เปิด "ตำราอาหาร" ได้ที่นี่
Serves
4 คน
Level
2
คำว่า ‘อั่ว’ หลายคนคงคุ้นเคยมากกว่าเมื่อมันห้อยท้ายมากับคำว่า ‘ไส้’ เพราะไส้อั่วเป็นอาหารเชิดหน้าชูตาของสำรับล้านนามานานนม ด้วยการปรุงกลิ่นรสให้หอมและเผ็ดร้อนจากสมุนไพรนานาชนิด การ ‘อั่ว’ หรือการยัดไส้อาหารนั้นแสดงให้เห็นความรุ่มรวย พิถีพิถันและประดิษฐ์ประดอยในครัวของทุกที่ ด้วยว่าอาหารยัดไส้นั้นใช้เวลาทำนานกว่า ไหนจะปรุงรสเนื้อสัตว์ ไหนจะเตรียมผัก ไส้สัตว์ หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่จะนำมายัด ทั้งกระบวนการทำก็ใช้เวลาและใช้แรงมากกว่าการนำมาแกง ผัด หรือลวกไวๆ นอกจากการแสดงถึงความรุ่มรวยแล้ว อาหารยัดไส้ยังเป็นความชาญฉลาดอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อนำเนื้อสัตว์มาทำเป็นไส้แล้ว ไม่ว่าจะนำไปย่าง ไปทอด หรือไปต้ม ความหวานตามธรรมชาติจากน้ำของเนื้อสัตว์ก็จะถูกรักษาไว้ให้อยู่ภายใน ทำให้เนื้อสัตว์ที่ปรุงเป็นไส้ยังคงความฉ่ำไว้ ไม่แห้งกระด้างนั่นเอง
INGREDIENTS
พริกหยวก
4 เม็ด
ดอกแคนา
4 ดอก
หน่อไม้รวก
3 ชิ้น
ผักสด โหระพา แตงกวาและกะหล่ำปลี
น้ำมันพืชสำหรับทอด
อุปกรณ์ ไม้ปลายแหลม
กระเทียมไทยแกะเปลือก
1 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูแห้งแช่น้ำจนนุ่ม
6 เม็ด
หอมแดงซอย
3 หัว
หมูสับติดมัน
300 กรัม
ใบมะกรูดซอย
4 ใบ
น้ำปลา
2 ช้อนชา
น้ำตาลทราย
1 ช้อนชา
เกลือสมุทร
1/4 ช้อนชา
แป้งทอดกรอบ
1/2 ถ้วย
น้ำเย็นจัด
1/4 ถ้วย
METHOD
- ทำไส้โดยโขลกกระเทียม พริกขี้หนูแห้ง และหอมแดงเข้าด้วยกันจนละเอียด ตักใส่อ่างผสม ใส่หมูสับ ใบมะกรูดซอย ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทรายและเกลือสมุทร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ทำพริกหยวกสอดไส้โดยใช้มีดกรีดพริกหยวกตามแนวยาว เอาไส้พริกหยวกออก ทำจนหมด ใส่ไส้หมูที่ผสมไว้จนเต็มเม็ดพริก
- ทำดอกแคนาสอดไส้โดยดึงเกสรดอกแคนาออก ใส่ไส้หมูจนเต็ม
- ตั้งหม้อน้ำบนไฟกลาง พอเดือด ใส่หน่อไม้รวกลงต้มซักครู่ ตักขึ้นแช่น้ำเย็น พักให้สะเด็ดน้ำ ใช้ไม้ปลายแหลมขูดหน่อไม้เฉพาะส่วนตรงกลางเป็นเส้นๆ แต่ไม่ขาดออกจากกัน ใส่ไส้หมูเข้าไปจนเต็ม
- ผสมแป้งทอดกรอบโดยใส่แป้งทอดกรอบและน้ำเย็นจัดในอ่างผสม คนจนแป้งเนียน
- ตั้งกระทะน้ำมันบนไฟกลาง พอร้อน นำผักที่สอดไส้ชุบแป้งที่ผสมไว้ นำลงทอดจนสุก เหลืองกรอบ ตักขึ้นพักไว้บนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน จัดใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผักสด
บทความเพิ่มเติม
อั่ว ศิลปะอาหารยัดไส้ของครัวล้านนา
Gallery
Recommended Articles
ไส้อั่ว นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษชาวล้านนาอย่างหนึ่งในการใช้สอยทุกส่วนของหมูได้อย่างคุ้มค่า คำว่า “อั่ว” เป็นคำเมือง แปลว่า การแทรกหรือยัดไว้ตรงกลาง เมื่อนำเครื่องต่างๆยัดเข้าไปในไส้หมู จึงเรียกว่า ไส้อั่ว สูตรนี้เป็นสูตรไส้อั่วตับที่ใส่ตับเข้าไปเพิ่มความมันเเละนัว หอมกลิ่นพริกแกงเเละเครื่องสมุนไพรไทย ย่างจนสุกเกรียมหอม จนได้ออกมาเป็นไส้อั่วตับอร่อยๆ จะทำขาย ทำเเจกหรือทำไปฝากเพื่อนก็ได้
จิ้นแดง จิ้นเเห้งหรือจิ้นเกลือ คือ วิธีการถนอมอาหารของคนภาคเหนือ เเต่เดิมใช้เนื้อวัวทำให้ได้เนื้อที่มีสีเเดงเเต่ในปัจจุบันหันมาใช้เนื้อหมูมากขึ้น วิธีการทำคือสไลด์เนื้อสัตว์เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆ ใส่สีผสมอาหารเพื่อทำให้เนื้อมีสีเเดง จากนั้นนำไปตากแดดให้ได้ที่แล้วนำย่างบนเตาถ่านให้พอสุกเเละเเห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน
อาหารเหนือที่หลายคนคุ้นเคยกับเมนู จอผักกาด แกงผักกาดชนิดหนึ่งของชาวเหนือ บ้างก็เรียกเมนูนี้ว่า ผักกาดจอ หรือจอผักกาดเหนือ ซึ่งคำว่า "จอ" ในภาษาเหนือ หมายถึง ต้มผัก ส่วน "ผักกาด" มาจากคำว่า ผักกาดจ้อน หมายถึง ผักกวางตุ้งที่กำลังออกดอก สูตรนี้นำผักกาดจอมาต้มกับกระดูกหมูจนเข้าเนื้อเเละน้ำซุปกลมกล่อม เติมรสนัวจากถั่วเน่าเเผ่น จ่าวน้ำมันกระเทียมเจียวตอนสุดท้ายเพิ่มความหอมนัวให้มากยิ่งขึ้น เป็นเมนูต้องรับต้นปีใหม่ได้ดีทีเดียว
คนเมืองส่วนใหญ่เรียกกันสั้นๆว่า "เข้าต้ม" ถ้าใส่กล้วยน้ำว่าสุก "เข้าต้มกล้วย ถ้าใส่ถั่วลิส่งเรียก "เข้าต้มถั่วดิน"และถ้าโรยมะพร้าวขูดจะเรียก "เข้าต้มหัวหงอก" หรือที่รู้จักกันทั่วๆไปว่า ข้าวต้มหัวหงอก นั่นเอง นิยมทำทีละเยอะๆ หลายๆอันแล้วต้มพร้อมกันทีเดียวเพราะว่าใช้เวลาในการต้มนาน
น้ำเหมี้ยง เป็นอาหารตำรับล้านนาใช้หัวน้ำเหมี้ยง ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากตอนนึ่งเหมี้ยง (ใบชา) แล้วนำไปเคี่ยวจนข้นงวด คนเหนือใช้หัวน้ำเหมี้ยงในการปรุงอาหาร มีรสอูมามิและความฝาดนิดๆ จึงใช้ปรุงแต่น้อย เมนูน้ำเหมี้ยงนี้เป็นเครื่องจิ้มของคนเหนือ ใส่เนื้อหมูผัดกับเครื่องโขลก ได้แก่กระเทียม หอมแดง และกะปิ ผัดให้หอมแล้วจึงเติมน้ำต้มสุก ใส่หัวน้ำเหมี้ยง และใส่ข้าวคั่วเพื่อให้ความหอมและทำให้เครื่องจิ้มข้น หอมอร่อย กินจิ้มกับข้าวเหนียวนึ่ง แคบหมูและพริกแห้งทอด ลำแต้ๆเจ้า
