เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่

 

recipe

ข้าวเหนียวมูนกลอย

Recipe by ณวรา เปลี่ยนบุญเลิศ

Serves

6 คน

Level

3

ข้าวเหนียวมูนกลอย รสนุ่มนวล หวานอ่อนๆจากตัวข้าวเหนียวมูนและความหนึบมันจากกลอย โรยด้วยน้ำตาลผสมงาคั่ว เลือกซื้อกลอยทั้งชนิดสดและชนิดแห้งที่ผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วเรียบร้อย เช่นในสูตรนี้ใช้กลอยแห้งนำมาแช่น้ำจนนุ่ม แล้วจึงนำไปนึ่งพร้อมกับข้าวเหนียวจนสุกแล้วเอามามูนพร้อมกับกะทิ

INGREDIENTS

กลอยแห้ง

120 กรัม

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู (เก่า) จากเชียงราย

400 กรัม

เกลือสมุทรสำหรับล้างกลอย

มะพร้าวทึนทึกขูดเส้นสำหรับโรย

อุปกรณ์ สารส้ม ผ้าขาวบาง ลังถึง

METHOD

1.ล้างกลอยให้สะอาดโดยนำกลอยแห้งใส่อ่าง เปิดนำ้ใส่จนท่วมกลอย รอสักครู่กลอยจะเริ่มซับน้ำและนิ่มลง ให้ใส่เกลือสมุทรลงไป 1 ช้อนโต๊ะ ซาวกลอยกับน้ำเกลือประมาณ 5 นาที เพื่อล้างเอายางและแป้งขาวๆออก ซาวล้างกลอยผ่านน้ำให้สะอาดประมาณ 3-4 รอบ จนน้ำใส (ถ้ากลอยที่ซื้อมาเป็นแตกหักเเผ่นเล็กๆมาก น้ำสุดท้ายอาจจะไม่ได้ใสมาก ไม่เป็นไร แค่เรามั่นใจว่าล้างสะอาดก็พอ) พอสะอาดแล้ว แช่กลอยทิ้งไว้ 3 ชั่วโมงจนนุ่ม

 

 

 

 

2. ใส่ข้าวเหนียวลงในอ่าง เปิดน้ำใส่ให้ท่วม ขัดด้วยสารส้มให้ทั่วประมาณ 3 นาที ขัดด้วยสารส้มจะช่วยให้เมล็ดข้าวเหนียวมูนออกมาใส ซาวน้ำทิ้งจนน้ำที่ล้างข้าวเหนียวใส  แช่ข้าวเหนียวทิ้งไว้ 3 ชั่วโมงเช่นเดียวกับกลอย 

 

 

 

 

3. ระหว่างนั้นทำกะทิสำหรับมูนข้าวเหนียวใส่หัวกะทิ เกลือ และน้ำตาลลงในหม้อ ตั้งบนไฟอ่อนพอเดือดและน้ำตาลละลาย ปิดไฟ พักไว้ (ถ้าใช้กะทิสดให้ตั้งไฟเล็กน้อยเพื่อไม่ให้กะทิบูดง่าย ถ้าใช้กะทิกล่องไม่จำเป็นต้องตั้งไฟ ให้คนให้น้ำตาลและเกลือละลายเป็นพอ)

 

 

 

 

4. เมื่อครบ 3 ชั่วโมง สะเด็ดน้ำข้าวเหนียวและกลอยเอาไว้ เตรียมนึ่งโดยใส่น้ำในหม้อลังถึงอย่างน้อย ½ ของหม้อ ปิดฝา ยกขึ้นตั้งบนไฟแรง ปูผ้าขาวบางในลังถึง ใส่ข้าวเหนียวและกลอยลงในลังถึง แบ่งคนละฝั่ง เกลี่ยให้เสมอกัน พอน้ำเดือดจัด วางชั้นลังถึงที่มีข้าวเหนียวและกลอยลงนึ่ง เมื่อครบ 30 นาทีให้เปิดหม้อลังถึง ยกชายผ้าขาวบางขึ้นลงไปมาเพื่อกลับด้านข้าวเหนียวแล้วนึ่งต่ออีก 15 นาทีเพื่อให้เม็ดข้าวเหนียวสุกทั่วกัน

 

 

 

 

5. เทข้าวเหนียวและกลอยที่สุกแล้วร้อนๆลงใส่อ่างผสม เทน้ำกะทิที่เตรียมไว้ราดให้ทั่ว ใช้ไม้พายคนผสมให้เข้ากัน ปิดฝาครอบ พักไว้นาน 30 นาทีแล้วจึงพลิกตะลบข้าวเหนียวจากล่างขึ้นข้างบนอีกที พักไว้อีก 30 นาที จนข้าวเหนียวดูดกะทิจนแห้ง

 

 

 

 

6. ทำน้ำตาลผสมงาโดยบุบงาขาวคั่วในครกเล็กน้อย พอให้มีกลิ่นหอม ใส่น้ำตาลและเกลือสมุทร คนให้เข้ากัน พักไว้

 

 

 

 

7. ตักข้าวเหนียวมูนกลอยใส่จาน โรยมะพร้าวขูดฝอยและน้ำตาลผสมงา เสิร์ฟ

 

 

 

 

หมายเหตุ

 

 

 

 

  • ซื้อมะพร้าวขูดขาว 1 กิโลกรัม คั้นแบบไม่ใส่น้ำจะได้หัวกะทิประมาณ​ 600 กรัม

 

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

https://krua.co/food_story/kaoneawmoonkloy/

 

Gallery

Share this content

Tags:

กลอย, ขนมไทย, ข้าวเหนียวมูน, ข้าวเหนียวเขี้ยวงู, อาหารไทย

Recommended Articles

Recipeผัดไทยคอหมูย่าง
ผัดไทยคอหมูย่าง

ผัดไทยเฉยๆ ก็ธรรมดาไปวันนี้มีคอมโบของอร่อย อย่างผัดไทย+คอหมูอย่าง เมนูเด็ดที่ต้องลอง! เส้นผัดไทยเหนียวนุ่ม รสชาติกลมกล่อม ผัดกับไข่ หอมกลิ่นกระทะ เสิร์ฟพร้อมคอหมูย่าง juicy

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recipeขนมปลากริมไข่เต่า
ขนมปลากริมไข่เต่า

ขนมปลากริมไข่เต่าเดิมเรียกว่า ขนมแชงมา หรือ แฉ่งม้า หรือคำที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า ขนมสองหม้อ จากลักษณะตัวขนมที่แยกออกเป็น 2 หม้อ 2 สี ปลากริมหม้อหวาน ไข่เต่าหม้อเค็ม ตัวปลากริมหรือ ‘ตัวหวาน’ ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ตรงกลางอ้วน หัวท้ายเรียวคล้ายเส้นลอดช่อง ตัวสีน้ำตาลรสหอมหวานจากน้ำตาลมะพร้าว ส่วนไข่เต่าหรือ ‘ตัวเค็ม’ ลักษณะกลมรี คล้ายไข่เต่า สีขาว รสชาติเค็มๆ มันๆ จากหัวกะทิ ส่วนเวลากินก็อยู่ที่ว่าใครชอบกินฝั่งไหนมากกว่า แต่แนะนำให้กินพร้อมกันจะอร่อยที่สุด ตักใส่ถ้วยอย่างละครึ่ง คนให้เข้ากัน หนึ่งคำได้ครบทุกรสทั้งหอม หวาน มัน เค็มกลมกล่อมลงตัวพอดี

 

Recommended Videos