เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

Serves
4 คน
Level
4
อาหารจานนี้เป็นสำรับที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและเพียรหาพยายามหาสิ่งต่างๆนอกฤดูกาลของคนปรุง ยำทวายจึงถือเป็นสำรับพิเศษที่แม้แต่ในรั้วในวังเองก็จะทำเฉพาะเวลามีงานใหญ่เท่านั้น ลักษณะพิเศษของยำทวายจะมีการหั่นผักจะไม่เหมือนยำอื่นๆคือต้องหั่นเป็นเส้นยาว เลือกใช้ผักบุ้งไทย ถั่วงอก หน่อไม้ มะเขือยาว ถั่วฝักยาว หัวปลี และมีพริกหยวกเพื่อตัดเลี่ยน สูตรโบราณจะใช้เนื้ออกไก่ต้มฉีกเป็นฝอยๆ ส่วนน้ำยำปรุงจากพริกแกงแดง สีน้ำยำแดงวาวจากน้ำมันพริก หอมน่ารับประทาน รสชาติเข้มข้นออกรสหวานอมเปรี้ยว แต่ไม่บาดคอ เพราะกลมกล่อมด้วยเนื้อปลาสลาดย่างโขลกจนฟูที่ตำไปกับพริกแกง เมื่อจัดเสิร์ฟจึงราดน้ำยำบนผักลวก หยอดหน้าด้วยหัวกะทิ โรยอกไก่ฉีก หอมเจียว และงาขาวคั่ว (ซึ่งบางตำรับก็ว่าไม่ใส่)
INGREDIENTS
ผักบุ้งไทยอ่อนจักเป็นเส้น 2 นิ้ว
½ ถ้วย
ถั่วฝักยาวหั่นท่อน 2 นิ้ว
½ ถ้วย
หน่อไม้ต้มหั่นเส้น 2 นิ้ว
½ ถ้วย
มะเขือยาวหั่นเส้น 2 นิ้ว
½ ถ้วย
ถั่วงอกเด็ดหางลวกน้ำผสมขมิ้น
½ ถ้วย
หัวปลีซอย
½ ถ้วย
พริกหยวกซอยเส้น 2 นิ้ว
½ ถ้วย
หางกะทิสำหรับลวกผัก
2 ถ้วย
อกไก่ต้มสุกฉีกฝอย
¼ ถ้วย
กุ้งแห้งป่น งาขาวคั่ว และหอมแดงเจียวสำหรับโรย
หัวกะทิสำหรับหยอดหน้า
พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำจนนุ่ม
5 เม็ด
เกลือสมุทร
1 ช้อนชา
กระเทียมไทย
15 กลีบ
หอมแดงซอย
5 หัว
ข่าแก่หั่นฝอย
½ ช้อนชา
ตะไคร้ซอย
1 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูด
¼ ช้อนชา
กะปิ
1 ช้อนชา
ปลาช่อนแห้งปิ้ง แกะแต่เนื้อนำมาป่น
½ ถ้วย
อกไก่ต้มสุกฉีกฝอย
2 ช้อนโต๊ะ
หัวกะทิ
1 ถ้วย
น้ำตาลมะพร้าว
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขามเปียก
3 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา
1 ช้อนโต๊ะ
METHOD
1. ทำเครื่องแกงของน้ำยำโดยโขลกพริกแห้งกับเกลือสมุทรจนละเอียด ตามด้วยกระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด และกะปิ ให้ละเอียด ใส่เนื้อปลาช่อนป่นและอกไก่ต้มฉีก โขลกรวมกันให้ละเอียดเข้ากันดี ตักขึ้นพักไว้
2. นำหัวกะทิครึ่งหนึ่งใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลางพอเดือด ใส่เครื่องแกงที่โขลก ผัดพอมีกลิ่นหอมและเป็นมันวาวแต่ไม่แตกมัน ใส่หัวกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊ป น้ำมะขามเปียก และน้ำปลา เคี่ยวพอข้น ชิมปรับรสตามชอบ ปิดไฟ พักไว้
3. เตรียมผักโดยนำหางกะทิที่เหลือใส่หม้อตั้งบนไฟกลางให้เดือด เอาผักต่างๆลงลวกทีละอย่าง หัวปลีต้มสุดท้าย จัดผักต่างๆใส่จาน เรียงสลับให้ดูสวยงาม
4. นำจานผักที่จัดไว้ราดหน้าด้วยน้ำพริก หัวกะทิ อกไก่ กุ้งแห้งป่น สลับกันให้ดูน่ารับประทาน โรยหน้าด้วยหอมเจียวและงาคั่ว
อ่านบทความเพิ่มเติม
Recommended Articles

