เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

food story

Cibophobia กลัวอาหารมีจริงนะ!

Story by สุริวัสสา กล่อมเดช

ทำความเข้าใจโรคกลัวอาหาร โรคที่เกิดขึ้นได้และไม่ใช่เรื่องแปลก

“เอาออกไปไกลๆ ฉันเกลียดช็อกโกแลต!”

“อี๋ แค่เห็นก็คลื่นไส้จะแย่ละ”

ใครตั้งใจเอาช็อกโกแลตไปให้คนที่ชอบในวันวาเลนไทน์ เจอประโยคนี้เข้าไป อย่าเพิ่งถอดใจนะ เพราะถ้าอาการรังเกียจและกลัวรุนแรงขนาดนี้ เขาคงไม่ได้ปฏิเสธเรา แต่อาจเป็น Cibophobia อยู่ก็ได้ (เอ๊ะ หรือจริงๆ แล้วเขาปฏิเสธเรา) มาทำความเข้าใจกันก่อน 

 

 

 

 

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Food phobia อาการกลัวเกี่ยวกับอาหาร ซึ่งแยกย่อยออกมาได้หลายกลุ่มลักษณะ เช่น Mageirocophobia คือกลัวการทำอาหาร Food neophobia คือกลัวอาหารชนิดใหม่ที่เพิ่งเคยรู้จัก สำหรับอาการกลัวอาหารทางการแพทย์เรียกว่า Cibophobia เป็นโรคชนิดหนึ่งที่แค่เห็นอาหาร นึกถึง หรือแม้แต่ได้ยินชื่ออาหารที่กลัวก็ชวนให้กะอักกระอ่วน วิตกกังวล คลื่นไส้อาเจียน คนเป็นโรคกลัวอาหารอาจกลัวอาหารและเครื่องดื่มเกือบทั้งหมด หรือเจาะจงชนิดอาหารที่กลัว อาหารชนิดไหนที่พบคนกลัวมีความเฉพาะเจาะจงก็มีชื่อกำกับทางการแพทย์แยกย่อยออกมาอีก เช่น กลัวช็อกโกแลต เรียกว่า Xocolatophobia คือไม่กลัวอาหารหรือเครื่องดื่มใดๆ นอกจากช็อกโกแลต อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของช็อกโกแลตเท่านั้น

 

 

 

 

Cibophobia,food phobia,โรคกลัวอาหาร

 

 

 

 

คนที่เป็นโรคกลัวอาหาร (Cibophobia) อาจกลัวอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด หรือกลัวเฉพาะเจาะจงบางชนิด โดยอาหารที่มักทำให้เกิดอาการกลัว เช่น

 

 

 

 

อาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น มายองเนส นม ผลไม้ ผักสด และเนื้อสัตว์ ที่เชื่อว่าเป็นอาหารเน่าเสียง่าย ทำให้เกิดความกังวล กลัวว่าถ้ากินเข้าไปแล้วจะทำให้ป่วย เลยเลือกที่จะไม่กินดีกว่า
อาหารที่ปรุงไม่สุก ความกลัวที่มากเกินไป กังวลว่าอาหารที่กินจะยังปรุงไม่สุก ถ้ากินแล้วจะทำให้เจ็บป่วย จึงหลีกเลี่ยงโดยการปรุงเองจนแน่ใจว่าอาหารนั้นสุกจริงๆ ถึงขั้นปรุงจนแห้ง หรือปรุงให้ไหม้ไปเลย 
อาหารใกล้หมดอายุ กลัวอาหารที่ใกล้จะถึงวันหมดอายุ กังวล และไม่กล้ากินอาหารเหล่านั้นแม้จะยังไม่ถึงวันหมดอายุก็ตาม
ของเหลือ บางคนไม่กินอาหารที่เหลือ เพราะเชื่อว่าอาจทำให้ป่วยได้
อาหารที่ไม่ได้เตรียมเอง ถ้าไม่สามารถเตรียมอาหารด้วยตนเองได้ จะรู้สึกกังวล และกลัวอาหารที่เสิร์ฟมาให้ตามร้านอาหาร เพราะไม่เห็นว่าปรุงยังไง ตระเตรียมวัตถุดิบน่าเชื่อถือมั้ย จึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารนอกบ้าน
อาหารอื่นๆ เฉพาะเจาะจงแล้วแต่บุคคล

 

 

 

 

กลัวอาหารเป็นโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่สิ่งแปลก และสามารถรักษาได้ สาเหตุของโรคอาจมาจาก Experiential-specific cibophobia ความกลัวที่เกิดจากประสบการณ์เก่า เช่น อาหารเป็นพิษ เคยกินแล้วติดคอ ถูกบังคับให้กินสิ่งนั้นตอนเด็กๆ หรือ Nonexperiential-specific cibophobia ไม่เคยเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ฝังใจมาก่อน แต่เป็นผลมาจากสารเคมีในสมอง

