เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

Serves
2 คน
Level
3
แกงนางลอย กับข้าวชาววัง เป็นแกงประเภทแกงเผ็ดที่เข้ากะทิ ที่มีนางเอกก็คือพริกหยวก สีเขียวอ่อน รสชาติหวานกรอบ ก็นำมาผ่านำเมล็ดพริกและไส้พริกออก นำหมูบดที่ปรุงรสด้วยเกลือและสามเกลอ สอดไส้ใส่ลงไปให้ขนาดพอดีกับพริกหยวก จะใช้ไก่สับหรือหมูสับก็แล้วแต่สะดวก ผัดน้ำพริกแกงกับกะทิ ให้หอมและแตกมัน ปรุงรสด้วย น้ำตาลมะพร้าวและน้ำปลา ให้รสชาติหวาน เค็ม กลมกล่อม นำพริกหยวกที่ยัดไส้มาเคี่ยวกับน้ำแกงเผ็ด รอให้เดือดซักครู่ ตักใส่ถ้วย เสิร์ฟกับข้าวสวยร้อนๆ แกงนางลอย รสชาติ จะหวานนำเค็ม และมีรสกลมกล่อมที่ได้จากกะทิคั้นสด เป็นความอร่อยที่หารับประทานได้ยาก ในยุคปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังสามารถทำได้เอง วิธีการทำการแกงไทยโบราณตามตำรับดั้งเดิม ที่ยังคงมีมนต์เสน่ห์ในตัวเอง ให้คนรุ่นใหม่ๆ ได้รู้จักกัน และช่วยกันสืบสาน เพื่อรักษาเอกลักษณ์มรดกทางวัฒนธรรมนี้เอาไว้ไม่ให้สูญหายไปไหน
INGREDIENTS
กระเทียมไทยแกะเปลือก
2 ช้อนโต๊ะ
รากผักชีซอย
2 ราก
พริกไทยขาวเม็ด
1/2 ช้อนชา
หมูสับติดมัน
300 กรัม
เกลือสมุทร
1/2 ช้อนชา
พริกหยวก
7-8 เม็ด
หัวกะทิ
2 ถ้วย
พริกแกงเผ็ด
3 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลมะพร้าว
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา
1 ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูดซอย
4 ใบ
ใบมะกรูดซอยและพริกชี้สีฟ้าแดงหั่นเส้นสำหรับตกแต่ง
ลูกผักชีคั่ว
1 ช้อนโต๊ะ
ยี่หร่าคั่ว
1 1/2 ช้อนชา
พริกไทยขาวเม็ด
5 เม็ด
พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกเเช่น้ำจนนุ่ม
5 เม็ด
เกลือสมุทร
1 ช้อนชา
ข่าเเก่หั่นละเอียด
1 1/2 ช้อนชา
ตะไคร้ซอย
1 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูดหั่นละเอียด
2 ช้อนชา
รากผักชีหั่นละเอียด
2 ช้อนชา
กระเทียมไทยเเกะเปลือก
10 กลีบ
หอมแดงซอย
5 หัว
METHOD
1. โขลกกระเทียม รากผักชีและพริกไทยขาว เข้าด้วยกันพอหยาบ หมักหมูสับด้วยเครื่องที่โขลกไว้ ตามด้วยเกลือสมุทร คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 15 นาทีในตู้เย็นช่องธรรมดา
2. ทำน้ำพริกแกงเผ็ดโดยโขลกลูกผักชี ยี่หร่า และพริกไทยให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย พักไว้ โขลกพริกแห้งกับเกลือเข้าด้วยกัน ใส่ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด และรากผักชี โขลกให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยใส่ทีละอย่างตามลำดับ ใส่กระเทียม หอมแดง โขลกให้เข้ากัน ตามด้วยเครื่องเทศที่โขลกไว้ และกะปิ โขลกต่อจนเป็นเนื้อเดียวกัน ตักใส่ถ้วย พักไว้
3. ใช้มีดกรีดพริกหยวกตามแนวยาว เอาไส้พริกหยวกออก ทำจนหมด นำหมูที่หมักไว้ ยัดไส้เข้าไปจนเต็ม นำไปนึ่งบนลังถึง นาน 5 นาทีพอให้ไส้ตึงตัว
4. ตั้งกระทะบนไฟกลาง ใส่หัวกะทิ ½ ถ้วย ตามด้วยน้ำพริกแกงเผ็ด ผัดจนพริกแกงหอม ตามด้วยหัวกะทิที่เหลือ พริกหยวกยัดไส้ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาทีพอให้น้ำแกงซึมเข้าพริกหยวกและไส้สุกดี ปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว และน้ำปลา ปิดไฟ ตักใส่จาน ตกแต่งด้วยใบมะกรูดซอยและพริกชี้ฟ้าแดงหั่นเส้น
อ่านบทความเพิ่มเติม
Tags:
กะทิสด, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำปลา, พริกหยวก, สามเกลอ, หมูสับ, เครื่องแกง, แกงไทย, แกงไทยโบราณ, ใบมะกรูด
Recommended Articles

ต้มกะทิสายบัวถือเป็นเมนูต้มกะทิที่ได้รับความนิยมอีกเมนูนึง ด้วยรสชาติที่มีครบรสทั้งเปรี้ยว หวาน เค็มนิดๆ และหากได้ความหอมมันจากกะทิคั้นสดด้วยแล้วยิ่งอร่อยเป็นพิเศษ เลือกใช้สายบัวที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป นำมาต้มกับกะทิใส่ปลาทู ปรุงรสแค่น้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะขามเปียก เพียงเท่านี้ก็ได้ต้มกะทิสายบัวไว้กินแล้ว

แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล

ต้มกะทิสายบัวถือเป็นเมนูต้มกะทิที่ได้รับความนิยมอีกเมนูนึง ด้วยรสชาติที่มีครบรสทั้งเปรี้ยว หวาน เค็มนิดๆ และหากได้ความหอมมันจากกะทิคั้นสดด้วยแล้วยิ่งอร่อยเป็นพิเศษ เลือกใช้สายบัวที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป นำมาต้มกับกะทิใส่ปลาทู ปรุงรสแค่น้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะขามเปียก เพียงเท่านี้ก็ได้ต้มกะทิสายบัวไว้กินแล้ว

แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล

ต้มกะทิสายบัวถือเป็นเมนูต้มกะทิที่ได้รับความนิยมอีกเมนูนึง ด้วยรสชาติที่มีครบรสทั้งเปรี้ยว หวาน เค็มนิดๆ และหากได้ความหอมมันจากกะทิคั้นสดด้วยแล้วยิ่งอร่อยเป็นพิเศษ เลือกใช้สายบัวที่ไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป นำมาต้มกับกะทิใส่ปลาทู ปรุงรสแค่น้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะขามเปียก เพียงเท่านี้ก็ได้ต้มกะทิสายบัวไว้กินแล้ว

แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
Recommended Videos