หนึ่งในขนมไทยที่เก่าแก่ที่สุดก็เป็นได้ เพราะเป็นอาหารสมัยพุทธกาล มีระบุไว้ในพระวินัยปิฏกถึงประโยชน์ 5 ประการของข้าวยาคู ได้แก่ ช่วยบรรเทาความหิว ความกระหาย ทำให้ลมเดินสะดวก ช่วยชำระล้างลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร สมัยก่อนข้าวยาคูทำโดยนำรวงข้าวอ่อนที่ยังเป็นน้ำนมอยู่ มาตำให้เมล็ดแหลก นำไปคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำนมข้าวสีเขียว นำมากวนกับน้ำตาลให้พอข้น กินหยอดหน้ากับกะทิหรือมะพร้าวอ่อนก็ได้ ดังนั้นหากจะรับประทานข้าวยาคูนอกฤดูที่รวงข้าวตั้งท้อง จึงมีการใช้ใบต้นข้าวอ่อนหรือแม้กระทั่งใบเตยมาทดแทนกลิ่นและสีเขียวของเมล็ดข้าวอ่อนได้ เพิ่มความใกล้เคียงโดยการใช้ข้าวหอมมะลิมาแช่น้ำแล้วโม่หรือปั่นเป็นแป้งข้าวเจ้าสดเองก็ช่วยรักษารสชาติและแบบฉบับการทำข้าวยาคูแบบดั้งเดิมไว้ได้เช่นเดียวกัน สูตรนี้ใช้ใบข้าวอ่อน ที่หาซื้อจากศูนย์การเรียนรู้ภูกะเหรี่ยง จังหวัดนครนายก หากใครจะใช้ใบเตยแทนก็ได้เช่นกัน

“ยำส้มกะปิทรงเครื่อง” เป็นการนำเอากะปิมาละลายกับกะทิจากนั้นนำไปคั่วให้หอมในกระทะ แล้วปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำพริกเผา รสชาติที่ได้ก็หอมๆนวลกะปิ จากนั้นก็นำมาเคล้ากับส้มที่เตรียมไว้ แล้วเพิ่มความพิเศษของยำเข้าไปอีกด้วยการใส้เครื่องอย่างกระเทียมซอย หอมแดงซอย พริกจินดาแดงซอย มะพร้าวคั่ว เคล้าๆให้เข้ากัน จากนั้นก็ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมกับเนื้อปลากะพงแดงที่นำไปเคล้ากับเกลือ พริกไทยเล็กน้อย แล้วนำไปทอดให้หนังกรอบ เนื้อด้านในสุกกำลังดี ตกแต่งด้วยใบผักชี

