เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
2 คน
Level
3
ผักขะแยง หรือทางอีสานเรียกว่า ผักกะแยง ภาคเหนือเรียก พักพา เป็นผักที่ขึ้นเองตามเถียงนา ลำต้นกลวง อวบและอ่อน ใบออกตามลำต้น กินได่ตลอดทั้งต้น ความเด่นของผักคือ มีกลิ่นที่ฉุนหอมมาก จึงเป็นผักเสริมกลิ่น รสอาหารได้อย่างดี ชาวอีสานตอนบนจึงใช้จิ้มกับแจ่ว หรือก้อยกับปลา ดับกลิ่นคาวของปลาและกลิ่นปลาร้าจากแจ่วให้หอมมากยิ่งขึ้น อาหารที่นิยมแกงไก่ใส่หน่อไม้ดองผักขะแยง แกงผักขะแยงใส่ไก่หรือกบ แกงหอยขม แกงปลาต้มเผือกและอ่อมต่างๆ มีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาวและเป็นพืชสมุนไพร ผักขะแยงมีประโยร์ชทั้งต้น เป็นยาขับน้ำนม ขับลม และเป็นยาระบายท้อง น้ำคั้นจากต้นใช้แก้ไข้ แก้คัน ฝี และกลาก แก้อาการบวมแถมเป็นยาระบายอ่อนๆอีกด้วย
INGREDIENTS
น้ำสต็อกไก่
2 1/2 ถ้วย
สะโพกไก่ลอกหนังหั่นชิ้นพอคำ
200 กรัม
ข้าวเหนียวนึ่งปิ้งจนกรอบโขลก
2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา
1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาร้า
1 1/2 ช้อนโต๊ะ
ยอดฟักแม้ว
1/2 ถ้วย
ดอกแคเด็ดขั้วเกสรออก
1/2 ถ้วย
ตำลึงเด็ดยอดและใบ
1 ถ้วย
ผักขะแยงหั่นท่อน 1 นิ้ว
1 ถ้วย
พริกขี้หนูอีสานบุบ
6 เม็ด
พริกขี้หนูสวน
11 เม็ด
ข่าหั่นละเอียด
1 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้ซอย
2 ต้น
METHOD
1. โขลกพริกขี้หนูสวน ข่า และตะไคร้เข้าด้วยกันพอแหลก ตักใส่ถ้วยพักไว้
2. ต้มน้ำสต๊อกไก่ในหม้อด้วยไฟกลางจนเดือด ใส่เครื่องที่โขลก คนให้เข้ากันทั่ว พอน้ำแกงเดือดอีกครั้ง ใส่สะโพกไก่ลงต้มให้พอสุก ใส่ข้าวเหนียวที่โขลกลงไป ต้มซักครู่ให้มีกลิ่นหอม ปรุงรสด้วย น้ำปลาและน้ำปลาร้า รอให้เดือดอีกครั้ง ใส่ยอดฟักแม้ว ดอกแค ตำลึง และผักขะแยง ต้มจนสุก ใส่พริกขี้หนูอีสาน ปิดไฟ ตักใส่ชาม เสิร์ฟ
Recommended Articles
ไส้อั่ว นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษชาวล้านนาอย่างหนึ่งในการใช้สอยทุกส่วนของหมูได้อย่างคุ้มค่า คำว่า “อั่ว” เป็นคำเมือง แปลว่า การแทรกหรือยัดไว้ตรงกลาง เมื่อนำเครื่องต่างๆยัดเข้าไปในไส้หมู จึงเรียกว่า ไส้อั่ว สูตรนี้เป็นสูตรไส้อั่วตับที่ใส่ตับเข้าไปเพิ่มความมันเเละนัว หอมกลิ่นพริกแกงเเละเครื่องสมุนไพรไทย ย่างจนสุกเกรียมหอม จนได้ออกมาเป็นไส้อั่วตับอร่อยๆ จะทำขาย ทำเเจกหรือทำไปฝากเพื่อนก็ได้
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงหน่อไม้ฉบับลูกอีสาน นำหน่อไม้หวานเเละเห็ดขม เห็ดพื้นถิ่นที่ขึ้นตามสวนยูคาลิปตัส มีรสขม ต้องมาต้มล้างความขมออกก่อนประมาณ 2-3 รอบ ก่อนนำไปต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างมะเขือพวงเเละกระชาย เพิ่มความนัวด้วยข้าวเบือเเละน้ำปลาร้า ต้มจนน้ำแกงเข้าเนื้อ รสเข้มข้น เติมพริกอีสานลูกโดดลงไปเเพิ่มความจัดจ้าน กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแหละ
ไส้อั่ว นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษชาวล้านนาอย่างหนึ่งในการใช้สอยทุกส่วนของหมูได้อย่างคุ้มค่า คำว่า “อั่ว” เป็นคำเมือง แปลว่า การแทรกหรือยัดไว้ตรงกลาง เมื่อนำเครื่องต่างๆยัดเข้าไปในไส้หมู จึงเรียกว่า ไส้อั่ว สูตรนี้เป็นสูตรไส้อั่วตับที่ใส่ตับเข้าไปเพิ่มความมันเเละนัว หอมกลิ่นพริกแกงเเละเครื่องสมุนไพรไทย ย่างจนสุกเกรียมหอม จนได้ออกมาเป็นไส้อั่วตับอร่อยๆ จะทำขาย ทำเเจกหรือทำไปฝากเพื่อนก็ได้
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงหน่อไม้ฉบับลูกอีสาน นำหน่อไม้หวานเเละเห็ดขม เห็ดพื้นถิ่นที่ขึ้นตามสวนยูคาลิปตัส มีรสขม ต้องมาต้มล้างความขมออกก่อนประมาณ 2-3 รอบ ก่อนนำไปต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างมะเขือพวงเเละกระชาย เพิ่มความนัวด้วยข้าวเบือเเละน้ำปลาร้า ต้มจนน้ำแกงเข้าเนื้อ รสเข้มข้น เติมพริกอีสานลูกโดดลงไปเเพิ่มความจัดจ้าน กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแหละ
ไส้อั่ว นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษชาวล้านนาอย่างหนึ่งในการใช้สอยทุกส่วนของหมูได้อย่างคุ้มค่า คำว่า “อั่ว” เป็นคำเมือง แปลว่า การแทรกหรือยัดไว้ตรงกลาง เมื่อนำเครื่องต่างๆยัดเข้าไปในไส้หมู จึงเรียกว่า ไส้อั่ว สูตรนี้เป็นสูตรไส้อั่วตับที่ใส่ตับเข้าไปเพิ่มความมันเเละนัว หอมกลิ่นพริกแกงเเละเครื่องสมุนไพรไทย ย่างจนสุกเกรียมหอม จนได้ออกมาเป็นไส้อั่วตับอร่อยๆ จะทำขาย ทำเเจกหรือทำไปฝากเพื่อนก็ได้
แกงตูมิหรือแกงตูมี้ แล้วแต่พื้นถิ่นจะเรียกกัน เป็นอาหารลูกผสมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมาลายู บางก็เรียกว่าอาหารของชาวเพอรานากัน และยังเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวภูเก็ตอีกด้วย ด้วยความเป็นอาหารลูกผสมทั้งเชื้อชาติแล้วนั้นก็ยังมีความลูกผสมของรสชาติเช่นกัน แกงตูมี้ที่ฉันคุ้นเคยจะมีความคล้ายแกงแดงผสมแกงส้ม รสชาติจะออกเปรี้ยวหวานเค็ม ตามลำดับ น้ำแกงจะไม่เยอะและไม่น้อยกำลังพอดี ส่วนมากแล้วนั้นจะนิยมแกงกับปลาท้องถิ่นหรือปลาตามฤดูกาล
แกงหน่อไม้ฉบับลูกอีสาน นำหน่อไม้หวานเเละเห็ดขม เห็ดพื้นถิ่นที่ขึ้นตามสวนยูคาลิปตัส มีรสขม ต้องมาต้มล้างความขมออกก่อนประมาณ 2-3 รอบ ก่อนนำไปต้มกับน้ำคั้นใบย่านาง ใส่เครื่องสมุนไพรอย่างมะเขือพวงเเละกระชาย เพิ่มความนัวด้วยข้าวเบือเเละน้ำปลาร้า ต้มจนน้ำแกงเข้าเนื้อ รสเข้มข้น เติมพริกอีสานลูกโดดลงไปเเพิ่มความจัดจ้าน กินกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแหละ
Recommended Videos