เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
4 คน
Level
3
แกงขนุนอ่อนอาหารภาคเหนือ แกงขนุนหรือแกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล นิยมทำแกงขนุขนี้กินในงานมงคล เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน ตัวขนุนอ่อนพอต้มไปกับน้ำแกงให้รสสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ อร่อยมากๆ
INGREDIENTS
น้ำ
7 ถ้วย
ขนุนอ่อนหั่นชิ้นเอาแกนออก
700 กรัม
มะเขือส้มบุบพอแตก
1 ถ้วย
ชะอมเด็ด
1/2 ถ้วย
ซีอิ๊วขาว
1 ช้อนโต๊ะ
พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำจนนุ่ม
9 เม็ด
เกลือสมุทร (ดอกเกลือ)
1 ช้อนชา
กระเทียมไทย
9 กลีบ
หอมแดงหั่น
7 หัว
ปลาร้าเจ
2 ช้อนชา
เห็ดฟางดอกบาน
100 กรัม
METHOD
- ทำน้ำพริกแกงโดยโขลกพริกแห้งกับเกลือเข้าด้วยกันให้ละเอียด ใส่กระเทียมและหอมแดง โขลกรวมกันจนละเอียด ใส่ปลาร้าเจ และเห็ดฟาง โขลกรวมกันจนละเอียดดีตักใส่ถ้วย พักไว้
- ใส่น้ำลงในหม้อ ใส่น้ำพริกแกงที่โขลกคนให้เข้ากันทั่ว ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง พอเดือดใส่ขนุนอ่อน ลดไฟลง ต้มนานประมาณ 30 นาที จนขนุนสุก ใส่มะเขือส้ม และชะอม พอเดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ชิมรสให้เค็มเปรี้ยวพอดี ปิดไฟ
- ตักใส่ถ้วย เสิร์ฟร้อนๆ
Tags:
กระเทียมไทย, ก้อนแกงกะหรี่, ขนุขอ่อน, ขนุน, ชะอม, ปลาร้าเจ, หอมแดง, เครื่องแกง, แกงกะทิ, แกงไทย
Recommended Articles
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงหน่อไม้ฉบับลูกอีสาน นำหน่อไม้หวานเเละเห็ดขม เห็ดพื้นถิ่นที่ขึ้นตามสวนยูคาลิปตัส มีรสขม ต้องมาต้มล้างความขมออกก่อนประมาณ 2-3 รอบ ก่อนนำไปต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างมะเขือพวงเเละกระชาย เพิ่มความนัวด้วยข้าวเบือเเละน้ำปลาร้า ต้มจนน้ำแกงเข้าเนื้อ รสเข้มข้น เติมพริกอีสานลูกโดดลงไปเเพิ่มความจัดจ้าน กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแหละ
ภาคใต้ก็ทำเมนูไข่มดแดงกินเช่นเดียวกับครัวล้านนาและครัวอีสานเช่นกัน แต่ว่าทางภาคใต้จะนิยมนำมาต้มกับกะทิ คล้ายกับเมนูใบเหลียง รสชาติจะออกมันๆหวานๆหอมกลิ่นเครื่องสมุนไพรอย่างตะไคร้และหอมแดง มีความเผ็ดเล็กน้อยจากการบุบพริกขี้หนูสวนใส่ลงไปตอนท้าย ความลงตัวกันของกะทิและไข่มดแดงนั้นทำให้ออกมาเป็นเมนูที่อร่อยเลย
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงหน่อไม้ฉบับลูกอีสาน นำหน่อไม้หวานเเละเห็ดขม เห็ดพื้นถิ่นที่ขึ้นตามสวนยูคาลิปตัส มีรสขม ต้องมาต้มล้างความขมออกก่อนประมาณ 2-3 รอบ ก่อนนำไปต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างมะเขือพวงเเละกระชาย เพิ่มความนัวด้วยข้าวเบือเเละน้ำปลาร้า ต้มจนน้ำแกงเข้าเนื้อ รสเข้มข้น เติมพริกอีสานลูกโดดลงไปเเพิ่มความจัดจ้าน กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแหละ
ภาคใต้ก็ทำเมนูไข่มดแดงกินเช่นเดียวกับครัวล้านนาและครัวอีสานเช่นกัน แต่ว่าทางภาคใต้จะนิยมนำมาต้มกับกะทิ คล้ายกับเมนูใบเหลียง รสชาติจะออกมันๆหวานๆหอมกลิ่นเครื่องสมุนไพรอย่างตะไคร้และหอมแดง มีความเผ็ดเล็กน้อยจากการบุบพริกขี้หนูสวนใส่ลงไปตอนท้าย ความลงตัวกันของกะทิและไข่มดแดงนั้นทำให้ออกมาเป็นเมนูที่อร่อยเลย
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงหน่อไม้ฉบับลูกอีสาน นำหน่อไม้หวานเเละเห็ดขม เห็ดพื้นถิ่นที่ขึ้นตามสวนยูคาลิปตัส มีรสขม ต้องมาต้มล้างความขมออกก่อนประมาณ 2-3 รอบ ก่อนนำไปต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างมะเขือพวงเเละกระชาย เพิ่มความนัวด้วยข้าวเบือเเละน้ำปลาร้า ต้มจนน้ำแกงเข้าเนื้อ รสเข้มข้น เติมพริกอีสานลูกโดดลงไปเเพิ่มความจัดจ้าน กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแหละ
ภาคใต้ก็ทำเมนูไข่มดแดงกินเช่นเดียวกับครัวล้านนาและครัวอีสานเช่นกัน แต่ว่าทางภาคใต้จะนิยมนำมาต้มกับกะทิ คล้ายกับเมนูใบเหลียง รสชาติจะออกมันๆหวานๆหอมกลิ่นเครื่องสมุนไพรอย่างตะไคร้และหอมแดง มีความเผ็ดเล็กน้อยจากการบุบพริกขี้หนูสวนใส่ลงไปตอนท้าย ความลงตัวกันของกะทิและไข่มดแดงนั้นทำให้ออกมาเป็นเมนูที่อร่อยเลย
Recommended Videos