‘แสร้งว่า’ จัดเป็นน้ำพริกเครื่องจิ้มผักดิบ มีเนื้อขลุกขลิก รสจัดจ้าน สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจาก ‘ยำไตปลา’ ของชาวปักษ์ใต้ ที่ประกอบด้วยไตปลา (ไตปลาเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของคนใต้ โดยใช้พุงปลาทะเลหมักกับเกลือ เช่น ไตปลาทู ปลากระบอก ปลากะพง ที่นิยมและจัดว่าเป็นไตปลาดี รสอร่อย คือไตปลาทู เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารใต้และเป็นวัตถุดิบหลักเช่นยำไตปลา) ดับกลิ่นคาวไตปลาด้วยเครื่องสมุนไพรอย่างขิง ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ใบมะกรูด ปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะกรูด น้ำมะนาว และน้ำตาล แต่ด้วยชาววังที่ไม่คุ้นเคยกับกลิ่นรสในตำรับท้องถิ่นใต้จานนี้ จึงมีการดัดแปลงวัตถุดิบหลักอย่างไตปลา เปลี่ยนมาใช้ปลาสลาดย่างและเยื่อเคยดี เช่น ตำรับที่บันทึกไว้ในแม่ครัวหัวป่าก์ หรือใช้กุ้งเผากับมันกุ้งเขละๆ ในตำรับสายเยาวภา ทุกตำรับยังคงเครื่องสมุนไพรดับคาวต่างๆ ไว้เช่นเดียวกับไตปลา แม้กระทั่งการปรุงรสเปรี้ยวจากน้ำมะนาว และน้ำมะกรูดซึ่งครัวใต้ใช้ดับกลิ่นคาวไตปลา หากในตำรับแสร้งว่าใส่เพื่อดับกลิ่นคาวกุ้งย่างและมันกุ้ง ผิดกันเพียงน้ำมะขามเปียกที่ใส่ในทุกตำรับแสร้งว่า ทว่ายำไตปลาจะไม่ใส่

น้ำพริกตำรับชาววังที่กลมกล่อมครบ 3 รสคือเปรี้ยว เค็ม หวาน ส่วนประกอบสำคัญของน้ำพริกลงเรือที่ขาดไม่ได้คือ น้ำพริกกะปิ หมูหวาน ปลาดุกฟูและกระเทียมดอง โดยจะผัดน้ำพริกกะปิกับหมูหวานให้เข้ากัน แล้วจึงใส่กระเทียมดองซอยลงไปให้รสหวานปะเเล่มเเละมีเนื้อกระเทียมกรอบๆเวลารับประทาน ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยปลาดุกฟู ไข่แดงเค็มปั้น และกระเทียมดองที่เหลือ

“ยำใบบัวบกกะทิ” เป็นการทำน้ำยำโดยโขลกพริกแห้งที่แช่น้ำแล้วจนนุ่ม กับหอมแดงและกระเทียมไทยที่นำไปเผาให้หอม แกะเอาเนื้อมาโขลกให้ละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเอาไปเคี่ยวกับกะทิให้หอมปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะนาว ให้ได้รสชาติเปรี้ยวนำ และเค็มหวานตามกันมา จากนั้นก็ย่างหมูย่างตะไคร้ที่หอมกลิ่นเครื่องหมักอย่างตะไคร้ กระเทียม และพริกไทย ย่างให้สุกหอมและหั่นเป็นชิ้นบางๆ ซอยใบบัวบกให้เป็นเส้นๆ เคล้ากับเครื่องยำอย่างหอมแดงซอย กระเทียมเจียว มะพร้าวคั่ว พริกจินดาซอย และมะเขือเทศราชินีหั่นครึ่ง เคล้ารวมกับน้ำยำเล็กน้อย แล้วจัดใส่จานเสิร์ฟกับหมูย่างตะไคร้ได้เลย

หนึ่งในขนมไทยที่เก่าแก่ที่สุดก็เป็นได้ เพราะเป็นอาหารสมัยพุทธกาล มีระบุไว้ในพระวินัยปิฏกถึงประโยชน์ 5 ประการของข้าวยาคู ได้แก่ ช่วยบรรเทาความหิว ความกระหาย ทำให้ลมเดินสะดวก ช่วยชำระล้างลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร สมัยก่อนข้าวยาคูทำโดยนำรวงข้าวอ่อนที่ยังเป็นน้ำนมอยู่ มาตำให้เมล็ดแหลก นำไปคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำนมข้าวสีเขียว นำมากวนกับน้ำตาลให้พอข้น กินหยอดหน้ากับกะทิหรือมะพร้าวอ่อนก็ได้ ดังนั้นหากจะรับประทานข้าวยาคูนอกฤดูที่รวงข้าวตั้งท้อง จึงมีการใช้ใบต้นข้าวอ่อนหรือแม้กระทั่งใบเตยมาทดแทนกลิ่นและสีเขียวของเมล็ดข้าวอ่อนได้ เพิ่มความใกล้เคียงโดยการใช้ข้าวหอมมะลิมาแช่น้ำแล้วโม่หรือปั่นเป็นแป้งข้าวเจ้าสดเองก็ช่วยรักษารสชาติและแบบฉบับการทำข้าวยาคูแบบดั้งเดิมไว้ได้เช่นเดียวกัน สูตรนี้ใช้ใบข้าวอ่อน ที่หาซื้อจากศูนย์การเรียนรู้ภูกะเหรี่ยง จังหวัดนครนายก หากใครจะใช้ใบเตยแทนก็ได้เช่นกัน