ความน่าเห็นใจคือคนทั่วไปอาจยังไม่รับรู้ และความไม่รู้ ทำให้บ่อยครั้งผู้ป่วยโดนจับจ้องจากสายตาคนในสังคมด้วยความสงสัยว่า มันน่าเกลียดน่ากลัวขนาดนั้นเลยหรือเว่อร์ไปหรือเปล่าไม่กินก็แค่เขี่ยทิ้งสิทั้งๆ ที่ความจริงแล้วสำหรับคนกลัวอาหารแค่กล้วยธรรมดาๆ ก็สร้างความวิตกและหวาดกลัวได้ทันทีค่ะ

 

 

 

 

กรณีคนที่กลัวอาหารเครื่องดื่มมากชนิดจนต่อต้านที่จะกินอาหารเกือบทุกอย่าง ร่างกายอาจขาดสารอาหารนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ อีกทั้งความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต กระทบต่อการดำเนินชีวิตและการปฏิสัมพันธ์ในสังคมในระยะยาว

 

 

 

 

อาการที่สังเกตได้ว่าเข้าข่ายโรคกลัวอาหาร

 

 

 

 

โดยปกติคนทั่วไปถ้าไม่ชอบอาหารอะไรสักอย่างก็แค่หลีกเลี่ยง ไม่กิน หรือเขี่ยอาหารชนิดนั้นออกจากจานได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อจิตใจรวมถึงปฏิกิริยาทางกายภาพมากนัก แต่ถ้าได้ยินชื่ออาหาร เห็นอาหารหรือแค่นึกถึง แล้วมีอาการเครียด วิตกกังวล กลัวทุกครั้ง เป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป เหล่านี้อาจเข้าข่ายเป็น Cibophobia แนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดและรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ

 

 

 

 

Cibophobia,food phobia,โรคกลัวอาหาร

 

 

 

 

ส่วนอาการที่เราพอจะสังเกตตัวเองได้ คือ

 

 

 

 

– วิตกกังวล หายใจถี่
– ตัวสั่น ใจเต้นแรงหรือเร็ว
– ปากแห้ง ท้องเสีย
– พูดเร็วหรือพูดไม่ได้กะทันหัน
– เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะ
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ความดันโลหิตสูง

 

 

 

 

Cibophobia ก็เหมือนโรคหวาดกลัวอื่นๆ เช่นเดียวกับโรคหวาดกลัวทั่วไป สามารถรักษาได้ มีหลายวิธีทางการแพทย์ที่ช่วยให้คนกลัวอาหารรู้สึกดีกับอาหารขึ้นได้ สำคัญคือคนรอบข้างต้องทำความเข้าใจ และเป็นกำลังใจให้ค่ะ

 

 

 

 

อ้างอิงและภาพประกอบ

 

 

 

 

– https://www.choosingtherapy.com/cibophobia/

 

 

 

 

– Garcia, R. (2017). Neurobiology of fear and specific phobias. Learning & memory, 24(9), 462-471.

 

 

 

 

– American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). https://doi.org/10.1176/appi.books.9780890425596

 

 

 

 

– Papagianni, V., & Kotera, Y. (2022). The beneficial effects of a single hypnotherapy session using parts negotiation for specific phobias. International Journal of Spa and Wellness, 5(2), 167-184.

 

 

 

 

https://www.food24.com/7-food-phobias-that-we-thought-were-impossible/

 

 

 

 

– https://www.genesismedical.co.za/cibophobia-the-fear-of-food/

 

 

 

 

https://www.tfninternational.com/news/food-phobias-you-didnt-know-about/

 

 

 

 

– https://www.healthline.com/health/cibophobia#complications

 

 

 

 

– https://www.yahoo.com/lifestyle/7-strange-food-phobias-you-might-have-without-even-011958209.html

 

 

 

 

– https://www.klikdokter.com/psikologi/kesehatan-mental/mengenal-cibophobia-rasa-takut-berlebih-terhadap-makanan

Share this content

Contributor

Recommended Articles

Food Storyกินแจ่วฮ้อน กับ “PEAR is hungry” Food blogger ผู้เชื่อว่าสายกินและสายกรีนไปด้วยกันได้
กินแจ่วฮ้อน กับ “PEAR is hungry” Food blogger ผู้เชื่อว่าสายกินและสายกรีนไปด้วยกันได้

คุยกับ แพร – พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ นักกินที่ชวนทุกคนมาจัดการขยะอาหารด้วยการ #กินหมดจาน

 

Recommended Videos