ไส้อั่ว นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษชาวล้านนาอย่างหนึ่งในการใช้สอยทุกส่วนของหมูได้อย่างคุ้มค่า คำว่า “อั่ว” เป็นคำเมือง แปลว่า การแทรกหรือยัดไว้ตรงกลาง เมื่อนำเครื่องต่างๆยัดเข้าไปในไส้หมู จึงเรียกว่า ไส้อั่ว สูตรนี้เป็นสูตรไส้อั่วตับที่ใส่ตับเข้าไปเพิ่มความมันเเละนัว หอมกลิ่นพริกแกงเเละเครื่องสมุนไพรไทย ย่างจนสุกเกรียมหอม จนได้ออกมาเป็นไส้อั่วตับอร่อยๆ จะทำขาย ทำเเจกหรือทำไปฝากเพื่อนก็ได้
จิ้นแดง จิ้นเเห้งหรือจิ้นเกลือ คือ วิธีการถนอมอาหารของคนภาคเหนือ เเต่เดิมใช้เนื้อวัวทำให้ได้เนื้อที่มีสีเเดงเเต่ในปัจจุบันหันมาใช้เนื้อหมูมากขึ้น วิธีการทำคือสไลด์เนื้อสัตว์เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆ ใส่สีผสมอาหารเพื่อทำให้เนื้อมีสีเเดง จากนั้นนำไปตากแดดให้ได้ที่แล้วนำย่างบนเตาถ่านให้พอสุกเเละเเห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน
อาหารเหนือที่หลายคนคุ้นเคยกับเมนู จอผักกาด แกงผักกาดชนิดหนึ่งของชาวเหนือ บ้างก็เรียกเมนูนี้ว่า ผักกาดจอ หรือจอผักกาดเหนือ ซึ่งคำว่า "จอ" ในภาษาเหนือ หมายถึง ต้มผัก ส่วน "ผักกาด" มาจากคำว่า ผักกาดจ้อน หมายถึง ผักกวางตุ้งที่กำลังออกดอก สูตรนี้นำผักกาดจอมาต้มกับกระดูกหมูจนเข้าเนื้อเเละน้ำซุปกลมกล่อม เติมรสนัวจากถั่วเน่าเเผ่น จ่าวน้ำมันกระเทียมเจียวตอนสุดท้ายเพิ่มความหอมนัวให้มากยิ่งขึ้น เป็นเมนูต้องรับต้นปีใหม่ได้ดีทีเดียว
คนเมืองส่วนใหญ่เรียกกันสั้นๆว่า "เข้าต้ม" ถ้าใส่กล้วยน้ำว่าสุก "เข้าต้มกล้วย ถ้าใส่ถั่วลิส่งเรียก "เข้าต้มถั่วดิน"และถ้าโรยมะพร้าวขูดจะเรียก "เข้าต้มหัวหงอก" หรือที่รู้จักกันทั่วๆไปว่า ข้าวต้มหัวหงอก นั่นเอง นิยมทำทีละเยอะๆ หลายๆอันแล้วต้มพร้อมกันทีเดียวเพราะว่าใช้เวลาในการต้มนาน
น้ำเหมี้ยง เป็นอาหารตำรับล้านนาใช้หัวน้ำเหมี้ยง ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากตอนนึ่งเหมี้ยง (ใบชา) แล้วนำไปเคี่ยวจนข้นงวด คนเหนือใช้หัวน้ำเหมี้ยงในการปรุงอาหาร มีรสอูมามิและความฝาดนิดๆ จึงใช้ปรุงแต่น้อย เมนูน้ำเหมี้ยงนี้เป็นเครื่องจิ้มของคนเหนือ ใส่เนื้อหมูผัดกับเครื่องโขลก ได้แก่กระเทียม หอมแดง และกะปิ ผัดให้หอมแล้วจึงเติมน้ำต้มสุก ใส่หัวน้ำเหมี้ยง และใส่ข้าวคั่วเพื่อให้ความหอมและทำให้เครื่องจิ้มข้น หอมอร่อย กินจิ้มกับข้าวเหนียวนึ่ง แคบหมูและพริกแห้งทอด ลำแต้ๆเจ้า