“ยำส้มกะปิทรงเครื่อง” เป็นการนำเอากะปิมาละลายกับกะทิจากนั้นนำไปคั่วให้หอมในกระทะ แล้วปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำพริกเผา รสชาติที่ได้ก็หอมๆนวลกะปิ จากนั้นก็นำมาเคล้ากับส้มที่เตรียมไว้ แล้วเพิ่มความพิเศษของยำเข้าไปอีกด้วยการใส้เครื่องอย่างกระเทียมซอย หอมแดงซอย พริกจินดาแดงซอย มะพร้าวคั่ว เคล้าๆให้เข้ากัน จากนั้นก็ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมกับเนื้อปลากะพงแดงที่นำไปเคล้ากับเกลือ พริกไทยเล็กน้อย แล้วนำไปทอดให้หนังกรอบ เนื้อด้านในสุกกำลังดี ตกแต่งด้วยใบผักชี

‘แสร้งว่า’ จัดเป็นน้ำพริกเครื่องจิ้มผักดิบ มีเนื้อขลุกขลิก รสจัดจ้าน สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจาก ‘ยำไตปลา’ ของชาวปักษ์ใต้ ที่ประกอบด้วยไตปลา (ไตปลาเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของคนใต้ โดยใช้พุงปลาทะเลหมักกับเกลือ เช่น ไตปลาทู ปลากระบอก ปลากะพง ที่นิยมและจัดว่าเป็นไตปลาดี รสอร่อย คือไตปลาทู เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารใต้และเป็นวัตถุดิบหลักเช่นยำไตปลา) ดับกลิ่นคาวไตปลาด้วยเครื่องสมุนไพรอย่างขิง ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ใบมะกรูด ปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะกรูด น้ำมะนาว และน้ำตาล แต่ด้วยชาววังที่ไม่คุ้นเคยกับกลิ่นรสในตำรับท้องถิ่นใต้จานนี้ จึงมีการดัดแปลงวัตถุดิบหลักอย่างไตปลา เปลี่ยนมาใช้ปลาสลาดย่างและเยื่อเคยดี เช่น ตำรับที่บันทึกไว้ในแม่ครัวหัวป่าก์ หรือใช้กุ้งเผากับมันกุ้งเขละๆ ในตำรับสายเยาวภา ทุกตำรับยังคงเครื่องสมุนไพรดับคาวต่างๆ ไว้เช่นเดียวกับไตปลา แม้กระทั่งการปรุงรสเปรี้ยวจากน้ำมะนาว และน้ำมะกรูดซึ่งครัวใต้ใช้ดับกลิ่นคาวไตปลา หากในตำรับแสร้งว่าใส่เพื่อดับกลิ่นคาวกุ้งย่างและมันกุ้ง ผิดกันเพียงน้ำมะขามเปียกที่ใส่ในทุกตำรับแสร้งว่า ทว่ายำไตปลาจะไม่ใส่

