึ่งเป็นของขึ้นชื่ออีกอย่างของโอกินาวา จะทำให้ทาร์ตมีรสหวานกลมกล่อมยิ่งขึ้น
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
ขนมไทยทำง่าย มือใหม่ก็ทำได้กับเมนู กล้วยบวชชี เคล็ดลับคือการเลือกกล้วยน้ำว้าที่สุกกำลังดีไม่สุกนิ่มเกินไปหรือดิบจนฝาด นำมาต้มจนเปลือกปริเพื่อไล่ยางออกจะทำให้กล้วยเนื้อเเนน ไม่เละเเละไม่ดำ ปรุงรสกะทิด้วยน้ำตาลมะพร้าวเเท้เกลือนิดหน่อย ใส่กล้วยลงต้มให้รสชาติซึมเข้าเนื้อ โรยงาขาวคั่ว เพียงเท่านี้ก็ได้เอาไว้กินกันทั้งครอบครัวเเล้ว
มันม่วงญี่ปุ่นเป็นพืชเติบโตง่ายในแถบเอเชีย แต่ละประเทศมีวิธีกินต่างกันไป เช่น ต้ม เผา นึ่งกินทั้งหัว หรือทำขนมต่างๆ หากพูดถึงประเทศที่ใช้มันม่วงญี่ปุ่นทำขนมมากที่สุด คงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นเพราะใช้ทำขนมสไตล์วากาชิและโยกาชิ (วากาชิคือขนมดั้งเดิมของญี่ปุ่น โยกาชิคือขนมญี่ปุ่นสไตล์ฝรั่ง) โดยนิยมใช้ทั้งมันญี่ปุ่นสีม่วงและสีเหลือง เราขอแนะนำ “ทาร์ตมันม่วง” ของฝากขึ้นชื่อจากโอกินาวา อันเป็นแหล่งปลูกมันม่วงชั้นดี ปัจจุบันหาซื้อมันม่วงญี่ปุ่นได้ตามซูเปอร์มาร์เกตทั่วไป อีกทั้งสูตรนี้ยังทำง่าย มีรสหวานและกลิ่นหอมของมันถ้าจะให้ดีลองใช้น้ำตาลทรายแดงซึ่งเป็นของขึ้นชื่ออีกอย่างของโอกินาวา จะทำให้ทาร์ตมีรสหวานกลมกล่อมยิ่งขึ้น
‘น้อยหน่า’ ผลไม้ไทยรสหอมหวานเนื้อละมุนลิ้นที่นอกจากกินเป็นผลไม้แล้วคนโบราณยังนิยมนำมาทำเป็นของหวานได้อีกด้วยกับเมนู น้อยหน่าน้ำกะทิ ซึ่งจะใช้น้อยหน่าหนังพันธุ์เพชรปากช่อง ความพิเศษของพันธุ์นี้คือ ลูกใหญ่ เนื้อเยอะ เมื่อสุกกำลังดีเนื้อจะนุ่มหนึบไม่เละง่าย ที่สำคัญเมล็ดน้อย เป็นเมนูขนมหวานที่ไม่อยากให้พลาดในฤดูกาลนี้จริงๆ
ปลาเค็มทอดกะทิ เป็นเมนูเด็ดประจำ ‘ร้านยายปวด‘ ร้านอาหารพื้นเมืองเก่าแก่ของจังหวัดชุมพร เรียกว่าใครมาร้านยายปวดต้องสั่ง! ถ้าไม่สั่งถือว่ามาไม่ถึง! วัตถุดิบหลักๆ จะใช้ปลาอินทรีเค็มทอดมาเคี่ยวกับหัวกะทิจนแตกมัน เติมรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว ผัดจนเปลี่ยนสี รสจะออกหวานเค็มมัน หอมกลิ่นกะทิ กินคู่กับผักสด หอมแดง กระเทียมและพริกขี้หนูซอยคล้ายเมนูประเภทน้ำพริก ลักษณะหน้าตาถึงจะดูไม่เป็นรูปเป็นร่าง สีออกคล้ำๆ หน่อย แต่บอกเลยว่าอร่อยมาก
ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี
ขนมไทยทำง่าย มือใหม่ก็ทำได้กับเมนู กล้วยบวชชี เคล็ดลับคือการเลือกกล้วยน้ำว้าที่สุกกำลังดีไม่สุกนิ่มเกินไปหรือดิบจนฝาด นำมาต้มจนเปลือกปริเพื่อไล่ยางออกจะทำให้กล้วยเนื้อเเนน ไม่เละเเละไม่ดำ ปรุงรสกะทิด้วยน้ำตาลมะพร้าวเเท้เกลือนิดหน่อย ใส่กล้วยลงต้มให้รสชาติซึมเข้าเนื้อ โรยงาขาวคั่ว เพียงเท่านี้ก็ได้เอาไว้กินกันทั้งครอบครัวเเล้ว
มันม่วงญี่ปุ่นเป็นพืชเติบโตง่ายในแถบเอเชีย แต่ละประเทศมีวิธีกินต่างกันไป เช่น ต้ม เผา นึ่งกินทั้งหัว หรือทำขนมต่างๆ หากพูดถึงประเทศที่ใช้มันม่วงญี่ปุ่นทำขนมมากที่สุด คงนึกถึงประเทศญี่ปุ่นเพราะใช้ทำขนมสไตล์วากาชิและโยกาชิ (วากาชิคือขนมดั้งเดิมของญี่ปุ่น โยกาชิคือขนมญี่ปุ่นสไตล์ฝรั่ง) โดยนิยมใช้ทั้งมันญี่ปุ่นสีม่วงและสีเหลือง เราขอแนะนำ “ทาร์ตมันม่วง” ของฝากขึ้นชื่อจากโอกินาวา อันเป็นแหล่งปลูกมันม่วงชั้นดี ปัจจุบันหาซื้อมันม่วงญี่ปุ่นได้ตามซูเปอร์มาร์เกตทั่วไป อีกทั้งสูตรนี้ยังทำง่าย มีรสหวานและกลิ่นหอมของมันถ้าจะให้ดีลองใช้น้ำตาลทรายแดงซึ่งเป็นของขึ้นชื่ออีกอย่างของโอกินาวา จะทำให้ทาร์ตมีรสหวานกลมกล่อมยิ่งขึ้น
Recommended Videos