ไส้อั่ว นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษชาวล้านนาอย่างหนึ่งในการใช้สอยทุกส่วนของหมูได้อย่างคุ้มค่า คำว่า “อั่ว” เป็นคำเมือง แปลว่า การแทรกหรือยัดไว้ตรงกลาง เมื่อนำเครื่องต่างๆยัดเข้าไปในไส้หมู จึงเรียกว่า ไส้อั่ว สูตรนี้เป็นสูตรไส้อั่วตับที่ใส่ตับเข้าไปเพิ่มความมันเเละนัว หอมกลิ่นพริกแกงเเละเครื่องสมุนไพรไทย ย่างจนสุกเกรียมหอม จนได้ออกมาเป็นไส้อั่วตับอร่อยๆ จะทำขาย ทำเเจกหรือทำไปฝากเพื่อนก็ได้
จิ้นแดง จิ้นเเห้งหรือจิ้นเกลือ คือ วิธีการถนอมอาหารของคนภาคเหนือ เเต่เดิมใช้เนื้อวัวทำให้ได้เนื้อที่มีสีเเดงเเต่ในปัจจุบันหันมาใช้เนื้อหมูมากขึ้น วิธีการทำคือสไลด์เนื้อสัตว์เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงต่างๆ ใส่สีผสมอาหารเพื่อทำให้เนื้อมีสีเเดง จากนั้นนำไปตากแดดให้ได้ที่แล้วนำย่างบนเตาถ่านให้พอสุกเเละเเห้ง สามารถเก็บไว้ได้นาน
อาหารเหนือที่หลายคนคุ้นเคยกับเมนู จอผักกาด แกงผักกาดชนิดหนึ่งของชาวเหนือ บ้างก็เรียกเมนูนี้ว่า ผักกาดจอ หรือจอผักกาดเหนือ ซึ่งคำว่า "จอ" ในภาษาเหนือ หมายถึง ต้มผัก ส่วน "ผักกาด" มาจากคำว่า ผักกาดจ้อน หมายถึง ผักกวางตุ้งที่กำลังออกดอก สูตรนี้นำผักกาดจอมาต้มกับกระดูกหมูจนเข้าเนื้อเเละน้ำซุปกลมกล่อม เติมรสนัวจากถั่วเน่าเเผ่น จ่าวน้ำมันกระเทียมเจียวตอนสุดท้ายเพิ่มความหอมนัวให้มากยิ่งขึ้น เป็นเมนูต้องรับต้นปีใหม่ได้ดีทีเดียว
คนเมืองส่วนใหญ่เรียกกันสั้นๆว่า "เข้าต้ม" ถ้าใส่กล้วยน้ำว่าสุก "เข้าต้มกล้วย ถ้าใส่ถั่วลิส่งเรียก "เข้าต้มถั่วดิน"และถ้าโรยมะพร้าวขูดจะเรียก "เข้าต้มหัวหงอก" หรือที่รู้จักกันทั่วๆไปว่า ข้าวต้มหัวหงอก นั่นเอง นิยมทำทีละเยอะๆ หลายๆอันแล้วต้มพร้อมกันทีเดียวเพราะว่าใช้เวลาในการต้มนาน
น้ำเหมี้ยง เป็นอาหารตำรับล้านนาใช้หัวน้ำเหมี้ยง ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากตอนนึ่งเหมี้ยง (ใบชา) แล้วนำไปเคี่ยวจนข้นงวด คนเหนือใช้หัวน้ำเหมี้ยงในการปรุงอาหาร มีรสอูมามิและความฝาดนิดๆ จึงใช้ปรุงแต่น้อย เมนูน้ำเหมี้ยงนี้เป็นเครื่องจิ้มของคนเหนือ ใส่เนื้อหมูผัดกับเครื่องโขลก ได้แก่กระเทียม หอมแดง และกะปิ ผัดให้หอมแล้วจึงเติมน้ำต้มสุก ใส่หัวน้ำเหมี้ยง และใส่ข้าวคั่วเพื่อให้ความหอมและทำให้เครื่องจิ้มข้น หอมอร่อย กินจิ้มกับข้าวเหนียวนึ่ง แคบหมูและพริกแห้งทอด ลำแต้ๆเจ้า
Recommended Videos