น้ำพริกตำรับชาววังที่กลมกล่อมครบ 3 รสคือเปรี้ยว เค็ม หวาน ส่วนประกอบสำคัญของน้ำพริกลงเรือที่ขาดไม่ได้คือ น้ำพริกกะปิ หมูหวาน ปลาดุกฟูและกระเทียมดอง โดยจะผัดน้ำพริกกะปิกับหมูหวานให้เข้ากัน แล้วจึงใส่กระเทียมดองซอยลงไปให้รสหวานปะเเล่มเเละมีเนื้อกระเทียมกรอบๆเวลารับประทาน ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยปลาดุกฟู ไข่แดงเค็มปั้น และกระเทียมดองที่เหลือ

“ยำใบบัวบกกะทิ” เป็นการทำน้ำยำโดยโขลกพริกแห้งที่แช่น้ำแล้วจนนุ่ม กับหอมแดงและกระเทียมไทยที่นำไปเผาให้หอม แกะเอาเนื้อมาโขลกให้ละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเอาไปเคี่ยวกับกะทิให้หอมปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะนาว ให้ได้รสชาติเปรี้ยวนำ และเค็มหวานตามกันมา จากนั้นก็ย่างหมูย่างตะไคร้ที่หอมกลิ่นเครื่องหมักอย่างตะไคร้ กระเทียม และพริกไทย ย่างให้สุกหอมและหั่นเป็นชิ้นบางๆ ซอยใบบัวบกให้เป็นเส้นๆ เคล้ากับเครื่องยำอย่างหอมแดงซอย กระเทียมเจียว มะพร้าวคั่ว พริกจินดาซอย และมะเขือเทศราชินีหั่นครึ่ง เคล้ารวมกับน้ำยำเล็กน้อย แล้วจัดใส่จานเสิร์ฟกับหมูย่างตะไคร้ได้เลย

หนึ่งในขนมไทยที่เก่าแก่ที่สุดก็เป็นได้ เพราะเป็นอาหารสมัยพุทธกาล มีระบุไว้ในพระวินัยปิฏกถึงประโยชน์ 5 ประการของข้าวยาคู ได้แก่ ช่วยบรรเทาความหิว ความกระหาย ทำให้ลมเดินสะดวก ช่วยชำระล้างลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร สมัยก่อนข้าวยาคูทำโดยนำรวงข้าวอ่อนที่ยังเป็นน้ำนมอยู่ มาตำให้เมล็ดแหลก นำไปคั้นเอาแต่น้ำ จะได้น้ำนมข้าวสีเขียว นำมากวนกับน้ำตาลให้พอข้น กินหยอดหน้ากับกะทิหรือมะพร้าวอ่อนก็ได้ ดังนั้นหากจะรับประทานข้าวยาคูนอกฤดูที่รวงข้าวตั้งท้อง จึงมีการใช้ใบต้นข้าวอ่อนหรือแม้กระทั่งใบเตยมาทดแทนกลิ่นและสีเขียวของเมล็ดข้าวอ่อนได้ เพิ่มความใกล้เคียงโดยการใช้ข้าวหอมมะลิมาแช่น้ำแล้วโม่หรือปั่นเป็นแป้งข้าวเจ้าสดเองก็ช่วยรักษารสชาติและแบบฉบับการทำข้าวยาคูแบบดั้งเดิมไว้ได้เช่นเดียวกัน สูตรนี้ใช้ใบข้าวอ่อน ที่หาซื้อจากศูนย์การเรียนรู้ภูกะเหรี่ยง จังหวัดนครนายก หากใครจะใช้ใบเตยแทนก็ได้เช่นกัน

“ยำส้มกะปิทรงเครื่อง” เป็นการนำเอากะปิมาละลายกับกะทิจากนั้นนำไปคั่วให้หอมในกระทะ แล้วปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำพริกเผา รสชาติที่ได้ก็หอมๆนวลกะปิ จากนั้นก็นำมาเคล้ากับส้มที่เตรียมไว้ แล้วเพิ่มความพิเศษของยำเข้าไปอีกด้วยการใส้เครื่องอย่างกระเทียมซอย หอมแดงซอย พริกจินดาแดงซอย มะพร้าวคั่ว เคล้าๆให้เข้ากัน จากนั้นก็ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมกับเนื้อปลากะพงแดงที่นำไปเคล้ากับเกลือ พริกไทยเล็กน้อย แล้วนำไปทอดให้หนังกรอบ เนื้อด้านในสุกกำลังดี ตกแต่งด้วยใบผักชี

‘แสร้งว่า’ จัดเป็นน้ำพริกเครื่องจิ้มผักดิบ มีเนื้อขลุกขลิก รสจัดจ้าน สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจาก ‘ยำไตปลา’ ของชาวปักษ์ใต้ ที่ประกอบด้วยไตปลา (ไตปลาเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารของคนใต้ โดยใช้พุงปลาทะเลหมักกับเกลือ เช่น ไตปลาทู ปลากระบอก ปลากะพง ที่นิยมและจัดว่าเป็นไตปลาดี รสอร่อย คือไตปลาทู เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารใต้และเป็นวัตถุดิบหลักเช่นยำไตปลา) ดับกลิ่นคาวไตปลาด้วยเครื่องสมุนไพรอย่างขิง ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ใบมะกรูด ปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะกรูด น้ำมะนาว และน้ำตาล แต่ด้วยชาววังที่ไม่คุ้นเคยกับกลิ่นรสในตำรับท้องถิ่นใต้จานนี้ จึงมีการดัดแปลงวัตถุดิบหลักอย่างไตปลา เปลี่ยนมาใช้ปลาสลาดย่างและเยื่อเคยดี เช่น ตำรับที่บันทึกไว้ในแม่ครัวหัวป่าก์ หรือใช้กุ้งเผากับมันกุ้งเขละๆ ในตำรับสายเยาวภา ทุกตำรับยังคงเครื่องสมุนไพรดับคาวต่างๆ ไว้เช่นเดียวกับไตปลา แม้กระทั่งการปรุงรสเปรี้ยวจากน้ำมะนาว และน้ำมะกรูดซึ่งครัวใต้ใช้ดับกลิ่นคาวไตปลา หากในตำรับแสร้งว่าใส่เพื่อดับกลิ่นคาวกุ้งย่างและมันกุ้ง ผิดกันเพียงน้ำมะขามเปียกที่ใส่ในทุกตำรับแสร้งว่า ทว่ายำไตปลาจะไม่ใส่

น้ำพริกตำรับชาววังที่กลมกล่อมครบ 3 รสคือเปรี้ยว เค็ม หวาน ส่วนประกอบสำคัญของน้ำพริกลงเรือที่ขาดไม่ได้คือ น้ำพริกกะปิ หมูหวาน ปลาดุกฟูและกระเทียมดอง โดยจะผัดน้ำพริกกะปิกับหมูหวานให้เข้ากัน แล้วจึงใส่กระเทียมดองซอยลงไปให้รสหวานปะเเล่มเเละมีเนื้อกระเทียมกรอบๆเวลารับประทาน ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยปลาดุกฟู ไข่แดงเค็มปั้น และกระเทียมดองที่เหลือ

“ยำใบบัวบกกะทิ” เป็นการทำน้ำยำโดยโขลกพริกแห้งที่แช่น้ำแล้วจนนุ่ม กับหอมแดงและกระเทียมไทยที่นำไปเผาให้หอม แกะเอาเนื้อมาโขลกให้ละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเอาไปเคี่ยวกับกะทิให้หอมปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะนาว ให้ได้รสชาติเปรี้ยวนำ และเค็มหวานตามกันมา จากนั้นก็ย่างหมูย่างตะไคร้ที่หอมกลิ่นเครื่องหมักอย่างตะไคร้ กระเทียม และพริกไทย ย่างให้สุกหอมและหั่นเป็นชิ้นบางๆ ซอยใบบัวบกให้เป็นเส้นๆ เคล้ากับเครื่องยำอย่างหอมแดงซอย กระเทียมเจียว มะพร้าวคั่ว พริกจินดาซอย และมะเขือเทศราชินีหั่นครึ่ง เคล้ารวมกับน้ำยำเล็กน้อย แล้วจัดใส่จานเสิร์ฟกับหมูย่างตะไคร้ได้เลย
Recommended Videos